นายกสภาทนายความฯร่วมชมการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างสภาทนายความภาค 5 กับสภาทนายความภาค 6 

นายกสภาทนายความฯและคณะเดินทางร่วมชมการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างสภาทนายความภาค 5 กับสภาทนายความภาค 6 ณ.จังหวัดพิษณุโลก

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม 2567 เวลา 15.00 น. ที่สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลก ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ นายไพบูลย์ แย้มเอม อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ได้เดินทางไปชมการแข่งขันฟุตบอลระหว่างสภาทนายความภาค 5 กับสภาทนายความภาค 6

     ต่อมาเวลา 18.00 น. นายกสภาทนายความได้เดินทางร่วมงานเลี้ยงในการสัมมนาประเพณีสภาทนายความภาค 5 และภาค 6 ที่โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีนายพรศักดิ์ สังข์สังวาลย์ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 5 นายสาโรจน์ จันทรศิริ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 6 นายเดชฤทธิ์ ศรีสุพรรณ์ ประธานสภาทนายความจังหวัดพิษณุโลก ให้การต้อนรับ และได้รับเกียรติจากนายผาติ หอกิตติคุณ อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความภาค 6 นายอาสา เม่นแย้ม อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความภาค 5 และอดีตประธานสภาทนายความจังหวัด พร้อมประธานสภาทนายความจังหวัด และทนายความในจังหวัดภาค 5 และภาค 6 ร่วมงานจำนวนมาก

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

3133.จำเลยอุทธรณ์ แต่ไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ร่วม ต้องพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2565 (หน้า 61 เล่ม 8) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ ดังนั้น พนักงานอัยการและผู้เสียหายจึงต่างมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้เฉพาะแก่พนักงานอัยการโจทก์ โดยไม่ได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่โจทก์ร่วมแก้ ย่อมเป็นการทำให้โจทก์ร่วมเสียสิทธิในการทำคำแก้อุทธรณ์ตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาคดีโดยมิได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเสียก่อน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน และในการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้คู่ความฟัง ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้โจทก์ร่วมทราบด้วย ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 182 ประกอบมาตรา 215 กรณีจึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้โจทก์ร่วมตามกฎหมาย หากโจทก์ร่วมแก้อุทธรณ์หรือไม่แก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอย่างไร ให้ศาลชั้นต้นรวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ทั้งนี้ตาม ป. วิ.อ.มาตรา 208(2) ประกอบมาตรา 225

(นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849)

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3132.ดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบในคดีอาญา

คำพิพากษาฎีกาที่ 2777/2566 (เล่ม 8 หน้า 1972) ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานแล้วพิพากษา ลงโทษจำคุกจำเลยภายในกรอบของกฎหมาย จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน คำพิพากษาจึงผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับดุลพินิจของศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 เพื่อให้ศาลฎีกาแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งจำเลยได้ใช้สิทธิฎีกาในคดีหลักแล้ว แม้การใช้ดุลพินิจของศาลชั้นต้นจะไม่ตรงกับความเห็นของจำเลย ก็ไม่ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ กรณีไม่มีเหตุให้จำเลยขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

( หมายเหตุ 1 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ กับกระบวนพิจารณาที่แต่ละฝ่ายเห็นไม่ตรงกัน เป็นคนละกรณีไม่เหมือนกัน กล่าวคือ หากศาลสั่งไปโดยผิดระเบียบ ถ้าจะขอเพิกถอนก็ต้องขอเพิกถอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 แต่หากเป็นเรื่องที่ศาลใช้ดุลพินิจในกรอบของกฎหมายแล้ว ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยกับดุลพินิจของศาลก็ต้องใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะอุทธรณ์งฎีกาโดยเฉพาะ เพื่อให้ศาลสูงแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือคำพิพากษานั้น จะขอเพิกถอนคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 27 ไม่ได้)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ และกรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3131.พนักงานสอบสวนไม่แจ้งข้อหาและสอบสวนในความผิดฐานกระทำอนาจาร ศาลจะพิพากษาได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 3277/2566 (เล่ม 8 หน้า 2011) ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น เฉพาะวรรคความผิดในมาตราเดียวกันตาม ป.อ.มาตรา 279 ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและขั้นสูงแตกต่างกัน เป็นการแก้ทั้งบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาฝึกอบรมอันเป็นการแก้ไขมาก แต่ศาลล่างทั้งสองต่างเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 142(1) ซึ่งเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน มิใช่การลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 เท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมิได้พิพากษาลงโทษจำเลยเกิน 2 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1

โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยผู้เสียหายที่ 1 จะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ทางพิจารณาฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุไม่เกิน 13 ปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม โดยใช้วัตถุล่วงล้ำอวัยวะเพศของเด็กนั้น ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย แม้พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งข้อหาและสอบสวนจำเลยในความผิดดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่กฎหมายห้ามไม่ให้พนักงานอัยการนำคดีมาฟ้องในข้อหานั้นตามมาตรา 120 อันเป็นขั้นตอนของการยื่นฟ้องคดี มิใช่การพิพากษาคดีของศาลตามที่กฎหมายให้อำนาจศาลไว้

(นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ และกรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849)

 

นายกสภาทนายความ หารือประธานศาลฎีกา เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน

หารือประธานศาลฎีกา เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน

เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567 เวลา 10.30 น. ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ พร้อมคณะเข้าพบนางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกา เนื่องในศุภวาระขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2567 และหารือแนวทางการทำงานร่วมกัน เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน โดยมีนายสุนทร พยัคฆ์ เลขาธิการ สภาทนายความ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรรมการประชาสัมพันธ์ และรองเลขาธิการ ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร อุปนายกฝ่ายวิชาการ และนางสาวศรินทร เลืองวัฒนะวณิช อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ เข้าร่วมหารือเพื่อเพิ่มศักยภาพทนายความขอแรงให้เป็นที่พึ่งประชาชนต่อไป

หารือประธานศาลฎีกา เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน

นายกสภาทนายความฯหารือประธานศาลฎีกา เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน

เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567 เวลา 10.30 น. ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ พร้อมคณะเข้าพบนางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกา เนื่องในศุภวาระขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2567 และหารือแนวทางการทำงานร่วมกัน เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน โดยมีนายสุนทร พยัคฆ์ เลขาธิการ สภาทนายความ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรรมการประชาสัมพันธ์ และรองเลขาธิการ ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร อุปนายกฝ่ายวิชาการ และนางสาวศรินทร เลืองวัฒนะวณิช อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ เข้าร่วมหารือ

เพื่อเพิ่มศักยภาพทนายความขอแรงให้เป็นที่พึ่งประชาชนต่อไป

 

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3030.จำเลยครอบครองโครงปืนและลำกล้อง แต่ไม่มีเครื่องลั่นไก ถือว่าจำเลยครอบครองอาวุธปืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4224/2565 (หน้า 175 เล่ม 8) พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4(1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 3 บัญญัติว่า “อาวุธปืน หมายความรวมตลอดถึง อาวุธทุกชนิด ซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนดยวิธีระเบิด หรือกำลังดันของแก๊ส หรืออัดลม หรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้นๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่า อาวุธปืนจะต้องใช้ยิงได้จึงจะเป็นอาวุธปืน และแม้ส่วนหนึ่งส่วนใดของคนอื่นที่รัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวงก็ถือว่าเป็นอาวุธปืนด้วย ดังนั้น การที่จำเลยมีปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยปืนของการมีโครงปืนและลำกล้องพร้อมที่จะใช้การได้ เพียงแต่ปืนของกลางก็ยังเป็นอาวุธปืนตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 4(1) จำเลยจึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

(นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849)

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ
3129.ใช้อาวุธปืนยิงเข้าไปในห้องโถงที่มีผู้เสียหายอยู่ เป็นเจตนาเล็งเห็นผล
คำพิพากษาฎีกาที่ 1092/2566 (หน้า 1738 เล่ม 8) จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงยิงเข้าไปในห้องโถงของบ้านที่เกิดเหตุซึ่งมีความกว้างเพียง 3.5 เมตร ขณะผู้เสียหายทั้งเจ็ดอยู่รวมกันภายในห้องโถงและยิงติดต่อกันถึง 3 นัด ในลักษณะขนานกับพื้นในระดับหน้าอกของบุคคลทั่วไป แม้จำเลยมิได้ใช้อาวุธปืนจ้องเล็งและยิงไปที่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดก็ตาม จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายทั้งเจ็ดถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งเจ็ดโดยเล็งเห็นผล เมื่อกระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหายทั้งเจ็ด เนื่องจากผู้เสียหายทั้งเจ็ดหลบหนีได้ทัน จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
ข้อก็เท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า ผู้เสียหายทั้งเจ็ดต่างวิ่งหลบหนีได้ทัน กระสุนปืนจึงไม่ถูกผู้ใด แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปที่กลุ่มผู้เสียหายทั้งเจ็ดซึ่งยืนรวมกันภายในบ้านในระยะใกล้มองเห็นได้ชัด เจนเพราะเป็นประตูกระจก โดยผู้เสียหายทั้งเจ็ดยืนมองดูการกระทำของจำเลยไม่ได้หลบหนี แตกต่างจากคำบรรยายฟ้อง แต่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียดว่าขณะที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปที่กลุ่มผู้เสียหายทั้งเจ็ด ผู้เสียหายทั้งเจ็ดต่างวิ่งหลบหนีหรือกำลังยืนรวมตัวกันอยู่ภายในบ้าน ซึ่งไม่ใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
(หมายเหตุ 1 คดีนี้ มีประเด็นที่จำเลยยื่นฎีกาว่า ในวันเกิดเหตุพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนผู้เสียหายทั้ง เจ็ด แต่ไม่มีพยานผู้ใดให้การว่า จำเลยใช้อาวุธปืนจ้องเล็งยิงไปยังกลุ่มผู้เสียหายทั้งเจ็ดในระยะใกล้แต่อย่างใด ต่อมา เป็นระยะเวลาอีก 2 เดือน พนักงานสอบสวนได้สอบสวนผู้เสียหายทั้งเจ็ดให้การเพิ่มเติมเหมือนกันว่า จำเลยใช้อาวุธปืนจ้องเล็งยิงไปที่กลุ่มผู้เสียหายทั้งเจ็ด จึงเป็นพิรุธว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมผู้เสียหายทั้งเจ็ดเป็นการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมโดยไม่ชอบ
2 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้การสอบสวนเพิ่มเติมผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะกระทำในวันเดียวกัน มีคำถามและคำตอบเหมือนกัน เนื่องจากผู้เสียหายทั้งเจ็ดต่างอยู่ในเหตุการณ์เดียวกันและเห็นเหตุการณ์เหมือนกัน จึงให้การเพิ่มเติมรายละเอียดคำให้การที่เกิดขึ้นถูกต้องตรงกัน การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย)
(นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849)

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3127.คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตรากฎหมายกำหนด ตกเป็นโมฆะ ต่อมามีการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ทำให้เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1883/2566 (หน้า 1806 เล่ม 8) ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้นับแต่วันทำสัญญาแก่โจทก์ทั้งสิบสองซึ่งเป็นคณะกรรมการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนพลุพ้อที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 ในอัตราร้อยละ 1.50 ต่อเดือน หรืออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตกเป็นโมฆะมาแต่ต้นตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ซึ่งเป็นกฎหมายขณะทำสัญญากู้ ประกอบ ป.พ.พ.มาตรา 654 แม้ต่อมาโจทก์ทั้งสิบสองมีระเบียบกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนพรุพ้อ พ.ศ. 2555 กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่จากอัตราร้อยละ 1.50 ต่อเดือน หรือร้อยละ 18 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี ก็ไม่ทำให้ข้อสัญญาดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะแล้ว กลับมาเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ได้อีก กรณีไม่ใช่ข้อสัญญาการกำหนดค่าเสียหาย อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ

โจทก์ทั้งสิบสองในฐานะผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้จากจำเลยที่ 1 เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแล้ว และจำเลยที่ 1 ไม่อาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระฝ่าฝืนก็ห้ามตามกฎหมายได้ โจทก์ทั้งสิบสองก็ย่อมไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยด้วย ต้องนำดอกเบี้ยที่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองไปหักต้นเงินตามหนังสือสัญญากู้เงิน แต่โจทก์ทั้งสิบสองยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งได้

สัญญากู้เงินและระเบียบข้อบังคับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนพรุพ้อมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ โจทก์ทั้งสิบสองซึ่งเป็นคณะกรรมการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์พรุพ้อในฐานะเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และภายหลังแต่นั้นโจทก์ทั้งสิบสองได้ให้คำเตือนจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้จำเลยที่ 1 ได้ชื่อว่าผิดนั้นเพราะเขาเตือนแล้วนับแต่เวลานั้นเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 204 วรรคหนึ่ง เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 โจทก์ทั้งสิบสองมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญาภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือ โดยมีผู้ลงชื่อรับแทนจำเลยที่ 1 แล้วเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 ครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าววันที่ 14 สิงหาคม 2562 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดนับแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2562 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป

ป.พ.พ.มาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ ที่ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันไม่ได้ ย่อมนำมาใช้บังคับกับสัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นก่อนวันที่บทบัญญัติดังกล่าวซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ตามมาตรา 18 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย

จำเลยที่ 1 ผิดนัดนับแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2562 โจทก์ทั้งสิบสองมีหนังสือบอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือโดยมีผู้รับแทนเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะผิดนัดวันที่ 15 สิงหาคม 2562 การบอกกล่าวเช่นนี้ไม่ใช่การบอกกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ และหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว โจทก์ทั้งสิบสองไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าว แจ้งการผิดนัดของจำเลยที่ 1 ไปยังจำเลยที่ 2 อีก และโจทก์ทั้งสิบสองจะเรียกให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันไม่ได้ โจทก์ทั้งสิบสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 686 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่

(นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849)

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

3126.ผู้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตจะฟ้องลูกค้าต้องมีหนังสือเตือนไม่น้อยกว่า 20 วันนับแต่ลูกค้าได้รับหนังสือทวงถาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 2612/2565 (หน้า 56 เล่ม 8) ใบสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลข้อกำหนดทั่วไปสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภทของธนาคารข้อ 8 คำบอกกล่าวตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ธนาคารจะส่งคำบอกกล่าวตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคหรือตามสัญญากำหนดให้ต้องแจ้งหรือบอกกล่าวเป็นหนังสือให้แก่ผู้กู้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังที่อยู่หรือสถานที่ติดต่อตามที่ระบุในสัญญาหรือระบุในคำขอสินเชื่อหรือตามที่อยู่ที่ผู้กู้แจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือทั้งหลังสุด เป็นกรณีที่โจทก์ได้กำหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับธนาคารพาณิชย์ข้อ 4.6 ที่ว่า “เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (4) ต้องมีหนังสือแจ้งเตือนผู้บริโภคที่ผิดนัดชำระหนี้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วัน ก่อนการดำเนินการบังคับชำระหนี้ตามกฎหมาย” ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป ซึ่งตามข้อ 1 ได้ระบุเหตุผลในการออกประกาศว่า เพื่อเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชนและเป็นการป้องกันปัญหาจากธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในอนาคตเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคยิ่งขึ้น ข้อกำหนดดังกล่าวจึงกำหนดขึ้นเพื่อบังคับให้โจทก์ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามก่อนที่จะบังคับชำระหนี้กับจำเลยอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้โจทก์ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล จึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดตามประกาศดังกล่าว การที่จำเลยนำบัตรที่โจทก์ออกให้ไปใช้ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขแล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ต้องมีหนังสือแจ้งเตือนผู้บริโภคที่ผิดัดชำระหนี้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วัน ก่อนการดำเนินการบังคับชำระหนี้ตามกฎหมาย
จำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ซึ่งจะครบกำหนด 20 วันในวันที่ 20 สิงหาคม 2561 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 17 สิงหาคม 2561 จึงเป็นกรณีโจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
(นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849