นายกสภาฯ มอบหมายให้ ประธานสภาทนายความธนบุรี ร่วมประชุมโครงการส่งเสริมการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ในเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรี

เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้มอบหมายให้ นายชิษณุพงศ์ ปูลา ประธานสภาทนายความธนบุรี เข้าร่วมประชุมโครงการส่งเสริมการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ในเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรี

โดยมี นางจันทร์กระพ้อ ต่อสุวรรณ สินธวถาวร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดลพบุรีช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงธนบุรี เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องแม่น้ำห้องโฟร์ ริเวอร์ส ชั้น 1 โรงแรมแม่น้ำ รามาดาพลาซา ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3292.ผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2566 การที่จำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนยังยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำบัญชีเงินฝากของตนไปใช้รับโอนเงินลงทุนที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบสาม ถือว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 86 และต้องร่วมรับผิดในส่วนแพ่งกับจำเลยที่ 1 ด้วย

(หมายเหตุ 1 จำเลยที่ 1 เป็นภริยาจำเลยที่ 2 และยังคงอยู่กินกันมาโดยตลอด ไม่ปรากฏว่ามีปัญหาครอบครัวแต่อย่างใด

2 จำเลยที่ 1 จัดตั้งกลุ่มขึ้นในชื่อ บ้านกำไรงาม เครื่องสปาหน้า สปาตัว ลงข้อความในบัญชีเฟซบุ๊กเกี่ยวกับผลกำไรที่เกิดจากการลงทุนซื้อเครื่องนวดสปา และแจ้งว่าหากลงทุนเป็นเคส เคสละ 30,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน จะได้รับเงินลงทุนคืนพร้อมผลกำไร 3,500 บาท ถึง 5,000 บาท ซึ่งคิดเป็นอัตราร้อยละ 608.455 ถึง 868.70 ต่อปี สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้

3 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังได้แสดงภาพและข้อความให้ผู้เสียหายทั้งสิบสามและประชาชนทั่วไปทางเฟซบุ๊กให้ทราบว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์เป็นสามีภริยากันและอยู่ร่วมกัน

4 ผู้เสียหายทั้งสิบสามมีความสนใจจึงเข้าร่วมกลุ่มในบัญชีเฟซบุ๊กซึ่งจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นผู้เสียหายทั้งสิบสามโอนเงินลงทุนให้จำเลยที่ 1 ในแต่ละครั้งโดยผ่านเข้าบัญชีธนาคาร ท. ของจำเลยที่ 2 จากนั้นมีการโอนเงินจากบัญชีของจำเลยที่ 2 เข้าบัญชีของนางชนัญญรัตน์ นางสาวณัฎฐนิช บุตรของจำเลยที่ 1 และนางชลธิชา เลขานุการของจำเลยที่ 1

5 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคหนึ่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 12 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) (ที่ถูก 14 วรรคหนึ่ง (1)) จำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 65 ปี แต่ความผิดที่จำเลยที่ 1 กระทำมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลงโทษได้เพียง 20 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินต้นที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ของกลางให้คืนแก่เจ้าของ

6 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคหนึ่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 12 ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ให้ลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ลดโทษให้จำเลยทั้งสองคนละหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 39 ปี 52 เดือน แต่ลงโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียง 20 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี 2 เดือน 20 วัน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

7 ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยข้างต้น)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

  • ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3291.ขอทำนิติกรรมแทนผู้ไร้ความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2566 ที่ผู้ร้องอ้างว่าจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 เพื่อจัดการทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถนั้นที่จะยื่นคำร้องขอได้ เมื่อปรากฏว่าในขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ศาลยังไม่มีคำสั่งว่า ม. เป็นคนไร้ความสามารถ และมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลของ ม. ผู้ร้องซึ่งยังไม่อยู่ในฐานะผู้อนุบาล จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องทำนิติกรรมแทน ม. ได้

(หมายเหตุ 1 คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งว่า ม. เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง และมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องทำนิติกรรมแทน ม.ด้วย

2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ม. เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน

3 ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยข้างต้น โดยพิพากษายืน)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมการประสานงานในกระบวนยุติธรรม ร

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30-16.00 นาฬิกา ที่ศาลแขวงบางบอน นายชิษณุพงศ์ ปูลา ประธานสภาทนายความธนบุรี ได้รับมอบหมายจาก ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยคณะกรรมการสภาทนายความธนบุรี ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมการประสานงานในกระบวนยุติธรรม รวมถึงการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารศาลแขวงบางบอน

 

โดยได้รับเกียรติจากนางสุวิพันธ์ สุระประเสริฐ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงสระบุรี ช่วยงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงบางบอน ให้การต้อนรับ

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3290.ลักทรัพย์คนในครอบครัวเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2566 ป.อ. มาตรา 71 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับบุคคลที่กระทำความผิดและผู้ถูกกระทำที่มีความสัมพันธ์กันในครอบครัวทางสายโลหิตโดยตรง เมื่อมีการกระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐานเกิดขึ้นในครอบครัว กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ แต่โจทก์ต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด

(หมายเหตุ 1 จำเลยเป็นบุตรและเป็นผู้สืบสันดานของโจทก์กับ ป.

2 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป จำคุกกระทงละ 2 ปี รวม 6 กระทง เป็นจำคุก 12 ปี

3 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

4 จำเลยฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ โจทก์แก้ฎีกาให้เหตุผลโต้แย้งว่า ป.อ. มาตรา 71 วรรคสอง เป็นเพียงเหตุยกเว้นโทษเฉพาะตัวเนื่องจากความเป็นญาติ ไม่ได้หมายความว่าความผิดฐานลักทรัพย์จะเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติชัดเจนแตกต่างจากความผิดฐานฉ้อโกง ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ และความผิดฐานยักยอก โจทก์จึงไม่ต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือน

5 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า หากแปลกฎหมายอย่างที่โจทก์แก้ฎีกาจะขัดกันเองอย่างเห็นได้ชัด เพราะความผิดฐานฉ้อโกง ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ และความผิดฐานยักยอก มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งหากไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 เหตุใดเมื่อนำมาบัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคสอง ให้ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐานเป็นความผิดอันยอมความได้ จึงจะไม่ต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เหตุผลตามคำแก้ฎีกาของโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น

6 และศาลฎีกามีคำวินิจฉัยข้างต้น โดยพิพากษายืน)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3289.(มรดก)โอนทรัพย์มรดกให้แก่บุคคลผู้ที่ไม่ใช่ทายาท ผู้รับโอนจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2566 การฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด หากพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) เมื่อส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมีเพียงกึ่งหนึ่งในที่ดินโฉนดเลขที่ 22874 และ 60 ศาลย่อมพิพากษาเพิกถอนเฉพาะส่วนที่ดินกึ่งหนึ่งกลับคืนสู่กองมรดกของผู้ตายได้

เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 จำเลยที่ 1 จัดการโอนมรดกทั้งหมดให้ตนเอง รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย แต่เป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้ โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการรับโอนมรดกของผู้ตายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แสดงว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทรัพย์มรดกของผู้ตายกลับคืนกองมรดกเพื่อแบ่งปันระหว่างทายาท จึงเป็นคดีมรดก ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่งปันกันโดยชอบ การที่จำเลยที่ 1 มีชื่อในโฉนดที่ดินเลขที่ 24990 ถือว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วย จึงไม่อาจอ้างการครอบครองขึ้นต่อสู้โจทก์และโจทก์ร่วมได้ คดีของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ขาดอายุความ

จำเลยที่ 1 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกผู้ตาย อยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1635 (2) ที่ดินโฉนดเลขที่ 22874 และ 60 เป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในฐานะสินสมรสกึ่งหนึ่งและในฐานะทายาทผู้รับมรดกอีกกึ่งหนึ่งรวมเป็นสามในสี่ส่วนของที่ดินดังกล่าว สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 24990 และ 123 เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกึ่งหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกดังกล่าว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 24990 และ 123 ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายทั้งแปลง และเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 22874 และ 60 ซึ่งเป็นสินสมรสของผู้ตายกับจำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 225 และมาตรา 252

(หมายเหตุ 1 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ โจทก์ร่วม และผู้ตาย เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ซึ่งผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 วันที่ 27 มกราคม 2520 โดยรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาเลี้ยงดูในฐานะบุตรและได้แจ้งเกิด

2 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ผู้ตายถึงความตาย จากนั้นวันที่ 30 สิงหาคม 2560 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 22874 ให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งยังจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 24990 ให้แก่จำเลยทั้งสามถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันทางมรดก

3 วันที่ 9 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 60 และ 123 พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 ทางมรดก

4 รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดของหน่วยนิติเวชศาสตร์และพิษวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่มารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3

5 โจทก์ฟ้องขอบังคับให้กำจัดจำเลยที่ 1 จากการรับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 22874, 24990, 60 และ 123 พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 4 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสี่แปลงและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งสาม

6 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ดังกล่าวให้แก่ผู้ตายโดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนแต่อย่างใด และโจทก์เบิกความยืนยันว่า ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ตายเพื่อตอบแทนที่ผู้ตายดูแลมารดา แม้ว่าผู้ตายจะได้ที่ดินดังกล่าวมาในระหว่างสมรส แต่ไม่ปรากฏว่าหนังสือยกให้ระบุเป็นสินสมรส จึงต้องฟังว่า ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 123 เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกึ่งหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกดังกล่าว

7 ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 24990 ผู้ตายได้รับการให้ที่ดินมาจากบิดาเมื่อประมาณปี 2499 ก่อนสมรสกับจำเลยที่ 1 แม้ผู้ตายได้ทำสัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด เมื่อปี 2531 จึงเป็นหนี้ที่ก่อขึ้นภายหลังจากที่ผู้ตายได้รับการให้ที่ดินดังกล่าว จึงต้องฟังว่าที่ดินตามโฉนดเลขที่ 24990 เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกึ่งหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกดังกล่าว)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3287.ค่าเลี้ยงชีพภายหลังการหย่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2566 ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์และจำเลยภายหลังหย่าเป็นความตกลงระงับข้อพิพาทที่โจทก์และจำเลยไม่อาจรักษาสถานภาพของการสมรสที่มีต่อกันไว้ได้ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 และมาตรา 368 การตีความข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยจะอาศัยเพียงลำพังข้อสัญญาข้อหนึ่งข้อใดเพียงข้อเดียว ย่อมไม่อาจทราบเจตนาอันแท้จริงในทางสุจริตของคู่สัญญาได้ สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 7 มีความว่า จำเลยยอมชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์เดือนละ 25,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 10 ตุลาคม 2561 และจะชำระทุกวันที่ 10 ของทุกเดือนไปจนกว่าจะครบ 5 ปี แม้สัญญาระบุว่าเป็นข้อตกลงในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู แต่แท้ที่จริงเป็นข้อตกลงในเรื่องการจ่ายค่าเลี้ยงชีพภายหลังการหย่า และสัญญาข้อ 8 ที่ว่า จำเลยตกลงจะชำระเงินโบนัสแก่โจทก์ปีละ 100,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี เริ่มชำระงวดแรกในปี 2567 หลังจากที่จำเลยได้จ่ายเงินตามสัญญาข้อ 7 ครบ 5 ปี ในปี 2566 ซึ่งมีลักษณะเป็นเงินค่าเลี้ยงชีพภายหลังการหย่าเช่นกันและเป็นการจ่ายค่าเลี้ยงชีพต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 7 รวมแล้วเป็นเวลา 10 ปี เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงยอมผ่อนผันตามคำเรียกร้องของโจทก์ในคำฟ้อง ด้วยการลดจำนวนเงินที่เรียกร้องทั้งสองจำนวนลงจากที่จำเลยจะต้องจ่ายในช่วง 5 ปีแรก เดือนละ 35,000 บาท เหลือเดือนละ 25,000 บาท และช่วง 5 ปีหลัง จากที่จำเลยต้องจ่ายเงินได้พิเศษประจำปีจากการทำงานของจำเลย (โบนัส) จำนวนครึ่งหนึ่งของเงินได้ เหลือเพียงปีละ 100,000 บาท แม้คำฟ้องและสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพจากเงินได้พิเศษประจำปีจากการทำงานของจำเลย (โบนัส) ในช่วง 5 ปี หลังก็ตาม แต่น่าจะเป็นเพราะโจทก์ต้องการเรียกร้องเป็นเงินครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินได้พิเศษประจำปีจากการทำงานหรือโบนัสของจำเลย มิได้ถือเอาเป็นข้อสำคัญว่าเงินที่จะนำมาจ่ายให้แก่โจทก์จะต้องเป็นเงินโบนัสที่จำเลยได้มาจากบริษัท บ. ประกอบกับสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้กำหนดเงื่อนไขไว้อย่างใดว่า เงินที่จะจ่ายแก่โจทก์ต้องเป็นเงินโบนัสที่จำเลยได้จากบริษัท บ. เมื่อพิเคราะห์เจตนาอันแท้จริงของโจทก์และจำเลยแล้ว โจทก์และจำเลยมีเจตนาตกลงกันให้จำเลยจ่ายเงินเป็นค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ ตามสัญญาข้อ 8 อีกปีละ 100,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี เริ่มชำระงวดแรกในปี 2567 เป็นต้นไป นอกเหนือจากที่จะต้องจ่ายตามสัญญาข้อ 7 อย่างไรก็ตามหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 8 เป็นหนี้ในอนาคต ยังไม่ถึงกำหนดตามคำพิพากษาตามยอม จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมของศาล เช่นนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้มีการบังคับคดีแก่จำเลยได้ คำสั่งและคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่ให้อายัดเงินในบัญชีธนาคารของจำเลยนั้น เป็นการไม่ชอบ และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 252 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ 2553 มาตรา 182/1

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3288.แบ่งสินสมรสหลังมีคำพิพากษาหย่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029/2566 เมื่อจำเลยรับว่าที่ดินพิพาทจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนบุคคลอื่น จำเลยจึงไม่อาจยกข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ขึ้นอ้างได้ โจทก์อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 วรรคสอง จำเลยปฏิเสธว่าไม่ใช่สินสมรส จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์

การจัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาในกรณีที่มีการฟ้องหย่ากัน ป.พ.พ. มาตรา 1532 (ข) บัญญัติว่า “ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า” คดีนี้เป็นฟ้องให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาเมื่อมีการหย่ากันแล้วโดยคำพิพากษาของศาล จึงต้องบังคับตามมาตรา 1532 (ข) กล่าวคือ ในส่วนของการบังคับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้นให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า การพิจารณาการได้มาเกี่ยวกับสินสมรสจึงต้องพิจารณามาตรา 1532 (ข) ประกอบด้วย โดยหากเป็นกรณีที่มีการหย่าโดยคำพิพากษา ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสที่จะเป็นสินสมรสจะต้องได้มาอย่างช้าสุดไม่เกินวันฟ้องหย่า จำเลยฟ้องหย่าโจทก์วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 จำเลยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 20691 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 ส่วนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 53456 จำเลยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 อันเป็นการได้รับโอนมาภายหลังจากวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นฟ้องหย่าโจทก์แล้ว และทางนำสืบของโจทก์ไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยนำเงินที่เป็นสินสมรสไปชำระค่าที่ดิน เมื่อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนี้จำเลยได้มาภายหลังวันที่ฟ้องหย่า จึงไม่เป็นสินสมรสของจำเลยกับโจทก์ตามมาตรา 1574 (1) ประกอบมาตรา 1532 (ข) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 20691 และเลขที่ 53456 จากจำเลย

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 63 (ภาคทฤษฎี)

เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00-12.00 น.

ที่ห้องประชุม ชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 63 (ภาคทฤษฎี)

โดยมีนายชยธวัช อติแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ กล่าวรายงาน ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร อุปนายกฝ่ายวิชาการ กล่าวต้อนรับและแนะนำแนวทางการอบรม อาจารย์ศิริคนางค์ ไชยสุต กรรมการอำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ ร่วมในพิธีเปิดอบรวมด้วย

นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ยังให้เกียรติเป็นวิทยากร บรรยายในหัวข้อ “จริยธรรมและมรรยาททนายความ” ซึ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 63 (ภาคทฤษฎี) ทั้งระบบออนไลน์และออนไซต์เป็นจำนวนมาก

 

เปิดโครงการอบรม หลักสูตร “ล่ามในกระบวนการยุติธรรม” รุ่นที่

 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 3 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรม หลักสูตร “ล่ามในกระบวนการยุติธรรม” รุ่นที่ 3

โดยมีนางสาวศรินทร เลืองวัฒนะวณิช อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ กล่าวรายงาน นางสาวจุฑาทิพย์ ลิ้มพงษ์ประเสริฐ กรรมการสำนักงานกิจการระหว่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินรายการ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก อาจารย์อภิชาต เพิ่มชวลิต ล่ามอิสระเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อาจารย์สอนวิชาการแปลและเทคนิคล่ามกว่า 20 ปี และนางสาวศิริพร เมืองศรีนุ่น กรรมการสำนักงานกิจการระหว่างประเทศ ร่วมพิธีเปิดการอบรมและเป็นวิทยากร