ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3099.ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมาร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาฎีกาที่ 2241/2566 (หน้า 1287 เล่ม 5) ผู้ตายที่ 1 กับผู้ตายที่ 2 ทำประโยชน์และมีชื่อเป็นผู้ครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ปี 2516 โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ตายที่ 1 เป็นผู้ทำกินโดยปลูกข้าวและนำผลผลิตมาอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายที่ 2 หากผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายก็ให้ที่ดินทั้งหมดตกเป็นสิทธิของผู้ตายที่ 1 เพียงผู้เดียว ต่อมาผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมและมิได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ตายที่ 1 ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงมาโดยตลอดจนกระทั่งแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายที่ 1 ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้มีส่วนเสียในทรัพย์มรดกในที่ดินทั้งสองแปลงของผู้ตายที่ 2 เมื่อการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องและผู้ร้องไม่ได้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ศาลฎีกาเห็นสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่ 2 ด้วย

(หมายเหตุ 1 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคหนึ่งหาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทของผู้ตายทุกกรณีไม่

2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่ 1 ยกคำร้องของผู้ร้องในส่วนของผู้ตายที่ 2

3 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน

4 ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งสอง

(นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849)

 

ร่วมงานแข่งขันฟุตบอลมินิ ลอว์เยอร์คัพ ซึ่งเป็นประเพณีของทนายความในภาค 3

ดร.วิเชียรและคณะร่วมงานแข่งขันฟุตบอลมินิ
ลอว์เยอร์คัพ ซึ่งเป็นประเพณีของทนายความในภาค 3

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2566 เวลา 15.00 น. ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายไพบูลย์ แย้มเอม อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ได้เดินทางไปร่วมงานแข่งขันฟุตบอลมินิ ลอว์เยอร์คัพ ซึ่งเป็นประเพณีของทนายความในภาค 3 ที่มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา และได้รับเกียรติจากประธานสภาทนายความในภาค 3 เข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกัน ซึ่งในการแข่งขันฟุตบอลในครั้งนี้จัดโดยสภาทนายความภาค 3 นายวีระศักดิ์ บุญเพลิง กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 3 และสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา


หลังจากจบการแข่งขันได้ร่วมงานเลี้ยง โดยมีนายพรเทพ เจริญพงศ์อนันต์ ประธานสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา ให้การกล่าวต้อนรับทนายความที่เดินทางไปร่วมงานในครั้งนี้

ฎีกาเด่นรายวัน

ฎีกาเด่นรายวัน โดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3089.กำหนดเวลาไถ่ถอนการขายฝาก

คำพิพากษาฎีกาที่ 1302/2566 (หน้า 1136 เล่ม 5) แม้สัญญาขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำขึ้นก่อน พ.ร.บ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ แต่การกำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยมีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ 17 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ เช่นนี้กรณีต้องด้วยบทเฉพาะกาล มาตรา 20 ที่ว่า “สัญญาขายฝากซึ่งทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยที่ได้ทำไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ครบกำหนดเวลาไถ่ให้มีผลผูกพันคู่สัญญาต่อไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันทำสัญญาขายฝาก เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้…..(3) ให้นำความในมาตรา 17 มาใช้บังคับแก่สัญญาขายฝากที่มีผลบังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และในกรณีที่กำหนดเวลาไถ่ในสัญญาขายฝากมีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ขยายกำหนดเวลาการไถ่ถอนไปเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ…..” กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยต้องขยายระยะเวลาออกไปตามบทกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่ผู้ขายฝากโดยครบกำหนดไถ่วันที่ 17 ตุลาคม 2562

ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ที่ขยายออกไปโดยผลของกฎหมายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 มาตรา 20(3) ในวันที่ 17 ตุลาคม 2562 จำเลยผู้ซื้อฝากมิได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ผู้ขายฝากทราบถึงกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือนตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต้องขยายไปอีกหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ตามมาตรา 17 วรรคสอง จนถึงวันที่ 17 เมษายน 2563 การที่โจทก์ขอไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต่อจำเลยวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จึงยังคงอยู่ภายในกำหนดไถ่ จำเลยต้องไถ่ถอนการขายฝากแก่โจทก์ตามฟ้อง

ความเสียหายที่โจทก์อ้างว่าไม่สามารถนำทรัพย์สินที่ขายฝากออกจำหน่ายให้แก่บุคคลภายนอก เป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าในอันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 วรรคสอง โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้

(หมายเหตุ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายืน

2 ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้น โดยพิพากษากลับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ขายฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยให้โจทก์ชำระสินไถ่เป็นเงิน 1,872,000 บาท แก่จำเลยภายใน 30 วันนับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ
3097.คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีผลให้การกระทำของจำเลย ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ 2558
คำพิพากษาฎีกาที่ 1397/2566 (หน้า 1161 เล่ม 5) (ประชุมใหญ่)  แม้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 33/2560 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2560  เรื่อง  มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ 1 ข้อ 2 ไม่ได้กล่าวถึง พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง(เดิม)   ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษของความผิดตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ก็มีผลเป็นการเลื่อนการบังคับใช้มาตรา 124 วรรคหนึ่ง(เดิม) ออกไปด้วย โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561   เช่นเดียวกับบทบัญญัติที่ระบุไว้ในข้อ 1 ของคำสั่งดังกล่าวที่ให้มาตรา 101 มาตรา 102 มาตรา 119 และมาตรา 122   แห่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 มีผลให้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561
เมื่อ พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง(เดิม)  ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษของมาตรา 11 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ก็ต้องถือว่ากฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดให้การกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง   จำเลยทั้งสามซึ่งกระทำความผิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2560 จึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่), 124 วรรคหนึ่ง ( เดิม)
(นายผดุงศักดิ์  จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ  และกรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสึมา  และกรรมการสภาทนายความภาค 3  ปีบริหาร 2565-2568  โทร.081-9663849)

เปิดรับสมัครการอบรมหลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รุ่นที่10

สำนักงานระงับข้อพิพาททางเลือก สภาทนายความ 📢
⚖️ เปิดรับสมัครการอบรม ⚖️

🔻 เรื่อง ” หลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รุ่นที่ 10 ” เป็นการบรรยายทางวิชาการ
👉 หัวข้อ ธรรมชาติของความขัดแย้งและการวิเคราะห์ความขัดแย้ง แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในบริบทสากล การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน การไกล่เกลี่ยทางแพ่งและทางอาญา ฯลฯ

—- เชิญพบกับ—-

🔶 ดร.วิเชียร ชุบไธสง
นายกสภาทนายความ

🔶 นายสุชาติ ชมกุล
อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ สภาทนายความ

🔶 ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร
อุปนายกฝ่ายวิชาการ สภาทนายความ

🔶 วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

📆 วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2566 วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2566
วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2566 วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566
และวันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2566
⏱ เวลา 08.30 – 16.30 น.
📍 ณ ห้องประชุมชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

🌟 ค่าธรรมเนียมการสมัคร 🌟
ท่านละ 6,000 บาท โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัส หลักสี่
ชื่อบัญชี สภาทนายความ เลขที่ 676-1-10142-5

🌟 รับจำนวน 50 คน เท่านั้น

✅ คุณสมบัติผู้สมัคร
1. ต้องเป็นทนายความ
2. อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์

🌎 Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/Lxdw2QfHjZ74nmV56

ติดต่อสอบถามสำนักงานระงับข้อพิพาททางเลือก
☎ 086-327-8803 หรือ 02-522-7124-27 ต่อ 122 และ 125

นายกสภาทนายความชมการฝึกซ้อมทีมLawyer All Stars

ดร.วิเชียรดูการฝึกซ้อมของทีมฟุตบอล Lawyee All Stars

 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 20.00 น. ที่สนามฟุตบอลวิชุปา รามอินทรา กรุงเทพมหานคร : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้เดินทางไปชมการฝึกซ้อมของทีมฟุตบอล Lawyer All Stars  ทีมสภาทนายความ และทีมทนายความคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

 

 

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง …

  1. ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ
    3096.สัญญาฝากเงินตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์ระหว่างผู้ตายกับธนาคารมีผลใช้บังคับ  แม้ธนาคารยังไม่ได้ออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้
    <span;> คำพิพากษาฎีกาที่ 1879/2566 (หน้า 1246 เล่ม 5) (ประชุมใหญ่)  สัญญาฝากเงินตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์ ระหว่างผู้ตายกับจำเลยเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาฝากทรัพย์โดยมีความคุ้มครองประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายด้วยอยู่ในตัว   เมื่อผู้ตายมีคุณสมบัติเฉพาะตัวตามหลักเกณฑ์แห่งคำโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ของจำเลยและนำเงินไปฝากตามจำนวน ที่จำเลยกำหนด   โดยธนาคารจำเลยยอมรับใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์พร้อมเงินฝากของผู้ตายไว้เช่นนี้   สัญญาฝากทรัพย์โดยมีความคุ้มครองประกันชีวิตย่อมเกิดขึ้นตามเจตนาของคู่สัญญาแล้ว   จำเลยต้องผูกพันให้ความคุ้มครองแก่ผู้ตายตามกรมธรรม์ที่ตนโฆษณาไว้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11   ทั้งการตีความยึดถือความเข้าใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นวิญญูชนและมิได้เป็นผู้โฆษณาข้อความเช่นนั้นเป็นสำคัญยิ่งกว่าการตีความตามความมุ่งหมายของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผู้เขียนคำโฆษณา    ประกอบกับอาจมีกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงย่อมต้องตีความไปในทางให้สัญญามีผลบังคับซึ่งเป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียในมูลหนี้นั้น   เพราะหากมีความจนสัญญาไม่มีผล ผู้บริโภคจะเป็นฝ่ายเสียไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างที่ควรจะเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 11   ผู้ตายถึงแก่ความตายภายหลังจากสัญญาฝากทรัพย์ที่มีความคุ้มครองประกันชีวิตเกิดขึ้นและมีผลบังคับ   เช่นนี้  จำเลยไม่อาจปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ตายตามผลประโยชน์ที่ควรได้รับในกรมธรรม์อันเป็นส่วนหนึ่งในการโฆษณาของจำเลยได้   ทั้งจำเลยไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะปฏิเสธความคุ้มครองให้แก่ผู้ตายตามกรมธรรม์   จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์ไม่อาจอ้างว่าสำนักงานสาขาจำเลยที่รับใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์ซึ่งเป็นคำเสนอไม่มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ   แต่เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักฝากเงินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตหาได้ไม่
    <span;> (หมายเหตุ 1 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 บิดาโจทก์ยื่นใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์และชำระเงินฝากสงเคราะห์ สำหรับคุ้มครองการเสียชีวิต   และเพิ่มเติมคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
    <span;> 2 วันที่ 15 มีนาคม 2562 เสียชีวิต
    <span;> 3 วันที่ 21 มีนาคม 2562 และวันที่ 11 เมษายน 2562 จำเลยมีหนังสือปฏิเสธการรับฝากเงินสงเคราะห์และโอนเงินคืนให้แก่ผู้ตาย   เนื่องจากผู้ตายเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุมัติให้รับฝากเงินสงเคราะห์ได้
    <span;> 4 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
    <span;> 5 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษากลับให้จำเลยชำระเงิน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
    <span;> 6 จำเลยฎีกาว่า   ผู้จัดการสาขาเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยในการรับคำเสนอขอเอาประกันภัยจากลูกค้าแล้วส่งคำขอต่อไปยังผู้อำนวยการสำนักฝากเงินเพื่อสงเคราะห์ชีวิต   ธนาคารจำเลยสาขาไม่มีอำนาจรับประกันภัยได้
    <span;> 7  ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่วินิจฉัยว่า   แม้ความสมบูรณ์ในการทำสัญญาประกันชีวิตจะถือว่าการแสดงเจตนาทำคำขอเอาประกันชีวิตของผู้บริโภคเป็นเพียงคำเสนอต่อผู้ประกอบธุรกิจรับประกันภัย  และตราบใดที่ผู้รับประกันภัยยังมิได้พิจารณาคุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้ขอแต่ละรายแล้วทำคำสนองรับประกันชีวิต   สัญญาประกันชีวิตจะยังมิได้เกิดขึ้นดังที่จะมายกขึ้นเป็นข้อฎีกา   แต่เมื่อจำเลยประกอบธุรกิจธนาคารรับฝากเงินเป็นปกติธุระมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัย   ทั้งการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ของจำเลยด้วยข้อความสำคัญที่ว่าเป็นการฝากเงินสงเคราะห์แบบคุ้มครองสินเชื่อแก่ลูกค้าผู้กู้ของธนาคาร   โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ฝากเงินสงเคราะห์และเงื่อนไขสำคัญ ว่าผู้ฝากเงินสงเคราะห์ต้องมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรลูกค้าผู้กู้และคู่สมรส   โดยมีถ้อยคำเรื่องการฝากเงินสงเคราะห์เป็นหลักสำคัญยิ่งกว่าข้อความบ่งชี้เกี่ยวกับการชำระเบี้ยประกันชีวิต   ย่อมทำให้ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคเข้าใจได้ตามสามัญสำนึกว่าหากผู้ตายเป็นลูกค้าของธนาคารจำเลยนำเงินไปฝากกับจำเลยตามจำนวนและต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาแล้วผู้ตายซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขต่างๆ
    <span;> 8 และศาลฎีกาได้มีมีคำวินิจฉัยดังที่กล่าวมาข้างต้น   พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงิน 400,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย   แต่ดอกเบี้ยนับแต่ วันที่ 11 เมษายน 2564 ให้คิดในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี)
    <span;> นายผดุงศักดิ์  จันเดชชนะวงศ์  ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ  กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา  และกรรมการสภาทนายความภาค 3  ปีบริหาร 2565-2568  โทร.081-9663849

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3096.สัญญาฝากเงินตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์ระหว่างผู้ตายกับธนาคารมีผลใช้บังคับ แม้ธนาคารยังไม่ได้ออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1879/2566 (หน้า 1246 เล่ม 5) (ประชุมใหญ่) สัญญาฝากเงินตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์ ระหว่างผู้ตายกับจำเลยเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาฝากทรัพย์โดยมีความคุ้มครองประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายด้วยอยู่ในตัว เมื่อผู้ตายมีคุณสมบัติเฉพาะตัวตามหลักเกณฑ์แห่งคำโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ของจำเลยและนำเงินไปฝากตามจำนวน ที่จำเลยกำหนด โดยธนาคารจำเลยยอมรับใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์พร้อมเงินฝากของผู้ตายไว้เช่นนี้ สัญญาฝากทรัพย์โดยมีความคุ้มครองประกันชีวิตย่อมเกิดขึ้นตามเจตนาของคู่สัญญาแล้ว จำเลยต้องผูกพันให้ความคุ้มครองแก่ผู้ตายตามกรมธรรม์ที่ตนโฆษณาไว้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 ทั้งการตีความยึดถือความเข้าใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นวิญญูชนและมิได้เป็นผู้โฆษณาข้อความเช่นนั้นเป็นสำคัญยิ่งกว่าการตีความตามความมุ่งหมายของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผู้เขียนคำโฆษณา ประกอบกับอาจมีกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงย่อมต้องตีความไปในทางให้สัญญามีผลบังคับซึ่งเป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียในมูลหนี้นั้น เพราะหากมีความจนสัญญาไม่มีผล ผู้บริโภคจะเป็นฝ่ายเสียไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างที่ควรจะเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 11 ผู้ตายถึงแก่ความตายภายหลังจากสัญญาฝากทรัพย์ที่มีความคุ้มครองประกันชีวิตเกิดขึ้นและมีผลบังคับ เช่นนี้ จำเลยไม่อาจปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ตายตามผลประโยชน์ที่ควรได้รับในกรมธรรม์อันเป็นส่วนหนึ่งในการโฆษณาของจำเลยได้ ทั้งจำเลยไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะปฏิเสธความคุ้มครองให้แก่ผู้ตายตามกรมธรรม์ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์ไม่อาจอ้างว่าสำนักงานสาขาจำเลยที่รับใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์ซึ่งเป็นคำเสนอไม่มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ แต่เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักฝากเงินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตหาได้ไม่

(หมายเหตุ 1 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 บิดาโจทก์ยื่นใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์และชำระเงินฝากสงเคราะห์ สำหรับคุ้มครองการเสียชีวิต และเพิ่มเติมคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

2 วันที่ 15 มีนาคม 2562 เสียชีวิต

3 วันที่ 21 มีนาคม 2562 และวันที่ 11 เมษายน 2562 จำเลยมีหนังสือปฏิเสธการรับฝากเงินสงเคราะห์และโอนเงินคืนให้แก่ผู้ตาย เนื่องจากผู้ตายเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุมัติให้รับฝากเงินสงเคราะห์ได้

4 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

5 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษากลับให้จำเลยชำระเงิน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย

6 จำเลยฎีกาว่า ผู้จัดการสาขาเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยในการรับคำเสนอขอเอาประกันภัยจากลูกค้าแล้วส่งคำขอต่อไปยังผู้อำนวยการสำนักฝากเงินเพื่อสงเคราะห์ชีวิต ธนาคารจำเลยสาขาไม่มีอำนาจรับประกันภัยได้

7 ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่วินิจฉัยว่า แม้ความสมบูรณ์ในการทำสัญญาประกันชีวิตจะถือว่าการแสดงเจตนาทำคำขอเอาประกันชีวิตของผู้บริโภคเป็นเพียงคำเสนอต่อผู้ประกอบธุรกิจรับประกันภัย และตราบใดที่ผู้รับประกันภัยยังมิได้พิจารณาคุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้ขอแต่ละรายแล้วทำคำสนองรับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตจะยังมิได้เกิดขึ้นดังที่จะมายกขึ้นเป็นข้อฎีกา แต่เมื่อจำเลยประกอบธุรกิจธนาคารรับฝากเงินเป็นปกติธุระมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ของจำเลยด้วยข้อความสำคัญที่ว่าเป็นการฝากเงินสงเคราะห์แบบคุ้มครองสินเชื่อแก่ลูกค้าผู้กู้ของธนาคาร โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ฝากเงินสงเคราะห์และเงื่อนไขสำคัญ ว่าผู้ฝากเงินสงเคราะห์ต้องมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรลูกค้าผู้กู้และคู่สมรส โดยมีถ้อยคำเรื่องการฝากเงินสงเคราะห์เป็นหลักสำคัญยิ่งกว่าข้อความบ่งชี้เกี่ยวกับการชำระเบี้ยประกันชีวิต ย่อมทำให้ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคเข้าใจได้ตามสามัญสำนึกว่าหากผู้ตายเป็นลูกค้าของธนาคารจำเลยนำเงินไปฝากกับจำเลยตามจำนวนและต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาแล้วผู้ตายซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขต่างๆ

8 และศาลฎีกาได้มีมีคำวินิจฉัยดังที่กล่าวมาข้างต้น พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงิน 400,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยนับแต่ วันที่ 11 เมษายน 2564 ให้คิดในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

มอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรทนายความผู้เชี่ยวชาญ “คดีฟ้องแบบกลุ่ม” Class Action

นายกฯมอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรทนายความผู้เชี่ยวชาญ “คดีฟ้องแบบกลุ่ม” Class Action 

เมื่อวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 4 สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์: ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรทนายความผู้เชี่ยวชาญ “คดีฟ้องแบบกลุ่ม” Class Action (ขั้นก้าวหน้า) G1 และ G2 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ร่วมกันจัดอบรมในครั้งนี้


นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้รับมอบเงินสนับสนุนจากนายยิ่งยง นิลเสนา นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เพื่อให้สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์นำไปส่งเสริมการพัฒนางานวิชาการสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความฯ

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

3095.ผู้เอาประกันภัยรถจักรยานยนต์ ถูกรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งเฉี่ยวชนถึงแก่ความตาย ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดจ่ายเงินเต็มจำนวนความคุ้มครองผู้ประสบภัย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1169/2566 (หน้า 1121 เล่ม 5) ผู้ตายเป็นผู้ประสบภัยซึ่งขับรถจักรยานยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยมิได้เป็นฝ่ายต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นและมี ป. เป็นผู้ต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ตาย หาใช่เป็นกรณีไม่มีผู้ใดต้องรับผิดต่อผู้ประสบภัย จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียงไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ 3.1 ประกอบข้อ 3.1.7 ที่กำหนดว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดเพียงค่าเสียหายเบื้องต้น เฉพาะกรณีที่ผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัยเป็นฝ่ายต้องรับผิดหรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิด เมื่อข้อความในสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไม่ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาในการตีความอันเป็นเอกสารสัญญาที่จำเลยผู้รับประกันภัยนำมาใช้ในการประกอบกิจการรับประกันภัย โดยมีการกำหนดสาระสำคัญต่างๆไว้ล่วงหน้าทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาสำเร็จรูปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 การตีความในกรณีมีข้อสงสัยต้องอยู่ภายใต้มาตรา 4 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความสัญญาสำเร็จรูปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งมิได้เป็นผู้กำหนด สัญญาสำเร็จรูปนั้น” เช่นนี้ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ส. ผู้ตายที่เอาประกันรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุกับจำเลยซึ่งมิได้เป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปนั้น จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายเต็มจำนวนความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากกรณีเสียชีวิตเป็นเงิน 300,000 บาท ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.1 ประกอบข้อ 3.1.3 ไม่ใช่รับผิดเพียงค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท ตามข้อ 3.1.7
(หมายเหตุ 1 โจทก์เป็นบุตรของผู้ตาย ซึ่งผู้ตายเอาประกันภัยรถจักรยานยนต์ไว้กับจำเลย
2 วันที่ 24 มกราคม 2562 ขณะที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์คันที่จำเลยรับรับประกันเกิดอุบัติเหตุถูกรถจักรยานยนต์ที่มี ป. ขับมาเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตาย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า ป.มีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเพียงแต่ความตาย
3 หลังเกิดเหตุ โจทก์ขอรับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย 300,000 บาท ตามจำนวนเงินสูงสุดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์แต่จำเลยปฏิเสธอ้างว่า รับผิดไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นเงิน 35,000 บาท โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้
4 ศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 254,022 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
5 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ผู้ประสบภัยตามข้อ 3.1 ที่จะได้รับค่าเสียหายทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย หมายถึง ผู้ประสบภัยที่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย จึงพิพากษากลับให้ยกฟ้อง
6 ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้นโดยพิพากษากลับให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น)
นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849