เปิดการอบรมวิชาการ เรื่อง “บทบาททนายความกับกฎหมายแรงงาน” ผ่านระบบ Onsite และ Online โปรแกรม Zoom

 

เมื่อวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมวิชาการ เรื่อง “บทบาททนายความกับกฎหมายแรงงาน” ผ่านระบบ Onsite และ Online โปรแกรม Zoom

โดยมี ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร อุปนายกฝ่ายวิชาการ เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีนายสงคราม สกุลพราหมณ์ อุปนายกฝ่ายบริหาร นายสฤษดิ์ เจียมกมล เหรัญญิก นายชยธวัช อติแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ และนายวิทยา จงวรกุล กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการอำนวยการสถาบันวิชาชีพกฎหมายชั้นสูง เข้าร่วมงานด้วย ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายไพบูลย์ ธรรมสถิตมั่น ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแรงงาน บรรยาย หัวข้อ การเลิกจ้าง การลาออกที่ถูกต้องตามกฎหมาย การบริหารงาน HR และการดำเนินคดีในศาลแรงงาน มีทนายความสนใจเข้าร่วมรับการอบรมระบบ Online จำนวน 1,400 คน และ Onsite เป็นจำนวน กว่า 300 คน

แลกเปลี่ยนมุมมอง ระหว่างสภาทนายความ ต่อการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ ให้แก่ข้าราชการตำรวจ”

เมื่อวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2567 เวลา 14.00 น. ที่ห้องแคทลียา โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ “มุมมองของสภาทนายความ ต่อการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ ให้แก่ข้าราชการตำรวจ” ในสังกัดสำนักงานจเรตำรวจระดับ รองผู้บังคับการ-สารวัตร จำนวน 186 คน ในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) ของสำนักงานจเรตำรวจ ประจำปีงบประมาณ 2567

โดย ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้บรรยายเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของ ก.ร.ตร. กับการพิจารณาคดีมรรยาททนายความของสภาทนายความ เกี่ยวกับกระบวนการไต่สวนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจและมรรยาททนายความให้เป็นมาตรฐาน และเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน โดยมีนายสุนทร พยัคฆ์ เลขาธิการสภาทนายความ ในฐานะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ นางสมศรี หาญอนันทสุข กรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ พลตำรวจโท เรวัช กลิ่นเกษร กรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ ให้การต้อนรับ

สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สภาทนายความภาค 5 สภาทนายความจังหวัดแพร่ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ (ฟรี)

📣 ประกาศสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ 📣

 

⚖️ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สภาทนายความภาค 5 สภาทนายความจังหวัดแพร่ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ⚖️

 

【 ฟรี 】🚩

🌟 เปิดอบรมวิชาการสัญจร จังหวัดแพร่

⚖️ เพื่อทนายความและเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชน

 

🔻เรื่อง🔻

👉 การดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ (ภาคปฏิบัติ)

👉 การดำเนินคดีปกครอง

👉 ตอบข้อซักถามของประชาชน

 

—- เชิญพบกับ—-

 

🔶 ดร.วิเชียร ชุบไธสง

นายกสภาทนายความ

 

🔶 นายพรศักดิ์ สังข์สังวาลย์

กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 5

 

🔶 นายอุเทน สุขทั่วญาติ

ประธานสภาทนายความจังหวัดแพร่

 

📆 วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม 2567

⏱ เวลา 08.30 -12.00 น.

📍 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

 

👉ติดต่อสอบถาม คุณพิมพ์ฉวี คุณจิดาภา ☎️ 06 4291 4640

🌏 Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/yzRxYWdGRdSBLEBt5

 

⚖___________ ⚖

 

ประชาสัมพันธ์”ประกาศสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ📣รับสมัครอบรม 【 ฟรี 】🚩

ประกาศสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ📣

 

รับสมัครอบรม 【 ฟรี 】🚩

 

🌟 สำหรับบุคคลทุกสาขาอาชีพ

 

👉 เรื่อง “การดำเนินคดีเช่าซื้อ”

 

—เชิญพบกับ—

 

🔶️ ดร.วิเชียร ชุบไธสง

นายกสภาทนายความ

 

🔶️ นายทองธาร เหลืองเรืองรอง

อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาอาวุโส ในศาลอุทธรณ์

 

🔶️ ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร

อุปนายกฝ่ายวิชาการ สภาทนายความ

 

🗓️ วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567

⏰ เวลา 13.00 – 16.00 น.

📍 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

 

 

การลงทะเบียนมี 2 ช่องทาง 🔖

🪑 Onsite

🌎 Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/6EdUR2ojJDqXYRtG8

—————————

 

🪑 Online

🌎 Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/d1SBMJZSq2geuN5X6

—————————

👉ติดต่อสอบถาม คุณพิมพ์ฉวี คุณจิดาภา ☎️ 06 4291 4640

 

⚖___________ ⚖

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

  • ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

3343.ลูกจ้างสมัครใจลงชื่อท้ายหนังสือเลิกจ้าง เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3805/2566 (เล่ม 7 หน้า 182) ขณะที่โจทก์สมัครใจลงลายมือชื่อท้ายหนังสือเลิกจ้าง โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าถูกจำเลยเลิกจ้างอย่างแน่นอน โจทก์มีอำนาจในการตัดสินใจโดยไม่อยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลย ซึ่งเป็นนายจ้างอีกต่อไป โจทก์ทราบถึงจำนวนค่าจ้างซึ่งนำเพียงฐานเงินเดือนเท่านั้นที่นำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์และพอใจในจำนวนเงิน 198,236.95 บาท ซึ่งจำเลยเสนอให้ เป็นอย่างดี โจทก์จึงขอรับเงินตามที่จำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์โดยโจทก์จะไม่ดำเนินการเรียกร้องเงินหรือค่าเสียหายใดๆ เกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติมจากจำเลยอีกและขอสละสิทธิทั้งหลายที่โจทก์พึงมีต่อจำเลยในเรื่องดังกล่าวทั้งสิ้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาซึ่งโจทก์และจำเลยตกลงระงับข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีแก่กันให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามที่ตกลงกันดังกล่าว จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลย

ในขณะที่จำเลยทำข้อตกลงกับโจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิเสนอข้อตกลงที่นำเพียงฐานเงินเดือนที่จำเลยเข้าใจว่าเป็นค่าจ้างมาคิดคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์พิจารณาได้ การเสนอข้อตกลงจ่ายเงินดังกล่าวของจำเลยจึงหาใช่เป็นการกระทำโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อเสนอที่มุ่งเอาเปรียบโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต่ำกว่าที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไม่ ข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอม ยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมีผลสมบูรณ์หาได้ขัดต่อ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะส่งผลให้เป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3342.ข้อตกลงที่กำหนดวันทำงานล่วงหน้า ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597- 602/2566 (เล่ม 8 หน้า 35) สัญญาจ้างแรงงานข้อ 2. การปฏิบัติงาน ข้อ 2.1 กำหนดไว้ว่าเวลาปฏิบัติงานปกติให้ถึงเวลาที่กำหนดโดยนายจ้าง ข้อ 2.2 ค่าจ้างล่วงเวลาให้ถือเวลาที่นอกเหนือจากการทำงานปกติ ซึ่งตามเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างแรงงานในข้อ 1 ค่าจ้างแรงงาน ได้ระบุไว้ว่าข้อ 1.1 เวลาทำงานปกติอัตราค่าจ้างต่อวัน (8 ชั่วโมง) วันละ…….บาท อัตราค่าจ้างล่วงเวลา (4 ชั่วโมง) วันละ………บาท จึงเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 กำหนดให้ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ทำงานล่วงเวลาในวันทำงานทุกวันไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ขณะทำสัญญาจ้างแรงงาน การกำหนดในลักษณะดังกล่าวเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้นายจ้างต้องขอความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆไป ก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาในวันทำงานตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ต้องทำงานล่วงเวลาในวันทำงานไว้ล่วงหน้าวันละ 4 ชั่วโมง เป็นการขัดต่อมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ ย่อมไม่อาจนำสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 กับจำเลยที่ 1 มารับฟังทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดเวลาการทำงานปกติและเวลาการทำงานล่วงเวลาได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 วรรคหนึ่ง กำหนดเวลาการทำงานปกติให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ทำงานเป็นกะ กะละ 12 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งการกำหนดเวลาการทำงาน ปกติดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดที่สอดคล้องกับกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎกระทรวงฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยกฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดให้งานในกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม รวมตลอดถึงงานซ่อมบำรุง และงานให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับงานดังกล่าว เฉพาะที่ทำในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน กำหนดเวลาทำงานปกติ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงาน แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง การที่จำเลยที่ 2 กำหนดเวลาการทำงานปกติ ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง โดยโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ตกลงทำงานตามที่จำเลยที่ 2 กำหนดไว้แล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 7 มีเวลาทำงานในวันทำงานปกติวันละ 12 ชั่วโมง มิใช่มีเวลาทำงานในวันทำงานปกติวันละ 8 ชั่วโมง และทำงานล่วงเวลาในวันทำงานวันละ 4 ชั่วโมง ตามที่ระบุไว้ ในสัญญาจ้างแรงงานของโจทก์ดังกล่าวแต่อย่าง ใด ดังนั้น เงินที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ได้รับจากการทำงานในเวลาการทำงานปกติวันละ 12 ชั่วโมง จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายวันเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 จึงต้องนำมาเป็นฐานในการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างโดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะเรียกเงินที่จ่ายให้โจทก์ที่ 2 ถึง 7 ในช่วงระหว่างการทำงาน 4 ชั่วโมงสุดท้ายของวันว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่ก็ตาม

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการอบรม หลักสูตร “ล่ามในกระบวนการยุติธรรม” รุ่นที่ 3

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 เวลา 16.30 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการอบรม หลักสูตร “ล่ามในกระบวนการยุติธรรม” รุ่นที่ 3

 

โดยมี นางสาวศรินทร เลืองวัฒนะวณิช อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ นายทักษะ อรเอก กรรมการกิจการระหว่างประเทศ กล่าวรายงาน นางสาวจุฑาทิพย์ ลิ้มพงษ์ประเสริฐ กรรมการสำนักงานกิจการระหว่างประเทศ ผู้ดำเนินรายการ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก อาจารย์เสฏฐศิริ เธียรพิรากุล อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการคดีค้ามนุษย์ นางสาวศิริพร เมืองศรีนุ่น กรรมการสำนักงานกิจการระหว่างประเทศ และนายชัยณรงค์ บุญสันติ์ ซึ่งได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรศาลจำลองในการอบรมครั้งนี้

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3341.ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสจากนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2566 (เล่ม 8 หน้า 122) โจทก์เป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงของจำเลยที่ 2 ทำงานในส่วนการผลิตเช่นเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 2 กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ”

เงินโบนัสถือเป็นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ แม้การจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงาน ท. ซึ่งมีลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเป็นจำนวนไม่ถึงสองในสามส่วนของลูกจ้างทั้งหมด ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยที่ 2 แล้วเจรจาตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวกันไว้ว่า จำเลยที่ 2 ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่พนักงานตามหลักเกณฑ์การประเมินผลงานของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 และสหภาพแรงงาน ท. ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเช่นนี้ตลอดมาทุกปีตั้งแต่โจทก์ทำงานกับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผลผูกพันเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ท. แต่จำเลยที่ 2 จ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงทุกคน ไม่ใช่จ่ายให้แก่ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ท.เท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงซึ่งทำงานในส่วนงานผลิตเช่นเดียวกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 2 และไม่ได้มีลักษณะเป็นลูกจ้างทดลองงาน จึงถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติตามมาตรา 11/1 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จำเลยที่ 2 จึงต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

แนะแนวก่อนสอบ สำหรับผู้ที่สอบวิชาว่าความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 63 พร้อมให้ความรู้และเทคนิคในการทำข้อสอบ

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2567 เวลา 16.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีปิดการแนะแนวก่อนสอบ สำหรับผู้ที่สอบวิชาว่าความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 63 พร้อมให้ความรู้และเทคนิคในการทำข้อสอบ

นอกจากนี้ยังมี นายสวัสดิ์ เจริญผล กรรมการฝ่ายวิชาการ นายสยุม ไกรทัศน์ กรรมการฝ่ายวิชาการ และนางสาวอัจฉรา แสงขาว กรรมการทดสอบสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความพร้อมคณะทำงาน เป็นผู้ให้ความรู้แก่นักศึกษาผู้เข้ารับการฝึกอบรมวิชาว่าความ โดยมีผู้สนใจเข้ารับฟังคำแนะแนวกว่า 600 คน ซึ่งจะสอบในวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

สภาทนายความ จัดการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมสัมพันธไมตรีของหน่วยงานที่อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เนื่องในวันรพี ประจำปี 2567

สภาทนายความ จัดการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมสัมพันธไมตรีของหน่วยงานที่อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เนื่องในวันรพี ประจำปี 2567

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2567 เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป ที่สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เนื่องในวันรพี ประจำปี 2567 โดยมีนายไพบูลย์ แย้มเอม อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยนักกีฬาจากทีมต่างๆ จากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเข้าร่วมงาน

สำหรับการแข่งขันฟุตบอลในครั้งนี้ มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 16 ทีม ประกอบด้วย

1. ทีมทนายความจังหวัดมีนบุรี

2. ทีมสภาทนายความภาค 1

3. ทีมสโมสรฟุตบอลทนายความมีนบุรี

4. ทีมทนายความมหานคร

5. ทีมสภาทนายความ

6. ทีมผู้พิพากษา

7. ทีมสโมสรทนายความจังหวัดชลบุรี

8. ทีมชมรมทนายความรัชดา

9. ทีมทนายความจังหวัดชลบุรี

10. ทีมอัยการ

11. ทีม Lawyer All Stars

12. ทีมชมรมทนายความอาสา

13. ทีมสมาคมนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

14. ทีมชมรมทนายความอีสาน

15. ทีมทนายความคลองสามวา

16. ทีม Pattaya City

เพื่อให้บุคคลากรในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมได้แสดงความสามารถทางทักษะด้านกีฬา รวมทั้งปลูกฝังให้มีน้ำใจนักกีฬา ส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรง และสร้างความสามัคคีของบุคลากรในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม