ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

3376.เอาสมุดบัญชีเงินฝากและบัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายไปเพื่อไม่ให้ผู้เสียหายใช้เบิกถอนเงิน ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2566 (เล่ม 10 หน้า 1) ผู้เสียหายที่ 1 เป็นหนี้กู้ยืมเงินจำเลยที่ 1 แล้วไม่ผ่อนชำระตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 จึงมาทวงถามผู้เสียหายที่ 1 ให้ชำระหนี้ถึงบ้านที่เกิดเหตุ การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันเอาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ท. ของผู้เสียหายที่ 1 และสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. พร้อมบัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของผู้เสียหายที่ 1 ไป ก็เพียงประสงค์ที่จะเข้าควบคุมดูแลไม่ให้ผู้เสียหายทั้งสองสามารถนำสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือบัตรเอทีเอ็มไปใช้เบิกถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวได้อีกเมื่อมีเงินเข้ามาในบัญชีในภายภาคหน้า หากแต่ต้องนำมาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 เสียก่อน หาได้ประสงค์จะได้รับประโยชน์จากมูลค่าในทางทรัพย์สินของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร และบัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายทั้งสองด้วยการแย่งการครอบครองเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยเด็ดขาดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองกับพวกจึงยังไม่พอรับฟังว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริตหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น อันจะเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ ซึ่งเมื่อจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์เสียแล้วย่อมไม่มีความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ด้วย

(หมายเหตุ 1 ผู้เสียหายที่ 1 กู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 หลายครั้ง ต่อมาผู้เสียหายที่ 1 ลาออกจากบริษัท โดยจำเลยที่ 1 ไม่สามารถติดต่อผู้เสียหายที่ 1 ได้ และจำเลยที่ 1 สืบพบที่อยู่ของผู้เสียหายที่ 1

2 คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 พร้อมด้วยจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปภายในบริเวณบ้านของผู้เสียหายทั้งสอง เพื่อทวงถามหนี้เงินกู้ที่ผู้เสียหายที่ 1 ค้างชำระ

3 จำเลยที่ 1 ให้ผู้เสียหายที่ 1 ลบแอปพลิเคชั่นของธนาคารบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 และของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งผู้เสียหายที่ 1 ใช้ในการโอนเงินชำระหนี้กู้ให้แก่จำเลยที่ 1

4 จำเลยที่ 1 พูดข่มขู่ผู้เสียหายทั้งสองให้มอบสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารและให้ผู้เสียหายที่ 1 กรอกข้อความและลงลายมือชื่อในสัญญากู้ทั่วไป ให้ผู้เสียหายที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้

5 ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่ยังคงมีความผิด ฐานร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน และร่วมกันกรรโชก)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ด่วน ! สภาทนายความ เปิดรับสมัคร อบรมวิชาการ การดำเนินคดีทรัพย์สินทางปัญญา (รับจำกัด)

📢ประกาศสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ📣

⚖ เนื่องใน “วันสถาปนาสภาทนายความ ประจำปี 2567” ⚖

รับสมัครอบรมวิชาการ【 ฟรี 】🚩

🌟 หัวข้อ

👉 “การดำเนินคดีทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ”

— เชิญพบกับ—

🔶 ดร.วิเชียร ชุบไธสง

นายกสภาทนายความ

🔶 ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร

อุปนายกฝ่ายวิชาการ สภาทนายความ

🔶 ดร.คมน์ทนงชัย ฉายไพโรจน์

ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ

🗓️ วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567

⏰ เวลา 13.00 – 16.00 น.

📍 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

การลงทะเบียนมี 2 ช่องทาง 🔖

🪑 Online

🌏 Link ลงทะเบียน https://forms.gle/o6NCiWCyH7aRG8ja7

—————————

🪑 Onsite

🌏 Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/R9SmmfNjtA8FMXez9

—————————

👉ติดต่อสอบถาม คุณพิมพ์ฉวี และคุณจิดาภา ☎️ 06 4291 4640

 

⚖_______________⚖

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3374.กลุ่มออมทรัพย์ฯ ไม่เป็นบุคคลตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2567 เดิมโจทก์ใช้ชื่อกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นชื่อคู่ความ ต่อมาแก้ฟ้องใช้ชื่อ ส. กับพวก ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นคู่ความแทน เมื่อกลุ่มออมทรัพย์ฯ ไม่เป็นบุคคลตาม ป.พ.พ. จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ ดังนั้น ส. กับพวก ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ฯ จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แม้ ส. กับ จ. จะเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ ดังกล่าว แต่ก็มิได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัวจึงไม่สามารถมอบอำนาจให้ ภ. ดำเนินคดีแทนได้ เมื่อ ส. กับพวกไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ตามกฎหมายย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

(หมายเหตุ 1 คดีนี้โจทก์ตั้งฟ้องกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นจำเลย ไม่ได้ฟ้อง ส.กับพวกซึ่งเป็นกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ฯ เมื่อกลุ่มออมทรัพย์ฯ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จึงไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความกับโจทก์ได้

2 ต่อมาโจทก์ได้ขอแก้ไขฟ้องจากกลุ่มออมทรัพย์ฯ ให้เป็น ส.กับพวกเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกาก็วินิจฉัยว่า ส.กับพวกก็ไม่สามารถเป็นคู่ความกับโจทก์ในคดีนี้ได้ เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้อง ส.กับพวกในฐานะส่วนตัว)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

สภาทนายความยื่นมือให้การช่วยเหลือตัวแทนครู 40 คน จากผู้เสียหายทั่วประเทศกว่า 100,000 คน กรณีมีมือดีปลอมเอกสารกู้เงินธนาคารกลับไม่ได้รับเงิน แถบยังถูกดำเนินคดีด้วย

เมื่อวันพุธที่ 4 กันยายน 2567 เวลา 11.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมถ์ : กลุ่มผู้เสียหายจำนวนมากถูกธนาคารฟ้องเท็จและใช้เอกสารปลอมในการฟ้องลูกหนี้ กู้เงินธนาคารแล้วไม่ได้รับเงิน และตัวแทนกลุ่มครูกว่า 40 คน ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมพร้อมครูทั่วประเทศกว่า 100,000 คน ได้รับผลกระทบเนื่องจากการถูกหักเงินจากสหกรณ์จนไม่เหลือในการประทังชีวิตเดินทางมาร้องขอความเป็นธรรมให้สภาทนายความช่วยเหลือทางกฎหมาย

โดยมี ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายสุชาติ ชมกุล อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ นายวรกร ไหลหลั่ง ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนคนพิการทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส ร่วมรับเรื่องร้องเรียน

รับสมัครอบรมทางวิชาการ เรื่อง ” กฎหมายที่ดิน รุ่นที่ 2 (รับจำนวนจำกัด)

 

📢ประกาศสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ📢

⚖ รับสมัครอบรมทางวิชาการ ⚖

👉 เรื่อง ” กฎหมายที่ดิน รุ่นที่ 2 ”

▶ สิทธิครอบครองและกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน

▶ การได้สิทธิครอบครอง ภ.บ.ท. 5, ส.ค. 1 และ น.ส. 3

▶ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน

▶ การคัดค้านการออกโฉนดที่ดิน

▶ การเพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดิน

—เชิญพบกับ—

🔶 ดร.วิเชียร ชุบไธสง

นายกสภาทนายความ

🔶 ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร

อุปนายกฝ่ายวิชาการ สภาทนายความ

▶ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ◀

🔹 นายสุรพล ศรีวิโรจน์

อดีตรองอธิบดีกรมที่ดิน อาจารย์ผู้บรรยายกฎหมายที่ดิน

📆 วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2567 และ วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2567

⏱ เวลา 09.00 – 16.00 น.

📍 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

💵 ค่าสมัครอบรม 💵

▶️ ทนายความ ท่านละ 4,000 บาท

▶️ บุคคลภายนอก ท่านละ 6,000 บาท

💥รับจำนวน 100 คนเท่านั้น💥

💰 ช่องทางการชำระเงิน 💰

ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานใหม่

ชื่อบัญชี สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

บัญชีเลขที่ 948-0-19275-7

📌 หมายเหตุ

กรณีต้องการออกใบเสร็จรับเงินในนามบริษัทกรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่

👉 ติดต่อสอบถาม คุณพิมพ์ฉวี คุณจิดาภา

☎️ 06 4291 4640

1.🌏 Link ลงทะเบียน Google Forms : https://forms.gle/xX1qJ6rLGpab6HHy7

⚖_______________⚖

 

 

ฎีกาเด่นรายวัน โดยที่ปรึกษานายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

 

3373.เงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์เป็นหนี้เงิน ที่จะต้องมีดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2567 เงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เงินอย่างหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดให้แก่โจทก์ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว” โดยคำเตือนในกรณีนี้คือการทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับและการทวงถามนั้นโจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เสียก่อนจึงจะถือว่าเป็นคำเตือนโดยชอบ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามที่โจทก์ทวงถามแล้วจึงจะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนจากจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือที่ ชม 0025/0144 เรื่อง คำสั่งประโยชน์ทดแทน ลงวันที่ 6 มกราคม 2554 แจ้งโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พิจารณาแล้วมีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงนำคดีนี้มาฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าโจทก์ได้กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ อีกทั้งไม่ได้ความว่าก่อนฟ้องคดีโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ดังกล่าวโดยทางอื่นอีก จึงเท่ากับว่ายังไม่มีคำเตือนให้ชำระหนี้โดยชอบตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดเพราะโจทก์ได้ให้คำเตือนแล้ว แต่การฟ้องคดีย่อมเป็นการทวงถามอยู่ในตัว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดให้แก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 10 มีนาคม 2564) เป็นต้นไป

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

วันสถาปนาสภาทนายความครบรอบ 39 ปี สภาทนายความฯ จับมือทันตกรรมจิตอาสาบุญญานุภาพจังหวัดเชียงรายและชมรมทันตกรรมจิตอาสา บริการทำฟันฟรี

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมรสชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 ซึ่งเป็นวันสถาปนาสภาทนายความครบรอบ 39 ปี สภาทนายความฯ ร่วมกับทันตกรรมจิตอาสาบุญญานุภาพจังหวัดเชียงรายและชมรมทันตกรรมจิตอาสา เปิดบริการทำฟันฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด เช่น ตรวจฟัน ถอนฟัน อุดฟัน ขุดหินปูน ณ ที่ทำการสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. ขอเชิญผู้ที่สนใจหรือประสงค์ที่จะไปการบริการ ทันตกรรม ไม่ว่าสมาชิกทนายความทนายความ ตลอดจนพี่น้องประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้สามารถไปรับบริการได้ตามวันเวลาดังกล่าวโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3372.อายัดเงินค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4468/2566 ถึงแม้ว่าการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 เพื่อขออายัดเงินเดือน เงินค่าจ้าง เงินโบนัส เงินตอบแทนการทำงานเป็นครั้งคราวและเงินตอบแทนกรณีออกจากงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเพียงเฉพาะส่วนที่เป็นเงินเดือนของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับในแต่ละเดือนเท่านั้น ส่วนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 จากเงินค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินช่วยเหลือพิเศษยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากนายจ้างของจำเลยที่ 1 ยังไม่มีการเลิกจ้างจำเลยที่ 1 แม้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีหนังสือขออายัดเงินดังกล่าวไว้ก่อนแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวในขณะนั้น นายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี นายจ้างของจำเลยที่ 1 เพิ่งเลิกกิจการเมื่อปี 2563 จึงทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินช่วยเหลือพิเศษ จึงถือว่ายังไม่มีการบังคับคดีในเงินส่วนนี้ ดังนั้นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จะต้องส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่เคยมีคำสั่งอายัดไว้หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดสิทธิที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินดังกล่าว ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302 (3) (4) ที่แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 มาตรา 20 ที่ใช้อยู่ในเวลาที่มีการเลิกจ้างจำเลยที่ 1 ระบุไว้ว่า เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี… (3) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน เดือนละ 20,000 บาท หรือตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร (4) บำเหน็จหรือค่าชดเชยหรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของบุคคลตาม (3) เป็นจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีการประเมินตามจำนวนที่เห็นสมควรตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ เนื่องจากขณะเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในส่วนนี้ จึงต้องใช้จำนวนไม่เกิน 300,000 บาท ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 302 (4) ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่มีการเลิกจ้างจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อเงินค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินช่วยเหลือพิเศษที่จำเลยที่ 1 ได้รับรวมกันแล้วไม่เกิน 300,000 บาท จึงเป็นเงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302 (4) ที่แก้ไขใหม่ โจทก์ไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องในเงินค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินช่วยเหลือพิเศษ ที่จำเลยที่ 1 มีต่อนายจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ นายจ้างของจำเลยที่ 1 ไม่จำต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

สำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมกับสภาทนายความฯ จัดโครงการสัมมนาทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ TAI Symposium 2024

เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 เวลา 08.30 น. ที่ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร : สำนักอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมกับสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ TAI Symposium 2024 :

โดยดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา และนางสาวดนยา ตังธนกานนท์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักงานประธานศาลฎีกา กล่าวรายงาน และนายสุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ประจำสำนักงานประธานศาลฎีกา กล่าวเปิดงาน

และในวันนี้ได้รับเกียรติจากนายสุชาติ ชมกุล อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ และ นางสาวศรินทร เลืองวัฒนะวณิช อุปนายกฝ่ายต่างประเทศสภาทนายความ เข้าร่วมพิธีเปิดสัมมนาในครั้งนี้ด้วย ซึ่งในการร่วมกันจัดสัมมนาในครั้งนี้จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 3 กันยายน 2567

เวลา 8.30-16.30 น.ซึ่งการสัมมนาในวันนี้ได้มีผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิเช่น นายสรวิศ ลิมปรังษี ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักงานประธานศาลฎีกา และนายสาโรจน์ อธิวิทวัส ผู้ก่อตั้งและ CEO บริษัท วิสซิเบิล จำกัด ร่วมอภิปราย เรื่อง “TAI Dialogue : อนุญาโตตุลาการกับข้อพิพาทในธุรกิจดิจิทัล” ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย สุวรรณพานิช และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ ตั้งศีรีพิมาน และ นางสาวสัณหพร กอวัฒนา ร่วมอภิปราย เรื่อง “แนวโน้มของข้อพิพาทที่เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย” และยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ และ ดร.ณัฐวุฒิ อุทัยเสน ศาสตราจารย์พิเศษ สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล และนางรุจิรา จิวาลักษ์ นิติกรชำนาญการพิเศษสำนักอนุญาโตตุลาการ ร่วมอภิปราย เรื่อง “ความท้าทายในการดำเนินกระบวนการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการของประเทศไทย”

โดยการสัมมนาในวันนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 275 คน

 

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3371.ความหมายของสัญญาจ้าง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4171/2566 กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 17 เมษายน 2563 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79/1 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็นเรื่องให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคม มิใช่กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง การที่จำเลยไม่ได้ออกหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการตามหนังสือรับรองที่แนบท้ายกฎกระทรวงนี้ ไม่ได้ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากจำเลยตามกฎกระทรวงดังกล่าว

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ให้คำจำกัดความของคำว่า สัญญาจ้าง หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ดังนี้ สัญญาจ้างจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง กล่าวคือ ลูกจ้างมีหนี้ที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างมีหนี้ที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนในการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้แก่นายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าจ้างจากนายจ้างต่อเมื่อลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง จำเลยหยุดประกอบกิจการเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ปิดโรงแรมทั้งจังหวัดเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถือได้ว่าจำเลยหยุดประกอบกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัย การที่โจทก์ไม่ได้เข้าทำงานให้แก่จำเลยมิใช่เกิดจากคำสั่งหรือความผิดของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ แต่หากภายหลังเมื่อพ้นระยะเวลาปิดโรงแรมตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว โจทก์กลับเข้าทำงานให้แก่จำเลย จำเลยก็มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์

ศาลแรงงานภาค 8 ยังไม่ได้วินิจฉัยและรับฟังข้อเท็จจริงว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 คำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ 1797/2563 ลงวันที่ 2 เมษายน 2563 ที่กำหนดให้ปิดโรงแรมมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น มีผลทำให้จำเลยปิดกิจการตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด และจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งฉบับอื่นให้ปิดโรงแรมต่อไปอีกหรือไม่ เพียงใด จำเลยเปิดกิจการตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด โจทก์เข้าทำงานให้แก่จำเลยหรือไม่ หากเข้าทำงานโจทก์ทำงานตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด อันเป็นข้อเท็จจริงที่จะไปสู่การวินิจฉัยประเด็นว่า จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเองได้ จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานภาค 8 รับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ต่อไป

(หมายเหตุ 1 จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการโรงแรมใช้ชื่อในการประกอบกิจการว่า โรงแรม ส.

2 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561 จำเลยจ้างโจทก์ทำงานตำแหน่งผู้จัดการโรงแรมได้รับค่าจ้างเดือนละ 11,000 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าที่พักเดือนละ 40,000 บาท

3 เมื่อปลายปี 2562 ถึงปัจจุบันมีสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งปิดโรงแรมทั้งจังหวัดตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2563 มีกำหนด 2 เดือน (คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้ปิดโรงแรม ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

4 ต่อมาวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญากันตามข้อตกลงแนบท้ายสัญญาจ้างแรงงานโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 โดยโจทก์จะได้รับค่าจ้างเดือนละ 3,300 ดอลลาร์สหรัฐ

5 ต่อมาวันที่ 23 กันยายน 2563 จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่า โจทก์ไม่ได้รายงานเหตุการณ์น้ำท่วมห้องพักให้กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยทราบ ปล่อยปละละเลยให้สินค้าเน่าเสียและเครื่องดื่มหมดอายุ เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย

6 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2562 และปี 2563 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย และค่าชดเชย และให้ชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

7 ศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยว่า โจทก์ในฐานะผู้จัดการโรงแรมไม่ดูแลจัดการสินค้าที่ใกล้หมดอายุ เป็นการขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้จำเลยขาดความไว้วางใจที่จะให้โจทก์ปฏิบัติงานต่อไป มีเหตุเลิกจ้างโจทก์ได้และไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ จ่ายค่าเช่าบ้านตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 จนถึงวันที่โจทก์ถูกเลิกจ้าง ส่วนค่าจ้างนั้นจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน 2563 และจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ 1 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 ส่วนเงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นจำเลยจ่ายแทนโจทก์แล้ว 8 ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า จำเลยยังมิได้ออกหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยเพื่อยื่นขอรับเงินชดเชยจากประกันสังคมของโจทก์ตามข้อ 7 ของกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563 โจทก์ไม่อาจรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยจากสำนักงานประกันสังคมได้ จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน 2563 แก่โจทก์ แล้วพิพากษายืน

9 ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยข้างต้น โดยพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 8 และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเฉพาะที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โดยย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานภาค 8 ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติม)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849