สภาทนายความ จัดการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมสัมพันธไมตรีของหน่วยงานที่อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เนื่องในวันรพี ประจำปี 2567

สภาทนายความ จัดการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมสัมพันธไมตรีของหน่วยงานที่อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เนื่องในวันรพี ประจำปี 2567

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2567 เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป ที่สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เนื่องในวันรพี ประจำปี 2567 โดยมีนายไพบูลย์ แย้มเอม อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยนักกีฬาจากทีมต่างๆ จากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเข้าร่วมงาน

สำหรับการแข่งขันฟุตบอลในครั้งนี้ มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 16 ทีม ประกอบด้วย

1. ทีมทนายความจังหวัดมีนบุรี

2. ทีมสภาทนายความภาค 1

3. ทีมสโมสรฟุตบอลทนายความมีนบุรี

4. ทีมทนายความมหานคร

5. ทีมสภาทนายความ

6. ทีมผู้พิพากษา

7. ทีมสโมสรทนายความจังหวัดชลบุรี

8. ทีมชมรมทนายความรัชดา

9. ทีมทนายความจังหวัดชลบุรี

10. ทีมอัยการ

11. ทีม Lawyer All Stars

12. ทีมชมรมทนายความอาสา

13. ทีมสมาคมนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

14. ทีมชมรมทนายความอีสาน

15. ทีมทนายความคลองสามวา

16. ทีม Pattaya City

เพื่อให้บุคคลากรในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมได้แสดงความสามารถทางทักษะด้านกีฬา รวมทั้งปลูกฝังให้มีน้ำใจนักกีฬา ส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรง และสร้างความสามัคคีของบุคลากรในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม

 

นายกสภาทนายความ ได้รับเกียรติจากกรมการปกครองเชิญเป็นวิทยากร บรรยายกฎหมายเรื่อง “พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558” ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ที่จดทะเบียนกับสภาทนายความและบัญชาการตำรวจนครบาล

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00-10.30 น. ที่ โรงแรมบางกอกพาเลส เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้รับเกียรติจากกรมการปกครองเชิญเป็นวิทยากร บรรยายกฎหมายเรื่อง “พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558” ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ที่จดทะเบียนกับสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์และกองบัญชาการตำรวจนครบาล รวมถึงผู้ปฏิบัติงานด้านการทวงถามหนี้ ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558

นอกจากนี้ยังมี พ.ต.อ.วิชัย แดงประดับ รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การพิจารณาข้อร้องเรียนของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558” นายวัชรินทร์ นิลโมจน์ รองนายกฝ่ายกฎหมายและช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “สาระสำคัญของ พระราชบัญญัติ การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558” ทั้งนี้มีผู้ ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ เข้าร่วมรับการอบรมจำนวน กว่า 400 คน

สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสภาทนายความ ภาค 5 จัดสัมมนาในหัวข้อ”หลักวิธีปฎิบัติการสอบสวนคดีมรรยาททนายความ” ที่เชียงใหม่(ฟรี)

นายพรศักดิ์ สังข์สังวาลย์ กรรมการบริหาร สภาทนายความภาค.5 เปิดเผยว่า ด้วยสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยคณะกรรมการบริหารและกรรมการมรรยาททนายความ ร่วมกับสภาทนายความ ภาค 5 ได้จัดอบรมสัมมนาเรื่อง”หลักวิธีปฎิบัติการสอบสวนคดีมรรยาททนายความ” ให้แก่กรรมการสอบสวนคดีมรรยาทและทนายความทุกท่านที่สนใจ หรือต้องการจะทำหน้าที่กรรมการสอบสวนคดีมรรยาททนายความ ในจังหวัดพื้นที่ ภาค 5 โดยกำหนดจัดงานวันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2567 เวลา 9.00- 16.30 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ อาคาร 27 ชั้นที่ 15 โดยลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมการอบรมสัมมนาผ่านระบบออนไลน์นี้ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 14 กันยายน 2567 https://forms.gle/EeRLdvC4buzAPfyq5

สภาทนายความยกทีมจัดวิชาการสัญจร จังหวัดนครราชสีมา

วิชาการสัญจร จังหวัดนครราชสีมา

⚖️เมื่อวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 เวลา 08.30 – 17.30 น. ที่ ห้องประชุมแคแสด มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานเปิดการอบรมวิชาการสัญจร จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง “การดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาคปฏิบัติ”

โดยมีนายพรเทพ เจริญพงศ์อนันต์ ประธานสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ นายวีระศักดิ์ บุญเพลิง กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 3 กล่าวรายงาน ดร.ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล กล่าวต้อนรับ นายปัญญา ธีรรัตนานนท์ เลขานุการกรรมการบริหารสภาทนายความภาค 3 เป็นผู้ดำเนินรายการ

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายสมพิศ เพ็งงาน ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอำนาจเจริญ (ช่วยทำงานชั่วคราว) ในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครราชสีมา นายไตรรัตน์ ศิริพันธุ์ อัยการจังหวัดนครราชสีมา พ.ต.อ.ประภาส มะเริงสิทธิ์ ผู้กำกับการ(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา นายทรรศน์ธรรม ภูวรัตนโชติ นิติกรชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมาย นางวริศรา หวังกลุ่มกลาง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดนครราชสีมา นายวีรเกียรติ อโณทัยไพบูลย์ อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความภาค 3 ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ อาจารย์ ดร.อรรถพงษ์ โภชน์เกาะ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์ นายจักรกฤษณ์ ยางนอก นายสิทธิพร สาระคำ นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ นายพยุงศักดิ์ คลังเกษม ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ และ นายสมศักดิ์ นาคสมบูรณ์ ประธานสภาทนายความจังหวัดพิมาย

นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายอรรถพร อัมพวา กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 นายนรินทร์ศักดิ์ หลายทวีวัฒน์ หัวหน้าพนักงานไต่สวนสำนักงานคณะกรรมการ ปปช. ภาค 3 ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ “การดำเนินคดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาคปฏิบัติ” “การร่าง และการจัดทำคำคู่ความและเอกสารในคดีอาญาทุจริต” นายปพนพัชญ์พงษ์ หิรัญญาญิน ตุลาการศาลปกครองกลาง และ นางสาวณัฐจีราภรณ์ เรืองศักดิ์ พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ สำนักประธานศาลปกครองสูงสุด ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ “กระบวนการดำเนินคดีปกครองและการพิจารณาคดีปกครอง” “การดำเนินคดีปกครองในรูปแบบออนไลน์” ซึ่งมีทนายความจังหวัดนครราชสีมาและทนายความภาค 3 ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3340.ผู้รับเหมาชั้นต้นที่จ่ายเงินไปแล้วไล่เบี้ยเรียกเงินคืนจากผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปซึ่งไม่ได้เป็นนายจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2567 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 หมายความว่า หากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างมีค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนั้นด้วย และเมื่อผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปจ่ายค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแทนผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างไปแล้วก็ให้มีสิทธิไล่เบี้ยเงินดังกล่าวคืนจากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่ผู้รับเหมาชั้นต้นที่จ่ายเงินไปแล้วไล่เบี้ยเรียกเงินคืนจากผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปซึ่งไม่ได้เป็นนายจ้างได้ เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ก. เป็นผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างมีค่าจ้างค้างจ่ายต่อลูกจ้างของตน และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นนำเงินดังกล่าวไปวางที่ศาลจังหวัดภูเขียวเพื่อชำระให้แก่ลูกจ้างของ ก. และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดตามคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเงินข้างต้นคืนจาก ก. ผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างที่แท้จริงได้ แต่หาอาจไล่เบี้ยเรียกเงินคืนจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปแต่มิได้เป็นนายจ้างด้วยไม่ ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมดอกเบี้ย 117,067 บาท คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 วรรคสอง จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอนำเงินดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง, 124 วรรคสาม และมาตรา 125 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง หมายความว่า เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ลูกจ้าง เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฏว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง ถ้านายจ้างมิได้นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ให้คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวนั้นเป็นที่สุด เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า เจ้าพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ทั้งโจทก์ จำเลยที่ 1 และ ก. ร่วมกันรับผิดใช้ค่าแรงงานแก่ลูกจ้างของ ก. โจทก์ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดย่อมหมายความเพียงว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดต่อลูกจ้างด้วยเท่านั้น แต่ในการพิจารณาการใช้สิทธิไล่เบี้ย ตามมาตรา 12 ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความว่า ผู้ใดอาจถูกใช้สิทธิไล่เบี้ยโดยผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงซึ่งได้จ่ายเงินไปได้บ้าง ซึ่งผู้ที่อาจถูกใช้สิทธิไล่เบี้ยได้คือผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างก็คือ ก. เท่านั้น

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกสภาทนายความเดินหน้า เข้าพบอัยการสูงสุดเพื่อหารือแนวทางในการทำงานร่วมกันในกระบวนการยุติธรรม เกี่ยวกับการดำเนินคดีในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงานอัยการสูงสุด : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายสุชาติ ชมกุล อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ และนายอุทัย ไสยสาลี หัวหน้าสำนักงาน สภาทนายความ เข้าพบอัยการสูงสุด โดยมีนายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง อธิบดีสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เป็นผู้แทน เพื่อหารือแนวทางในการทำงานร่วมกันในกระบวนการยุติธรรม เกี่ยวกับการดำเนินคดีในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก และความร่วมมือต่าง ๆ ระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดกับสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชน

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้รับข้อมูล ข้อเสนอแนะและคิดเห็นแนวทางในการทำงานร่วมกัน สภาทนายความจะได้นำข้อสรุปจากการหารือในที่ประชุมเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาของเพื่อนสมาชิกทนายความต่อไป

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3339.บ้านพังเพราะการก่อสร้างไม่ดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4196/2566 ผู้มีวิชาชีพในการก่อสร้างตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 227 ป.อ. มิได้นิยามคำว่า ผู้มีวิชาชีพไว้ จึงต้องถือตามความหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไปตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งให้ความหมายของคำว่า วิชาชีพ รวมกับคำว่า วิชา หมายถึงผู้ที่มีอาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ ความชำนาญ หรือผู้ที่มีความรู้ซึ่งอาจได้จากการเล่าเรียนโดยตรง หรือจากการทำงานอันเป็นการฝึกฝนในการประกอบอาชีพเป็นปกติธุระก็ได้ กรณีจึงไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่เล่าเรียนมาโดยตรงเพื่อเป็นสถาปนิกหรือวิศวกรเท่านั้น แต่หมายรวมถึงผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ ในการทำงานอันได้รับการฝึกฝนจากการประกอบอาชีพตามปกติด้วย เมื่อจำเลยประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างมาเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยจึงเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญ ในการก่อสร้างซึ่งเกิดจากการทำงานรับเหมาก่อสร้างอันเป็นการประกอบอาชีพเป็นปกติธุระ และเป็นผู้มีวิชาชีพในการก่อสร้างตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว

(หมายเหตุ 1 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2547 โจทก์ร่วมใช้แบบแปลนและรายการประกอบแบบที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ในการว่าจ้างให้จำเลยก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุในราคา 850,000 บาท

2 จำเลยก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อประมาณปลายปี 2548 โจทก์ร่วมพร้อมครอบครัวเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารดังกล่าว

3 วันที่ 30 เมษายน 2562 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา อาคารที่เกิดเหตุได้วิบัติพังทลายลงมาทั้งหลังทับบุคคลในครอบครัวของโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้สามีโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กายสาหัส บุตรได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กาย อาคารที่เกิดเหตุได้รับความเสียหายทั้งหมด

4 ผลการตรวจพบว่าอาคารที่ก่อสร้างจริงไม่ตรงตามแบบแปลนที่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหลายรายการ สาเหตุการพังทลายของอาคารเกิดจากการก่อสร้างตำแหน่งเสาตอม่อและการเสริมเหล็กไม่ตรงตามที่แบบแปลนกำหนด ทำให้การรับน้ำหนักของตัวอาคารเกิดความไม่สมดุลเป็นเหตุให้เกิดการวิบัติของโครงสร้างอาคารพังทลายลงมา

5 พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 227, 238

6 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 227 ประกอบมาตรา 238 วรรคแรกและวรรคสอง จำคุก 20 ปี และให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 1,640,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน

7 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อจำเลยเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุ ย่อมทราบดีว่าหากจะเริ่มก่อสร้างต้องตรวจดูสภาพพื้นที่จริงและแบบแปลนที่จะใช้ก่อสร้างว่า สภาพที่ดินมีลักษณะตรงตามแบบแปลนหรือไม่ และหากยังมีเรื่องใดที่ทำให้ที่ดินยังไม่มีความสมบูรณ์ปลอดภัยพร้อมจะก่อสร้างให้ถูกต้องตรงตามแบบแปลน จำเลยต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นเสียก่อน รวมทั้งวัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นปูน เหล็ก และวัสดุอื่น ๆ ต้องใช้ให้ได้ขนาดตามที่แบบแปลนกำหนดไว้ เพราะโจทก์ร่วมได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างตามแบบแปลนที่เจ้าพนักงานพิจารณาแล้ว ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยและผู้อื่น

8 และมีคำวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้น โดยพิพากษาแก้เป็นว่า มีเหตุบรรเทาโทษ คงจำคุก 15 ปี)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3338.ผู้เยาว์ยินยอมให้อนาจาร ผู้กระทำก็มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2566 แม้ได้ความจาก ส. เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า เมื่อจำเลยมาชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปดูโทรทัศน์ ผู้เสียหายที่ 1 ถามพยานว่าให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปหรือไม่ ตอนแรกพยานไม่ยอมให้ไป เมื่อผู้เสียหายที่ 1 รบเร้าพยานจึงอนุญาต แต่การอนุญาตดังกล่าวก็เป็นการอนุญาตให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านของจำเลยเท่านั้น มิใช่อนุญาตให้ไปกระทำการที่ไม่สมควรทางเพศ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านของจำเลยและกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 พฤติการณ์ของจำเลยจึงบ่งชี้แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาพาผู้เสียหายที่ 1 จากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่งเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่าเป็นการพาไปหรือแยกผู้เสียหายที่ 1 ออกจากการปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ทำให้การปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจากเหตุอันสมควร เพื่อการอนาจารตามฟ้อง

(หมายเหตุ 1 คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับให้ยกฟ้องและยกคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของผู้ร้องทั้งสอง

2 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็ก ขณะเกิดเหตุอายุเพียง 8 ปีเศษ แต่เบิกความถึงเหตุการณ์ที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 เป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับตรงไปตรงมา ยากที่เด็กทั่ว ๆ ไปซึ่งมิได้ประสบเหตุการณ์มาก่อนจะสามารถเบิกความได้เช่นนั้น

3 และศาลฎีกายังวินิจฉัยว่า แม้จำเลยจะเบิกความว่า ในวันที่ 23 ธันวาคม 2562 ไม่มีการสอบปากคำจำเลยหรืออ่านข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ในคดีนี้ให้จำเลยฟัง ทำนองว่าจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ในชั้นสอบสวนตามเอกสารหมาย จ.12 ด้วยความสมัครใจ แต่จำเลยก็เบิกความรับว่าลายมือชื่อในเอกสารหมาย จ.12 เป็นลายมือชื่อของจำเลย ทั้งยังเบิกความตอบโจทก์ถามค้านรับว่า บันทึกคำให้การมีลายมือชื่อนาง ด. ภริยาจำเลยอยู่ด้วย

4 ศาลฎีกาจึงได้มีคำวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้น โดยพิพากษากลับเป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น (ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 6 ปี)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ประกาศสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ📣

ประกาศสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ📣

รับสมัครอบรม 【 ฟรี 】🚩

🌟 สำหรับบุคคลทุกสาขาอาชีพ

 

👉 เรื่อง “การดำเนินคดีเช่าซื้อ”

 

—เชิญพบกับ—

 

🔶️ ดร.วิเชียร ชุบไธสง

นายกสภาทนายความ

 

🔶️ นายปฏิกรณ์ คงพิพิธ

ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลอุทธรณ์ภาค 1

 

🔶️ ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร

อุปนายกฝ่ายวิชาการ สภาทนายความ

 

🗓️ วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567

⏰ เวลา 13.00 – 16.00 น.

📍 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

 

 

การลงทะเบียนมี 2 ช่องทาง 🔖

🪑 Onsite

🌎 Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/6EdUR2ojJDqXYRtG8

—————————

 

🪑 Online

🌎 Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/d1SBMJZSq2geuN5X6

—————————

👉ติดต่อสอบถาม คุณพิมพ์ฉวี คุณจิดาภา ☎️ 06 4291 4640

 

⚖___________ ⚖

คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.)   หารือสภาทนายความเตรียมลงนาม MOU การทำงานร่วมกัน 

คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) หารือสภาทนายความเตรียมลงนาม MOU การทำงานร่วมกัน 

เมื่อวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 เวลา 12.00 น. ณ ห้องรับรอง สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายสุนทร พยัคฆ์ เลขาธิการสภาทนายความและในฐานะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้การต้อนรับ พลตำรวจโท สรศักดิ์ เย็นเปรม ประธานกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ(ก.ร.ตร.) นางสมศรี หาญอนันทสุข และ พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร กรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) เพื่อหารือเรื่องการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ กับสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์