ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3362.ประวิงการขายทอดตลาดต้องใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2566 (เล่ม 9 หน้า 141) แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งความคืบหน้าของคดีที่ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์ได้ไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานที่ทำการใหม่ คือ เลขที่ 124 ซึ่งเป็น บ้านพักอาศัยของกรรมการและที่ตั้งของผู้ร้องตามหนังสือรับรองก็ตาม แต่ในคำร้องดังกล่าวผู้ร้องระบุอ้างแต่เพียงว่า มี เหตุขัดข้องได้การแจ้งให้ผู้ร้องทราบผลคดี ทำให้ทราบในระยะเวลากระชั้นชิดเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะให้ที่อยู่ที่แจ้ง มาเป็นภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานแต่เพียงแห่งเดียวของผู้ร้องแต่อย่างใด กรณีจึงยังต้องถือว่าอาคารเลขที่ 13/47 เป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของผู้ร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 69 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งประกาศขายทอดตลาดใหม่ครั้งที่ 2 ให้แก่ผู้ร้องที่อาคารเลขที่ 13/47 ดังกล่าว โดยวิธีปิดหมายจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ยึดเงินมัดจำ ศาลชั้นต้นเห็นว่ากรณีมีพยานหลักฐาน เบื้องต้นแสดงว่า คำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า จึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินหรือหลักประกัน เพื่อประกันความเสียหาย ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลชั้นต้นจึงยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคห้า (เดิม) แต่ผู้ร้องกลับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ทั้งๆที่คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดแล้ว ซึ่งที่สุดแล้ว ศาลฎีกาได้มีคำสั่งไม่รับฎีกาและพิพากษายกฎีกา หลังจากนั้นผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดใหม่ ครั้งที่ 2 นัดวันที่ 20 ตุลาคม 2559 อีก แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน และศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกาและไม่รับฎีกาของผู้ร้อง พฤติการณ์ของผู้ร้องที่ดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัท ค. ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดใหม่ครั้งที่ 2 ต้องขยายระยะเวลาวางเงินออกไปและไม่อาจนำเงินที่เหลือมาวางชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถจ่ายเงินให้แก่โจทก์ได้ ดังนี้ ถือเป็นการประวิงให้ชักช้า โดยไม่มีมูล มีผลให้การขายทอดตลาดไม่เสร็จสิ้น และผู้ซื้อทรัพย์รายใหม่ไม่อาจชำระราคาทรัพย์พิพาทอันเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ร้องได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่ และเมื่อก่อให้เกิดความเสียหายผู้ร้องจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

(หมายเหตุ 1 คดีนี้ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยอ้างว่าการกระทำของผู้ร้องเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะผู้ร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยไม่มีมูลและประวิงคดี โจทก์ต้องจ้างทนายความและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นเงิน 255,809 บาท คิดค่าเสียหายโดยให้ผู้ร้องชดใช้เป็นดอกเบี้ยผิดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นเงินประมาณ 13 ล้านบาทเศษ

2 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นดอกเบี้ย แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า หากได้รับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว โจทก์จะได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์หรือเงินฝากประจำที่ธนาคารพาณิชย์จ่ายให้แก่โจทก์ในอัตราเท่าใด อย่างไร จึงเห็นควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนตัวนี้ให้โจทก์ 10 ล้านบาท

3 ส่วนค่าทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีพร้อมดอกเบี้ยนั้น โจทก์นำสืบใบเสร็จรับจ่ายเงินแต่บางรายการเป็นค่าใช้จ่ายแบบเหมารวม จึงควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์เป็นเงิน 1 แสนบาท และศาลฎีกามีคำวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้น)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกฯ รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายในหัวข้อ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00-10.30 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 7 ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายในหัวข้อ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งได้รับการต้อนรับจากนายพูนศักดิ์ วาณิชวิเศษกุล อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร กรรมการชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย

โดยมีนายศิริศักดิ์ อมาตยกุล ประธานสภาทนายความจังหวัดนนทบุรี และนางสาวมาลินี วัชราสิน ประธานทนายความรุ่น 59 เป็นผู้ดำเนินรายการ ในการอบรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ และเพิ่มศักยภาพ ตลอดจนความรู้เพิ่มเติม เพื่อการนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพทนายความ

 

 

นายกสภาทนายความได้รับเชิญจากช่อง 9 อสมท. รายการบ่ายนี้มีคำตอบ” ในช่วงประเด็น ”ภารกิจบทบาทหน้าที่การทำงานของสภาทนายความในภาพรวม

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 – 13.45 น. ที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ช่อง 9 : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้รับเชิญไปออกรายการ “บ่ายนี้มีคำตอบ” ในช่วงประเด็น ”ภารกิจบทบาทหน้าที่การทำงานของสภาทนายความในภาพรวม”

ดำเนินรายการโดย คุณธีระวัฒน์ พึ่งทอง และคุณสุตา สุธีพิเชฐภัณฑ์ ในรายการ บ่ายนี้มีคำตอบ ของวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 13.00 – 13.45 น.

https://www.facebook.com/share/v/gidTM9YDdPgV6Cm5/?

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3361.ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรม แต่เพิกถอนไม่ได้ ศาลมีอำนาจให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432 – 433/2567 แม้โจทก์ที่ 1 มีเพียงคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมต่าง ๆ ระหว่างจำเลยทั้งสี่โดยมิได้มีคำขอให้ใช้ราคาที่ดินทั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อศาลไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเพื่อให้ที่ดินทั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของโจทก์ที่ 1 ได้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาที่ดินทั้งสองแปลงตามราคาที่ดินที่คู่ความแถลงรับกันแก่โจทก์ที่ 1 ได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

(หมายเหตุ 1 คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกโจทก์สำนวนแรกว่า โจทก์ที่ 1 เรียกจำเลยในสำนวนที่สองว่า โจทก์ที่ 2 เรียกจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 สำนวนแรกว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 และเรียกจำเลยที่ 3 สำนวนแรกและโจทก์สำนวนที่สองว่า จำเลยที่ 3

2 เดิมโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดสองแปลง เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2557 โจทก์ที่ 1 กู้เงินจำเลยที่ 1 จำนวน 230,000 บาท โดยนำโฉนดที่ดินแปลงที่หนึ่งมอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โจทก์ที่ 1 ลงชื่อในเอกสารหลายฉบับรวมทั้งแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้จำเลยที่ 1 ด้วย

3 ต่อมาเดือนธันวาคม 2558 โจทก์ที่ 1 ขอกู้เงินจากจำเลยที่ 1 เพิ่มอีก 400,000 บาท โดยโจทก์ที่ 1 นำโฉนดที่ดินแปลงที่สองมอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้

4 หลังจากนั้นโจทก์ที่ 1 ตรวจสอบโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 กรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจว่าโจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขายที่ดินตามสำเนาโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 5 วันที่ 6 สิงหาคม 2557 จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนขายที่ดินตามสำเนาโฉนดที่ดินแปลงที่หนึ่ง ให้แก่จำเลยที่ 1

6 วันที่ 8 สิงหาคม 2557 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายฝากที่ดินแปลงที่หนึ่งให้แก่จำเลยที่ 4

7 วันที่ 18 ธันวาคม 2558 จำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนขายที่ดินตามสำเนาโฉนดที่ดินแปลงที่สอง ให้แก่จำเลยที่ 2

8 วันที่ 22 ธันวาคม 2558 จำเลยที่ 2 จดทะเบียนขายฝากที่ดินแปลงที่สองให้แก่จำเลยที่ 4

9 วันที่ 29 มกราคม 2559 จำเลยที่ 2 ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินแปลงที่สองแล้วจดทะเบียนขายฝากให้แก่จำเลยที่ 3 ในวันเดียวกัน

10 วันที่ 17 ตุลาคม 2562 จำเลยที่ 3 ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินโฉนดแปลงที่สองออกเป็นแปลงย่อย 7 แปลง ที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดแปลงที่สอง มีร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ของบุตรสาวและบุตรเขยของโจทก์ที่ 1 อยู่บนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกมาจากโฉนดที่ดินแปลงที่สอง โดยบุตรสาวและบุตรเขยของโจทก์ที่ 1 มอบหมายให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ดูแลร้าน

11 โจทก์ที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม กับข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ

12 คดีนี้ โจทก์ที่ 1 ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินไปยังจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกว่าเกิดจากการปลอมเอกสารการมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำนิติกรรมโดยไม่สุจริตและไม่ได้เสียค่าตอบแทน การที่โจทก์ที่ 1 ไม่บรรยายฟ้องไว้ให้เป็นประเด็นเพื่อนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำการโดยไม่สุจริต คดีนี้จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำการโดยไม่สุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ กรณีต้องฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำนิติกรรมโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

สถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ เปิดอบรมโครงการทนายความพี่เลี้ยง รุ่นที่ 19

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการทนายความพี่เลี้ยง รุ่นที่ 19 เรื่อง “การร่างคำฟ้อง การต่อสู้คดียาเสพติด กระบวนพิจารณาในคดีอาญา และการซักถาม ถามค้าน ถามติงในศาล จัดทำคำให้การ การยื่นคำร้อง และการจัดทำเอกสารต่างๆ และศิลปการถามความ”

โดยมี ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร อุปนายกฝ่ายวิชาการ เป็นผู้กล่าวรายงาน นายสยุม ไกรทัศน์ กรรมการฝ่ายวิชาการ เป็นผู้ดำเนินรายการ

นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ยังให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ การสอบข้อเท็จจริง การทำสัญว่าจ้างทนายความ การเสริมสร้างบุคลิกภาพ และ คณะทำงานโครงการทนายความพี่เลี้ยง บรรยายถ่ายทอดเรื่อง“การร่างคำฟ้อง การต่อสู้คดียาเสพติด กระบวนพิจารณาในคดีอาญา และการซักถาม ถามค้าน ถามติงในศาล จัดทำคำให้การ การยื่นคำร้อง และการจัดทำเอกสารต่างๆ และศิลปการถามความ” นอกจากนี้ยังมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการฝ่ายวิชาการสภาทนายความ จัดทำศาลจำลองเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทำหน้าที่เป็นทนายความทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3360.การให้สัตยาบันแก่นิติบุคคลที่กระทำนอกวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2566 ( เล่ม 9 หน้า 1) จำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไม่มีวัตถุประสงค์ การค้ำประกันการชำระหนี้ของผู้อื่นตามบทบัญญัติ แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 66 ผู้แทนนิติบุคคลต้องกระทำกิจการหรือนิติกรรมภายในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลจึงจะมีผลผูกพันนิติบุคคล เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่มีวัตถุประสงค์ในการค้ำประกัน หนี้ของผู้อื่น สัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 จึงเป็นเรื่องนอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ไม่มีผล ผูกพันจำเลยที่ 3 ให้ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว

การให้สัตยาบันแก่นิติกรรมที่นิติบุคคลกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล เป็นการให้การรับรองนิติกรรมที่ไม่มีผลผูกพันให้มีผลผูกพันนิติบุคคลและบังคับกันได้ซึ่งอาจกระทำโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย โดยสภาพการให้สัตยาบันจึงต้องกระทำภายหลังที่ได้กระทำนิติกรรมนั้นแล้ว กรณีไม่อาจถือเอาการกระทำนิติกรรมนั้นเองเป็นการให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นในขณะเดียวกันได้ มิฉะนั้นแล้วจะกลายเป็นว่า นิติกรรมที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลจะมีผลผูกพันนิติบุคคลนั้นทุกกรณี จึงมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายในการกำหนดวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลให้แตกต่างไปจากบุคคลธรรมดา การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ในสัญญาค้ำประกัน จึงไม่เป็นการให้สัตยาบันแก่การค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3360.การให้สัตยาบันแก่นิติบุคคลที่กระทำนอกวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2566 ( เล่ม 9 หน้า 1) จำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไม่มีวัตถุประสงค์ การค้ำประกันการชำระหนี้ของผู้อื่นตามบทบัญญัติ แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 66 ผู้แทนนิติบุคคลต้องกระทำกิจการหรือนิติกรรมภายในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลจึงจะมีผลผูกพันนิติบุคคล เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่มีวัตถุประสงค์ในการค้ำประกัน หนี้ของผู้อื่น สัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 จึงเป็นเรื่องนอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ไม่มีผล ผูกพันจำเลยที่ 3 ให้ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว

การให้สัตยาบันแก่นิติกรรมที่นิติบุคคลกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล เป็นการให้การรับรองนิติกรรมที่ไม่มีผลผูกพันให้มีผลผูกพันนิติบุคคลและบังคับกันได้ซึ่งอาจกระทำโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย โดยสภาพการให้สัตยาบันจึงต้องกระทำภายหลังที่ได้กระทำนิติกรรมนั้นแล้ว กรณีไม่อาจถือเอาการกระทำนิติกรรมนั้นเองเป็นการให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นในขณะเดียวกันได้ มิฉะนั้นแล้วจะกลายเป็นว่า นิติกรรมที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลจะมีผลผูกพันนิติบุคคลนั้นทุกกรณี จึงมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายในการกำหนดวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลให้แตกต่างไปจากบุคคลธรรมดา การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ในสัญญาค้ำประกัน จึงไม่เป็นการให้สัตยาบันแก่การค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3359.สำคัญผิดในราคาขายฝาก มิใช่เป็นการสำคัญผิดในการทำนิติกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2567 การที่ขณะทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท โจทก์เข้าใจว่าตกลงขายฝากที่ดินพิพาทเป็นเงิน 160,000 บาท ตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 มิใช่ 500,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาขายฝากเป็นกรณีโจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาขายฝาก แม้มิใช่การสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม หรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาที่ตกลงขายฝากย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมการขายฝากโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ศาลจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนการขายฝากที่ดินพิพาท

ส่วนเงินจำนวน 160,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะยึดถือเงินนั้นไว้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์คืนแก่จำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สำหรับเงินอีกจำนวน 340,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไปเป็นของตนเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องว่ากล่าวเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหาก

(หมายเหตุ 1 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 500,000 บาท มีกำหนดเวลา 1 ปี โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาจำนองและสัญญาขายฝาก

2 โจทก์ไม่ไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และต่อมาโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1

3 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 โจทก์ไปแจ้งแก่พนักงานสอบสวน ว่ามีปัญหาเรื่องการขายฝากที่ดิน พนักงานสอบสวนเรียกจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มาเจรจากับโจทก์และทำบันทึกข้อตกลงไว้ โดยจำเลยที่ 2 ทำบันทึกยอมรับว่า จำเลยที่ 1 โอนเงินที่รับซื้อฝากให้จำเลยที่ 2 เพื่อมอบให้โจทก์ครบตามจำนวนแล้ว แต่จำเลยที่ 2 มอบเงินให้โจทก์เพียง 160,000 บาท ส่วนอีก 340,000 บาท จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไป คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงทำสัญญารับใช้หนี้ 340,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ตกลงจะเป็นฝ่ายชำระภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 มีจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นพยาน

4 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำบันทึกตกลงว่า ให้จำเลยที่ 2 รับผิดชอบเงินจำนวน 340,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่จำเลยที่ 1 และให้โจทก์รับผิดชอบเงินจำนวน 160,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (ตามบันทึกที่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561) โดยชำระให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 เมื่อชำระครบแล้ว ฝ่ายจำเลยที่ 1 จะโอนที่ดินคืนแก่โจทก์

5 คดีนี้โจทก์นำสืบว่า โจทก์กู้เงินและทำสัญญาจำนองกับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 160,000 บาท แต่ทราบภายหลังว่าสัญญาที่ทำกันขึ้นนั้นเป็นสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท เป็นข้อนำสืบที่ขัดแย้งกับข้อกล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองหลอกลวงให้โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทในราคา 160,000 บาท ความจริงแล้วเป็นการขายฝากที่ดินพิพาทในราคา 500,000 บาท ข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้

6 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน

7 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์เข้าใจว่าสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทตกลงราคาขายฝากเป็นเงิน 160,000 บาท มิใช่ 500,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาขายฝากจึงเป็นกรณีโจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาขายฝาก แม้มิใช่การสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม หรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาที่ตกลงขายฝากย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมการขายฝากโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย พิพากษากลับให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3358.ขายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวน ผู้ซื้อไม่ได้สิทธิในที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2567 ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการเข้าอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินชั่วคราว ตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก จังหวัดเพชรบูรณ์ ฉบับที่ 410/2528 ตำบลทุ่งสมอ กิ่งอำเภอเข้าค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นที่ดินของรัฐที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยความเห็นชอบของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ใช้ที่ดินได้ออกหนังสือสำคัญให้ไว้เพื่อแสดงว่า บ. เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทชั่วคราว และต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดไว้ด้านหลังหนังสือรับรองทุกประการ ซึ่งรวมทั้งเงื่อนไขห้ามมิให้แบ่งแยกและโอนที่ดินที่ได้รับการจัดสรรให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่ตกทอดทางมรดก และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 กำหนดหลักการไว้ว่า ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตตามกฎหมาย การพิจารณาจะอนุญาตให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าไปทำประโยชน์หรืออาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ต้องพิจารณาโดยเคร่งครัดตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ บุคคลที่จะเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติจะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้น เมื่อ บ. เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทชั่วคราว จึงไม่สามารถโอนสิทธิดังกล่าวให้บุคคลอื่นได้ การที่ บ. ขายและโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่ ว. และต่อมา ว. ทำสัญญาซื้อขายและโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 1 ดังที่โจทก์และจำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง จึงเป็นการทำนิติกรรมเปลี่ยนตัวผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทชั่วคราวตามที่ บ. ได้รับอนุญาตให้แก่บุคคลอื่น สัญญาดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์หรือจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยและทำกินในที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดิน และกิจการรีสอร์ตพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองให้ส่งมอบการครอบครองที่ดินและกิจการรีสอร์ตพิพาทคืนแก่โจทก์ และห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินและกิจการรีสอร์ตพิพาท ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 252 จำเลยที่ 2 ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทชั่วคราวตามโครงการพัฒนากลุ่มน้ำเข็ก จังหวัดเพชรบูรณ์ ฉบับที่ 410/2528 จากผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงไม่มีสิทธิ์อยู่อาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทเช่นกัน และเป็นกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายต่อไป พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ให้ศาลชั้นต้นส่งสำเนาคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ทราบ

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

สภาทนายความฯ เปิดจัดอบรม ประกาศนียบัตรชั้นสูงกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ รุ่นที่ 2″ 

📣ประกาศสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ📣

⚖️ รับสมัครอบรมวิชาการ ⚖️👉 เรื่อง ” หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ รุ่นที่ 2″

▶️ ใช้เวลาอบรม 16 วัน ⏳ ( 96 ชั่วโมง) ◀️

— เชิญพบกับ —

🔶️ดร.วิเชียร ชุบไธสง

นายกสภาทนายความ ที่ปรึกษาหลักสูตร

🔶️ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร

อุปนายกฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตร

🔶️นายวีระพงศ์ สุดาวงศ์

ผู้พิพากษาศาลฎีกา

🔶️นายมนต์ชัย ชนินทรลีลา

ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์

🔶️นายณัฏฐ์พงษ์ สมศักดิ์

ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสมุทรสงคราม

🔶️นายพัลลภ เลิศชนะเรืองฤทธิ์  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเลย

🔶️นายอนุชา ฮุนสวัสดิกุล

อธิบดีศาลปกครองเพชรบุรี

🔶️นายรชต พนมวัน อัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 3

🔶️นายอรินทัต ศรีขจรลาภ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต

🔶️พ.ต.อ.ธงชัย กีรติธรรมากร

อัยการประจำสำนักงานอัยการ

🔶️นายคมคะเน หงส์ธนนันท์

อัยการผู้เชี่ยวชาญ

🔶️นายนิวัติไชย เกษมมงคล   เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

🔶️นางสาวอนงนาต ชีวานันทกุล  ผู้อำนวยการกองป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 3 สำนักงาน ป.ป.ท.

🔶️นางสาวชิยา ศิริรักษ์

ผู้อำนวยการกองปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 4

🔶️นายบดินทร์ กรีธาธร

ผู้อำนวยการสำนักคดีปราบปรามการทุจริต 1 สำนักงานคดี ปปช.

🔶️นายภูเทพ ณฐภณศรายุธ

เจ้าหน้าที่งานคดีชำนาญการพิเศษ ศาลแพ่งมีนบุรี

🔶️นางสาวนารีลักษณ์ แพไชยภูมิ

ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

🔶️นายประเสริฐ คชวงศ์

นิติกรชำนาญการ กรมบัญชีกลาง

🗓️ วันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ 14-15 ,21-22 ,28-29 กันยายน 5-6 ,19-20 ,26-27 ตุลาคม และ 2-3 พฤศจิกายน 2567

⏰ เวลา 08.30 – 16.00 น.

📍 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

🔹 ศึกษาดูงานนอกสถานที่ 🔹

📌 วันอังคารที่ 8 ตุลาคม 2567 : ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1

📌 วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2567 : ศาลปกครองกลาง

⭐ ผู้ผ่านการอบรมมีใบประกาศนียบัตรมอบให้เป็นเกียรติแสดงวิทยฐานะ

🌟 พร้อมขึ้นทะเบียนรายชื่อในเพจเฟสบุ๊กของสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

💎 ค่าสมัครท่านละ 48,500.- 💎

พร้อมเอกสาร + กระเป๋า + อาหารกลางวัน + อาหารว่าง

💰 ช่องทางการชำระเงิน 💰

บัญชีเลขที่ 948-0-19275-7

ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานใหม่

ชื่อบัญชี สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

👉ติดต่อสอบถาม คุณพิมพ์ฉวี และคุณจิดาภา ☎️ 064-291-4640

🌏 Link ลงทะเบียน Google https://forms.gle/LWhTDowjvy6Yjmjw5