ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3578.หลักเกณฑ์การรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2567 (ประชุมใหญ่) หลักเกณฑ์การรอการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ต้องพิจารณาโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีนั้น ๆ ว่าต้องคำพิพากษาให้จำคุกเกิน 6 เดือนหรือไม่ ซึ่งหมายถึงโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษที่รอการลงโทษในคดีอื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำเลยที่ 5 ให้จำคุกไม่เกิน 6 เดือน แม้ศาลคดีก่อนจะนำโทษจำคุกของจำเลยที่ 5 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกคดีละ 4 เดือน เป็นจำคุก 14 เดือน ก็ยังถือว่าอยู่ในเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ได้

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3578.หลักเกณฑ์การรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2567 (ประชุมใหญ่) หลักเกณฑ์การรอการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ต้องพิจารณาโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีนั้น ๆ ว่าต้องคำพิพากษาให้จำคุกเกิน 6 เดือนหรือไม่ ซึ่งหมายถึงโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษที่รอการลงโทษในคดีอื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำเลยที่ 5 ให้จำคุกไม่เกิน 6 เดือน แม้ศาลคดีก่อนจะนำโทษจำคุกของจำเลยที่ 5 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกคดีละ 4 เดือน เป็นจำคุก 14 เดือน ก็ยังถือว่าอยู่ในเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ได้

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3577.การนับโทษต่อจากคดีอื่น โทษที่จะได้รับต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4943/2567 คดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาพิพากษาเข้ากับคดีหมายเลขดำที่ อ 378/2564 หมายเลขแดงที่ อ 1036/2564 ของศาลชั้นต้น โดยให้เรียกจำเลยในสำนวนคดีดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 แต่คดีดังกล่าวได้ยุติลงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 โดยคู่ความไม่ได้ฎีกา คดีคงขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะคดีนี้

คดีนี้และคดีหมายเลขแดงที่ อ 1036/2564 ของศาลชั้นต้น เหตุเกิดวันเดียวกันและสถานที่เดียวกัน จึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (3) กล่าวคือ ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินห้าสิบปี เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 ในแต่ละคดีมีกำหนด 37 ปี 4 เดือน แล้วนำโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ อ 1036/2564 ของศาลชั้นต้นมานับต่อจากคดีนี้ได้ ซึ่งเมื่อรวมโทษทุกคดีแล้วโทษจำคุกเกินห้าสิบปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาโดยมิได้กำหนดว่าเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกต้องไม่เกินห้าสิบปีจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 พิพากษาแก้เป็นว่า นับโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ อ 1036/2564 ของศาลชั้นต้นต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ อ 1035/2564 ของศาลชั้นต้น แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกต้องไม่เกินห้าสิบปีตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7

(หมายเหตุ 1 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 83, 91, 277, 283 ทวิ, 310, 317 นับโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 378/2564 ของศาลชั้นต้น

2 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 สำนวนแรก จำคุก 33 ปี 4 เดือน สำนวนที่สอง จำคุก 37 ปี 4 เดือน ให้นับโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 378/2564 หมายเลขแดงที่ อ 1036/2564 ของศาลชั้นต้นต่อจากโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 377/2564 หมายเลขแดงที่ อ 1035/2564 ของศาลชั้นต้น

3 ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า นับโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ อ 1036/2564 ของศาลชั้นต้น ต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ อ 1035/2564 ของศาลชั้นต้น แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกต้องไม่เกินห้าสิบปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3)

(หลักกฎหมาย ป.อ. มาตรา 91 (3) ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง, 225, 226/3 วรรคสอง (1), 227/1)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกฯและทีมงานเยี่ยมและให้กำลังใจอดีตกรรมการบริหารสภาทนายความภาค 3 อาการเจ็บป่วย

❤️ไม่มีใครรักเราเท่าเรารักกัน

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2568 เวลา 10.00 น.ที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายไพบูลย์ แย้มเอม อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ พร้อมด้วยนายสุเนตร แก้วอมตวงศ์ นางสาวรุจิรา กุลวงศ์ และ

นายอภิชา ทองมานายศักดิ์ดา ขัมภะกิจ ได้เดินทางไปเยี่ยมอาการเจ็บป่วยและให้กำลังใจนายสุรศักดิ์ รอนใหม่ อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความภาค 3 ซึ่งได้พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลดังกล่าว พร้อมแจ้งการนำเงินกองทุนสวัสดิการสภาทนายความเข้า บัญชีธนาคารของนายสุรศักดิ์ รอนใหม่ และนำเงินส่วนตัวของ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความมอบให้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3576.เข้าป่าล่าสัตว์เป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาฎีกาที่ 3630/2567 (เล่ม7 หน้า 1603) (ประชุมใหญ่) ความผิดฐานร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง และความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครอง มีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหาก จากกัน จำเลยทั้งสองร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยใช้อาวุธปืนยิงสัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง และเป็นความผิดสำเร็จเมื่อจำเลยทั้งสองทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง และการที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองตามฟ้อง ย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองแยกต่างหากจากการทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ถือได้ว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

(ประชุมใหญ่)ความผิดฐานร่วมกันเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองในเขตป่าสงวนแห่งชาติและภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3575.ที่ดินของวัดผู้ใดจะเข้าไปยึดถือหรือโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของตนเองไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2164/2567 (เล่ม 7 หน้า 1438) ตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ห้ามมิให้ผู้ใดผู้หนึ่งเข้ายึดถือหรือโอนกรรมสิทธิ์ที่ธรณีสงฆ์มาเป็นของตนโดยพลการ ภายหลังที่ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดโจทก์แล้ว กระทรวงเกษตราธิการไม่อาจบังคับซื้อหรือเข้าไปยึดถือที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ และมีผลทำให้จำเลยซึ่งได้รับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาจากกระทรวงเกษตราธิการไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไปด้วย

ข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อวัดโจทก์สามารถนำสืบข้อเท็จจริง หักล้างข้อสันนิษฐานได้ว่า ที่ดินทั้งสองแปลงเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดโจทก์ไปรวมรังวัดในการขอรังวัดรวมโฉนดที่ดิน เป็นการไม่ชอบ และมีผลทำให้ที่ดินทั้งสองแปลงที่ถูกรวมอยู่ในโฉนดที่ดินแบ่งแยกเป็นโฉนดที่ดินแปลงต่างๆ เป็นการไม่ชอบด้วย จำต้องเพิกถอนการจดทะเบียนรวมและแบ่งแยกในนามเดิมเฉพาะที่ดินในส่วนที่รุกล้ำที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียนได้เพราะที่ดินในส่วนนี้มิได้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง

(หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา 1373 ป.วิ.พ.มาตรา 142 พ.ร.บ.ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ส.121 มาตรา 7 คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 มาตรา 41 คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ประธานสภาทนายความจังหวัดนนทบุรี นำคณะทนายความศึกษาดูงานที่ศาลรัฐธรรมนูญ

 

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 9.00 น.นายศิริศักดิ์ อมาตยกุล ประธานสภาทนายความจังหวัดนนทบุรี ได้นำคณะทนายความจำนวน 100 คน เข้าศึกษาดูงานที่ศาลรัฐธรรมนูญ ชั้น 3 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ โดยมี รองเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ และ ดร.ปัญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ให้เกียรติมาให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของศาลรัฐธรรมนูญ และงานที่ศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวข้อง และคดีที่ได้ศาลวินิจฉัยคดีที่ผ่านมาฯลฯ แล้วเสร็จสิ้นการเข้าดูงาน เวลา 12.45 น.

สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ยื่นมือช่วยเหลือเพื่อนร่วมอาชีพทนายความ ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้

 

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ้ปิดเผยว่า กรณีเกิดแผ่นดินเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมานั้น เพื่อนทนายความท่านใด ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าว ที่ทำให้บ้าน หรือสำนักงานได้รับความเสียหาย กรุณาติดต่อขอรับเงินจากกองทุนสวัสดิการสภาทนายความ เพื่อช่วยเยียวยาในการซ่อมแซมบ้าน หรือสำนักงาน ได้ที่ฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์

หมายเลขโทรศัพท์

06-4291-4690

อีเมล lct249service@gmail.com

 

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ และคณะกรรมการสภาทนายความ

 

วันที่ 28 มีนาคม 2568

#ห่วงใยไม่ทิ้งกัน

#ไม่มีใครรักเราเท่าเรารักกัน

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3574.ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินแทน นำที่ดินไปจำนอง สัญญาจำนองมีผลผูกพันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2567 โจทก์ทั้งสองฟ้องอ้างว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ พ. มารดาโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ที่ ม. ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนให้ พ. ซึ่งตกทอดแก่บุตรของ พ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมรวม 6 คน และโจทก์ทั้งสองยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มา ดังนี้ การที่โจทก์ทั้งสองยอมให้จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทโดยรับโอนมาจาก ม. เป็นเวลานานกว่า 10 ปี และจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ของ ส. ภริยาจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2557 วงเงินจำนวน 150,000 บาท และต่อมาวันที่ 19 พฤษภาคม 2558 จำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนจำนองและได้จดทะเบียนจำนองใหม่อีกครั้งในวันเดียวกันในวงเงินจำนอง 620,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนของตนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 รับจำนองไว้โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต โจทก์ทั้งสองจึงหาอาจทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตที่มีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้สิทธิมาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งสองนั้นได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 โจทก์ทั้งสองจะอ้างบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 ซึ่งบัญญัติให้การจำนองกระทำได้โดยเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นเพื่อมิให้สัญญาจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ทั้งสองอันมีผลเป็นการบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหาได้ไม่ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2

(หมายเหตุ 1 โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 เป็นบุตร พ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 6 คน

2 เมื่อประมาณปี 2525 พ.ถึงแก่ความตาย โดยที่ ม.ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนให้แก่ พ.

3 วันที่ 12 มิถุนายน 2543 พ.จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองยินยอมให้จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท

4 วันที่ 18 กันยายน 2557 จำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ของ ส. ภริยาจำเลยที่ 1 วงเงินจำนอง 150,000 บาท

5 วันที่ 19 พฤษภาคม 2558 จำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนจำนองและได้จดทะเบียนจำนองใหม่อีกครั้งในวันเดียวกันในวงเงินจำนอง 620,000 บาท

6 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนของตนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 รับจำนองไว้โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต โจทก์ทั้งสองจึงหาอาจทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตที่มีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้สิทธิมาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งสองนั้นได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 806)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกฯ บรรยาย “กฎหมายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ซิมผี บัญชีม้า)” และกฎหมายทั่วไปที่ประชาชนควรรู้

เมื่อวันพุธที่ 26 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 -16.00 น. ที่ ห้อง 1105 อาคาร 1 (อาคารพระราชธรรมเจติยาจารย์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วิทยาเขตสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อเรื่อง “กฎหมายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ซิมผี บัญชีม้า)” และกฎหมายทั่วไปที่ประชาชนควรรู้ ดร.อัญธิกา ณ พิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ บรรยายเรื่องกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างทักษะองค์ความรู้ด้านกฎหมายให้แก่ประชาชนตลอดจนการถ่ายทอดประสบการณ์ โดยมี นายวีระศักดิ์ บุญเพลิง กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนัทเทพ เธียรประสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผน วิจัย และนวัตกรรม นายปัญญา ธีระรัตนานนท์ เลขานุการสภาทนายความ ภาค 3 พร้อมด้วยคณาจารย์ ให้การต้อนรับ ซึ่งมีทนายความในจังหวัด นครราชสีมา คณาจารย์ และประชาชน เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้จำนวนมาก นอกจากนี้ยังให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ชุมชนพื้นที่สีคิ้วอีกด้วย