ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3315.อ้างว่าผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน ผู้อ้างมีภาระการพิสูจน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2566 (เล่ม 6 หน้า 7) น. มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินพิพาทตามสำเนาโฉนดที่ดิน และสำเนาบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมมีค่าตอบแทน น. ย่อมได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน ของกฎหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 และ ป.พ.พ. มาตรา 1373 ว่า น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ น. ฟ้องจำเลย โดยขอบังคับจำเลยให้ร่วมกับโจทก์ไปดำเนินการจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมของแต่ละคนในที่ดินพิพาท จำเลยกล่าวอ้างว่า น. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนจำเลย จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์

แม้โจทก์รับว่า น.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนผู้อื่นก็ตาม แต่เป็นข้อเท็จจริงคนละส่วนกันกับการที่ น. ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนจำเลยหรือไม่ ไม่มีผลทำให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว เมื่อจำเลยอ้างว่า น. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนจำเลย จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์

จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีและบรรยายในฟ้องแย้งของจำเลยว่า น. ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทแทนบุคคลอื่น แต่ให้การยืนยันว่า น. ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนจำเลย และขอให้บังคับโจทก์ถอนชื่อ น. ออกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยกลับมากล่าวอ้างเรื่องดังกล่าวในฎีกา เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นและขัดกับคำให้การของจำเลย จึงเป็นข้อที่ มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมฟ้องแย้งในศาลชั้นต้นเป็นพับ แต่มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาลชั้นต้นในส่วนฟ้องโจทก์ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง

โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม จำเลยให้การว่าที่ดินเป็นของจำเลย เป็นการต่อสู้กรรมสิทธิ์และฟ้องแย้งให้โจทก์จดทะเบียนถอนชื่อ น. ออกจากที่ดินพิพาทและใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์จดทะเบียนถอนชื่อ น. ออกจากที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์อุทธรณ์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งในส่วนฟ้องของโจทก์และในส่วนฟ้องแย้งที่แพ้คดีแก่จำเลย

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

เปิดอบรมและทดสอบผู้ที่จะเป็นที่ปรึกษากฎหมายในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ครั้งที่ 2/2567 

เปิดอบรมและทดสอบผู้ที่จะเป็นที่ปรึกษากฎหมายในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ครั้งที่ 2/2567 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 น. ที่ห้องประชุมชั้น 4-5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ : สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง จัดการอบรมและทดสอบผู้ที่จะเป็นที่ปรึกษากฎหมายในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ครั้งที่ 2/2567 โดยมีนายเผดิม เพ็ชรกูล อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ พร้อมด้วย ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการอบรม และนางสาวนิชญา ปราณีจิตต์ เลขานุการศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เป็นผู้กล่าวรายงาน และนางสาวสุดาทิพย์ อำนวยพันธ์วิไล ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดดังกล่าว ซึ่งการอบรมและทดสอบความรู้ผู้ที่จะเป็นที่ปรึกษากฎหมายในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวในครั้งนี้ มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 528 คน โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 และชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร

เปิดการอบรมโครงการปฏิรูปทนายความอาสา ทนายความขอแรง และที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชน ประจำปีงบประมาณ 2567

เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 – 17.00 น. ที่ห้องจุลมณี 3 โรงแรม เคพี แกรนด์ จันทบุรี จังหวัดจันทบุรี : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมโครงการปฏิรูปทนายความอาสา ทนายความขอแรง และที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชน ประจำปีงบประมาณ 2567

โดยมี นายศักดิ์สิทธิ์ ปะสิ่งชอบ ประธานสภาทนายความจังหวัดจันทบุรี กล่าวต้อนรับ นายชลิต ขวัญแก้ว กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 2 กล่าวรายงาน นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายมานิฏฐ์ เล็กโล่ง ประธานสภาทนายความจังหวัดระยอง และดร.อุลิช ดิษฐปราณีต กรรมการสำนักฝึกวิชาว่าความ และว่าที่สมาชิกวุฒิสภา

นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “ประมวลจริยธรรมและมรรยาททนายความของทนายความอาสา” “ทนายความอาสากับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในคดีอาญา” นายสมพร ดำพริก อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย บรรยายหัวข้อ “บทบาททนายความอาสากับการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย” นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ รองเลขาธิการสภาทนายความ บรรยายหัวข้อ “พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562” “พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565” ซึ่งมีทนายความในจังหวัดจันทบุรี และทนายความภาค 2 เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3314.ครอบครองที่ดินของรัฐไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2565 (เล่ม 11 หน้า 42) ป.ที่ดิน มาตรา 9 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่ และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครองหรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ห้ามมิให้บุคคลใด (1) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้าง หรือเผาป่า (2)……” ดังนี้ ความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9(1) และ 108 ทวิ วรรคสอง จึงเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองและยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่จำเลยยึดถือ ครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุ

จำเลยก่อสร้างบ้านพักอาศัยในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งเป็นเวลา เกินกว่า 10 ปี ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังคงครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุตลอดมา จึงเป็นความติดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3313.ออกใบแทนโฉนดที่ดินโดยไม่มีหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เป็นการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2565 (เล่ม 11 หน้า 7) คดีแพ่งของศาลชั้นต้น ที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์ เพื่อเรียกโฉนดที่ดินทั้ง 40 ฉบับคืน ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ส่งมอบโฉนดที่ดินทั้ง 40 ฉบับ คืนแก่จำเลยที่ 1 คำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นคำพิพากษาเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน ดังนั้นเจ้าพนักงานที่ดินจะดำเนินการออกใบแทนโฉนดที่ดินได้ก็ต่อเมื่อคดีนั้นถึงที่สุด ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 56 และ 63 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้หรือประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หมวด 3 ข้อ 17(3) ที่ระบุว่า ในกรณีศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินหรือผู้ใดมีสิทธิจดทะเบียนตามคำพิพากษาของศาลแต่ไม่ได้โฉนดที่ดินมาหรือโฉนดที่ดินเดิมเป็นอันตรายชำรุด หรือสูญหายด้วยประการใด ให้ผู้มีสิทธิจดทะเบียนยื่นคำขอใบแทนแล้ว ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ใน(1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี เมื่อคดีแพ่งของศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่สามารถขอออกใบแทนโฉนดที่ดินทั้ง 40ฉบับ ได้

จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินทั้ง 40 ฉบับ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2546 และวันที่ 2 กันยายน 2546 โดยไม่ได้นำคำพิพากษาคดีแพ่งประกอบคำขอ เจ้าพนักงานที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหลักฐานคดีถึงที่สุดมาแสดง จึงมีคำสั่งยกเลิกคำขอออกใบแทนและมีคำสั่งไม่รับคำขอ การมีคำสั่งยกเลิกคำขอและการมีคำสั่งไม่รับคำขอออกไปแทนโฉนดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดิน ย่อมแสดงให้เห็นว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นคำพิพากษาอันเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน การจะดำเนินการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ ก็โดยอาศัยอำนาจตาม ป.ที่ดิน มาตรา 56 และ 63 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หมวด 3 ข้อ 17(3) เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปยื่นคำขอออก ใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นครั้งที่ 3 โดยอ้างเหตุเดิมว่า โฉนดที่ดินสูญหายแต่มีเพิ่มเติมว่า ได้นำพยาน 2 คน ไปบันทึกถ้อยคำรับรองพร้อมนำสำเนารายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีแพ่งไปประกอบ ปรากฏว่า การยื่นคำขอในครั้งที่ 3 เจ้าพนักงานที่ดินมิได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าว ทั้งที่เป็นกรณีเดียวกันและเหมือนกันกับครั้งที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอออกไปแทนโฉนดในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ที่เจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งให้ยกเลิกคำขอออกใบแทนและมีคำสั่งไม่รับคำขอออกใบแทน เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหลักฐานอันแสดงว่าคดีถึงที่สุดไปแสดง การที่เจ้าพนักงานที่ดินไม่ปฏิบัติตามข้อ 17(3) แต่ข้ามขั้นตอนไปปฏิบัติตามข้อ 17(1) จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎกระทรวงดังกล่าว การออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำต้องเพิกถอนใบแทนโฉนดที่ดินซึ่งไม่ชอบตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรค แปด และให้โฉนดที่ดินพิพาทฉบับเดิมยังคงมีผลใช้ได้ต่อไป

ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้สละกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้ง 40แปลง แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป และไม่มีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทตามใบแทนโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนจำนอง กับจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 จากกระทำไปโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนตามกฎหมาย ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดๆ ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

(หมายเหตุ 1 คำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจะดำเนินการออกใบแทนโฉนดที่ดินได้ก็ต่อเมื่อคดีนั้นถึงที่สุดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 56 และ 63 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2499 หมวด 3 ข้อ 17(3))

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3312.ฟ้องขอให้ทางพิพาท เป็นทางจำเป็นต้องจ่ายค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2565 (หน้า 20 เล่ม 11) โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า ทางในที่ดินของจำเลยทั้งเจ็ด เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การว่า ทางในที่ดินของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ใช่ทางจำเป็น หากฟังว่าเป็นทางจำเป็น โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การรับว่า โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ทางในที่ดินของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจากโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 6 และที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การ ดังนั้น การที่จะบังคับให้ใช้ค่าทดแทนหรือไม่เพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยก่อนว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ปัญหาเรื่องการใช้ค่าทดแทนเป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นอันเป็นประเด็นสำคัญในคดี คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ทั้งค่าทดแทนที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ โจทก์ใช้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปีละ 30,000 บาท และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ปีละ 20,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์ใช้ทางจำเป็นไปจนกว่าจะหมดความจำเป็นในการใช้ทางนั้น จำนวนค่าทดแทนที่โจทก์จะต้องใช้แก่จำเลยทั้งเจ็ดจึงขึ้นอยู่กับการใช้ทางจำเป็นของโจทก์ว่าเริ่มต้นเมื่อใด และสิ้นสุดลงเมื่อใด ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคตย่อมไม่อาจคำนวณค่าทดแทนเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ได้ แม้ว่าประเด็นเรื่องทางจำเป็นจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงเถียงกันในชั้นอุทธรณ์เฉพาะเรื่องจำนวนค่าทดแทนว่ามีเพียงใด ก็ไม่ทำให้คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ กลับกลายเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 3 เป็นเงิน 1,000,000 บาท กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนเป็นเงินคนละ 140,000 บาท ซึ่งเป็นค่าทดแทนจำนวนเดียว มิใช่ค่าทดแทนเป็นรายปีก็ตาม แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสี่ บัญญัติให้กำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้เป็นรายปีนับแต่วันที่โจทก์ใช้ทางจำเป็นไปจนกว่าจะหมดความจำเป็นในการใช้ทาง หาใช่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันจะต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่งไม่

(หมายเหตุ 1 การขอให้ชดใช้ค่าทดแทนเนื่องจากทางพิพาทเป็นทางจำเป็น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

สภาทนายความจัดอบรม พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ( ฟรี )

📣 ประกาศสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ 📣

🌟 รับสมัครอบรม 【 ฟรี 】🚩

👉 เรื่อง “ พระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม “

— เชิญพบกับ—-

🔶 ดร.วิเชียร ชุบไธสง

นายกสภาทนายความ

🔶 ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร

อุปนายกฝ่ายวิชาการ สภาทนายความ

🔶 นายเอกราช อุดมอำนวย

สส.พรรคก้าวไกล กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

📆 วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2567

⏱ เวลา 13.00 – 16.00 น.

📍 ณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

🔖การลงทะเบียนมี 2 ช่องทาง 🔖

🪑 Online

🌎 Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/iki15fUeMDfakhby6

—————————

🪑 Onsite

🌎Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/hwCDwUs3aRu5t2GNA

—————————

👉ติดต่อสอบถาม คุณพิมพ์ฉวี คุณจิดาภา ☎️ 06 4291 4640

 

⚖___________ ⚖

 

นายกสภาทนายรับเรื่องเพื่อช่วยเหลือคนตาบอดถูกปล้นทรัพย์ 

สภาทนายความช่วยเหลือคนตาบอดถูกปล้นทรัพย์ 

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 12.30 น. นางสาวพีเชอ กาเยะกู่ อาชีพขายลอตเตอรี่ (ผู้ร้อง) ได้เดินทางมาที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร เข้าพบ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ และนายสมพร ดำพริก อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากสภาทนายความ กรณีถูกปล้นทรัพย์

นางสาวพีเชอ กาเยะกู่ ผู้ร้อง ได้ให้ข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 เวลา 16.45 น. บริเวณต้นซอยนิมิตใหม่ 11 ถนนนิมิตใหม่ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร มีผู้ต้อง จำนวน 2 คน ผู้ชาย 1 คน และ หญิง 1 คน มาถามหาเลขลอตเตอรี่กับผู้ร้อง และมีผู้ต้องหาเยาวชน 1 คน มากระชากกระเป๋าสะพายข้าง ซึ่งมีเงินอยู่กระเป๋ากับทรัพย์สิน เป็นโทรศัพท์มือถือ ยี่ห้อ แอปเปิ้ล รุ่นไอโฟน 13 รวมมูลค่า 62,000 บาท จึงได้แจ้งความลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี ที่สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีไว้

ด้าน ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์จะให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ร้อง ซึ่งมีความพิการสายตาเป็นกรณีพิเศษ โดยจัดทนายความอาสาช่วยเหลือทางคดีอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตามในช่วงเย็นนี้ตนได้มอบหมายให้นายสมพร ดำพริก อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ ลงดูพื้นที่เกิดเหตุและไปที่ สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีกับผู้ร้อง เพื่อให้ปากคำต่อไป

 

นายกสภาทนายความร่วมงานโครงการส่งเสริมการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ 2567

นายกสภาทนายความร่วมงานโครงการส่งเสริมการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ 2567

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 น. ที่ห้องประชุม Eternity โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพมหานคร : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้รับเชิญเข้าร่วมงาน โครงการส่งเสริมการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งจัดโดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง โดยมี นายมนูภาน ยศธแสนย์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เป็นประธานเปิดงาน และนายฉัตรประพล แย้มเพริศศรี กรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค 1 เข้าร่วมงานในครั้งนี้

ซึ่งภายในงานจัดอภิปราย เรื่อง “ผลกระทบและความเสียหายของเจ้าหน้าที่รัฐในการถูกดำเนินคดีในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ” และ เรื่อง “การประสานความร่วมมือ การแก้ไขปัญหาข้อขัดข้อง ในการพิจารณาพิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ”

ทั้งนี้เพื่อให้รับทราบถึงกระบวนการพิจารณาคดีและให้เข้าใจถึงปัญหาในการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดขึ้น รวมถึงความร่วมมือประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกัน โดยมีผู้แทนหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3311.สร้างอาคารบนที่ดินที่เป็นลานจอดรถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2565 (เล่ม 11 หน้า 26) โจทก์ทั้งสิบสองได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว ดังนั้นเงินค่าซื้อที่ดินและบ้านที่จำเลยทั้งสองได้รับจากโจทก์ทั้งสิบสองตามฟ้อง จึงเกิดจากการซื้อขายที่ดินและบ้านมิใช่เกิดจากการปกปิดข้อความจริงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน ทั้งการที่จำเลยทั้งสอง ไม่ได้ขออนุญาตจากทางราชการให้ดำเนินการจัดสรรที่ดิน ก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะฉ้อโกงโจทก์ทั้งสิบสอง เพราะจำเลยทั้งสองได้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองแล้ว ส่วนฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองที่ว่าจำเลยทั้งสองปกปิดข้อความจริงเรื่องการขออนุญาตก่อสร้างและขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ทำให้โจทก์ทั้งสิบสองเสียสิทธิในการคัดค้านก่อสร้างอาคารเจ็ดชั้นและเสียสิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินสาธารณูปโภค เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองได้ก่อสร้างอาคารเจ็ดชั้นบนที่ดินสาธารณูปโภคที่เป็นลานจอดรถนั้น การที่จำเลยทั้งสองไปขออนุญาตก่อสร้างอาคารโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบนั้น มิใช่การปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง เพราะจำเลยทั้งสองไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบ ทั้งจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ทรัพย์สินไปจากโจทก์ทั้งสิบสองเพราะที่ดินเป็นลานจอดรถยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ส่วนการที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารเจ็ดชั้นบนที่ดินสาธารณูปโภคที่เป็นลานจอดรถ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามคำมั่นของ จ.ที่ให้ไว้กับโจทก์ทั้งสิบสอง เท่านั้น กรณีเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตาม ป.อ.

มาตรา 341

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849