ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3388.คำสั่งศาลในการขออนุญาตฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1689/2566 คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคหนึ่ง, 365 (1) ประกอบมาตรา 362 และมาตรา 364 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) ประกอบมาตรา 362 และมาตรา 364 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี ตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 2 ปี เป็นกรณีที่ทั้งสองศาลต่างวางบทความผิดแก่จำเลยทั้งมาตรา 278 วรรคหนึ่ง และมาตรา 365 (1) ประกอบมาตรา 362 และมาตรา 364 ซึ่งเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทอยู่แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ปรับบทกฎหมายตามมาตรา 278 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดที่ใช้ลงโทษจำเลยให้ถูกต้องดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการแก้ไขบท แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะแก้ไขโทษเพิ่มขึ้นตามบทหนักที่ใช้ลงโทษแก่จำเลยก็เป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า สั่งในฎีกา แล้วมีคำสั่งในคำฟ้องฎีกาของจำเลยว่า เป็นกรณีแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ให้รับฎีกาของจำเลย จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225

(หมายเหตุ 1 คดีนี้ จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอว่า สั่งในฎีกา แล้วมีคำสั่งในคำฟ้องฎีกาของจำเลยว่า เป็นกรณีแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ให้รับฎีกาของจำเลย

2 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ตัวแทนชาวบ้านจากนครสวรรค์เดินทางมาขอบคุณนายกสภาทนายความ ที่ช่วยเหลือทางกฎหมาย กรณีได้รับความเดือดร้อนจากแร่หินปูน

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายสัญญาภัชระ สามารถ อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ นายไพโรจน์ จำลองราษฎร์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ ให้การต้อนรับชาวบ้านที่มาขอบคุณและส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขอความช่วยเหลือทางกฎหมายจากตัวแทนชาวบ้านผู้อาจได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จากกรณีผู้ประกอบการยื่นขอประทานบัตร เหมืองแร่หินปูน เขากะลา จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อประกอบการโรงโม่หิน อันอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชาวบ้านและชุมชนโดยรอบ และที่ผ่านมาชาวบ้านรวมตัวกันคัดค้านมาโดยตลอด รวมทั้งร้องคัดค้านไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่มีความคืบหน้า

สภาทนายความ ส่งผู้แทนร่วมกับ สคบ.ไกล่เกลี่ยช่วยผู้บริโภค 50 เขตในพื้นที่ กทม.

 

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานเปิดการประชุมเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่อนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคของกรุงเทพมหานคร ประจำสำนักงานเขต จำนวน 50 เขตและประธานสภาทนายความจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัด ในฐานะอนุกรรมการ ไกล่เกลี่ย เรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคประจำจังหวัด พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง บทบาทหน้าที่ผู้แทนสภาทนายความเพื่อการคุ้มครองสิทธิของประชาชนผู้บริโภค ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560

 

โดยมีการประชุมทั้งแบบ Online (ผ่านระบบ ZOOM) และแบบ Onsite ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่อนุกรรมการไกล่เกลี่ยทุกท่านในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีนายสุชาติ ชมกุล อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ เป็นผู้กล่าวรายงาน นายสัญญาภัชระ สามารถ อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ ให้การต้อนรับ และได้รับเกียรติจากนายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรรมการประชาสัมพันธ์และรองเลขาธิการ เป็นวิทยากร บรรยาย เรื่อง พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 และนางสาวทรงศิริ จุมพล รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) บรรยาย เรื่อง ระเบียบ คำสั่งและแนวทางการปฏิบัติงานในการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคด้วย

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า สภาทนายความได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักนายกรัฐมนตรี ขับเคลื่อนการคุ้มครองและรักษาสิทธิของประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 โดยจัดทนายความทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ประจำเขต 50 เขตในกรุงเทพมหานคร และประจำจังหวัด ซึ่งมีประธานสภาทนายความจังหวัด เป็นผู้แทนสภาทนายความในคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยระดับจังหวัด จึงขอฝากให้ทุกท่านปฏิบัติหน้าที่ โดยคำนึงถึงเกียรติยศและศักดิ์ศรีของทนายความ เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการแก่ประชาชน ให้มีความรู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3387.ขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกาโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4257/2566 คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะฎีกาในปัญหาดังกล่าว จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิจารณาว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าวโดยตรงและรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องดังกล่าวว่า “สั่งในฎีกา” และมีคำสั่งในฎีกาของจำเลยว่า “จำเลยยื่นฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลขยายให้โดยมาแสดงตนต่อศาล รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์แก้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาฎีกา ปิดได้” จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเสียและมีคำสั่งเสียใหม่ให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่ง ทั้งนี้ แม้คำร้องของจำเลยจะมีใจความทำนองว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดก็ตาม ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจแก่ศาลฎีกาที่จะก้าวล่วงมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 อนุญาตให้ฎีกาหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

(หมายเหตุ 1 คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องโจทก์

2 จำเลยฎีกาว่า จำเลยจัดให้เล่นแชร์ตามคำฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.5, 1.8, 1.9, 1.11 และ 1.12 รวม 8 กระทง(แชร์ออนไลน์) โดยจำเลยมิได้ส่งเงินเข้าทุนกองกลาง และไม่มีการจัดประมูลแข่งกันเป็นงวด ๆ อันไม่ต้องด้วยบทนิยาม “การเล่นแชร์” ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 6 นั้น

3 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและไม่สืบพยาน ทางพิจารณาจึงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์แต่ละวงในรูปแบบหรือลักษณะใด จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงไปตามคำฟ้องและตามที่จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์ทุกวงตามนิยามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4

4 ส่วนประเด็นการขออนุญาตฎีกา ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้น)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกสภาทนายความฯร่วมหารือกับนายกสมาคมคนตาบอด(ผู้พิการ)แห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางอำนวยความสะดวกผู้สอบวิชาว่าความของผู้การทางสายตา

หารือแนวทางอำนวยความสะดวกผู้สอบวิชาว่าความของผู้พิการทางสายตา

เมื่อวันอังคารที่ 17 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นายเอกกมล แพทยานันท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย.อาจารย์ ครรชิต สมจิตต์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นายสุนทร สุขชา ผู้บกพร่องทางการมองเห็น พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าพบ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายชยธวัช อติแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ และนายวรกร ไหลหรั่ง ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านบุคคลพิการ ทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส เพื่อหารือเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยสอบวิชาว่าความของผู้บกพร่องทางการมองเห็น

ด้าน ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า สภาทนายความให้ความสำคัญกับคนพิการ ซึ่งจากการหารือ เห็นชอบในหลักการซึ่งต้องพิจารณารายละเอียดในการดำเนินงาน เช่น ลักษณะข้อสอบ วิธีการสอบ มาตรฐานข้อสอบ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการสอบของคนพิการ ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้บกพร่องทางการมองเห็นแล้ว อาจรวมถึงผู้มีความบกพร่องทางร่างกายด้านอื่น ๆ ด้วย โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ นำเรื่องไปพิจารณาศึกษา เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการต่อไป

ด้าน ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า สภาทนายความให้ความสำคัญกับคนพิการ ซึ่งจากการหารือ เห็นชอบในหลักการซึ่งต้องพิจารณารายละเอียดในการดำเนินงาน เช่น ลักษณะข้อสอบ วิธีการสอบ มาตรฐานข้อสอบ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการสอบของคนพิการ ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้บกพร่องทางการมองเห็นแล้ว อาจรวมถึงผู้มีความบกพร่องทางร่างกายด้านอื่น ๆ ด้วย โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ นำเรื่องไปพิจารณาศึกษา เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการต่อไป

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3386.จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2567 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) อันเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าไม่ได้มีการไตร่ตรองหรือตระเตรียมการเพื่อเจตนาฆ่าผู้ตายได้อีก ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในประเด็นนี้ เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

(หมายเหตุ 1 จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ตายเป็นอดีตภริยาของจำเลย วันเกิดเหตุจำเลยพาอาวุธมีดปลายแหลม อาวุธมีดทรงโค้งวงเดือนปลายแหลม และสิ่งเทียมอาวุธปืนติดตัวไปพบผู้ตายที่ร้านที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยใช้อาวุธมีดดังกล่าวแทงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย โดยปรากฏตามรายงานการชันสูตรพลิกศพว่า ผู้ตายมีบาดแผลขอบเรียบทั้งหมด 35 แผล ส่อแสดงว่า จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายด้วยความอาฆาตแค้นเป็นอย่างมากจึงเกิดบาดแผลแก่ผู้ตายถึง 35 แผล อีกทั้งขณะผู้ตายถูกจำเลยใช้อาวุธมีดแทงจนล้มลงนอนกับพื้นแล้ว จำเลยยังใช้อาวุธมีดแทงซ้ำผู้ตายอีก ผิดปกติวิสัยที่จำเลยอ้างว่า ยังมีความรักแก่ผู้ตายซึ่งเป็นอดีตภริยา ตรงกันข้ามกลับบ่งชี้ให้เห็นถึงความโหดเหี้ยมอำมหิตของจำเลย หลังเกิดเหตุจำเลยหลบหนีและถูกจับกุมตามหมายจับ คำให้การรับสารภาพของจำเลยเป็นลักษณะจำนนต่อพยานหลักฐานของโจทก์ กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะลงโทษจำเลยให้เบากว่านี้อีก

2 ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้จำคุกตลอดชีวิต)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3385.ศาลอุทธรณ์เพิกถอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงไม่มีการเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4111/2566 ความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 บัญญัติว่า “ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษ…” เห็นได้ว่า การที่จะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จนั้น นอกจากต้องได้ความว่า บุคคลที่ถูกฟ้องเข้าเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลแล้ว ยังต้องได้ความด้วยว่าความเท็จที่เบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ได้ความจากโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองเบิกความเท็จต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 2280/2562 ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นตัวแทน ฉ. และไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ แต่โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า ในคดีแพ่งดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงพิพากษาเพิกถอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกอุทธรณ์ของโจทก์ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่และมีคำสั่งตามรูปคดี ดังนั้นเมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำเบิกความและเข้าเบิกความเป็นพยานต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 2280/2562 ซึ่งโจทก์นำมาเป็นมูลเหตุในการฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562 หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 แล้ว อันมีผลให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาเพิกถอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งรวมทั้งคำเบิกความเป็นพยานของจำเลยทั้งสอง และยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยยื่นคำเบิกความและเข้าเบิกความเป็นพยานต่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมาก่อนเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า คำเบิกความของจำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในคดีอันจะมีมูลเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 หรือไม่

(หมายเหตุ 1 ในระหว่างการพิจารณาคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลย ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาด การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2 จำเลยเบิกความในคดีแพ่งดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าในคดีนี้ว่า คำเบิกความของจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในคดีอันจะมีมูลเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคแรก หรือไม่)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3384.อุทธรณ์ขอให้ลงโทษปรับเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2567 คดีนี้โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ขอให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยอ้างว่า ศาลชั้นต้นลงโทษปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาโดยชอบจึงถือว่าเป็นอุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 แล้ว ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษหรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. ว่าด้วยการพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกสภาทนายความฯเป็นประธานในพิธีฌาปนกิจ คุณวิจิตรา รัตนพงศ์บวร ภริยาของทนาย

เมื่อวันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 16.00 น. ที่ วัดคุณหญิงส้มจีน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีฌาปนกิจคุณวิจิตรา รัตนพงศ์บวร ภริยาของทนายภูมิพัฒน์ (วรานนท์) รัตนพงศ์บวร

ขอให้ดวงวิญญาณของภริยาท่านทนายภูมิพัฒน์ (วรานนท์) รัตนพงศ์บวร จงสู่สุคติในสัมปรายภพตราบนิรันดร์

ดร.วิเชียร นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีฌาปนกิจอดีตทนายความ

เมื่อวันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 14.00 น. ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีฌาปนกิจทนายพงษ์พันธ์ ขวัญตา ซึ่งมีนายสมพร ดำพริก อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายและทนายความจำนวนมากร่วมพิธีฌาปนกิจ ขอให้ดวงวิญญาณของท่านทนาย พงษ์พันธ์ ขวัญตา โดยมีเพื่อนฝูงคนรู้มักคุ้นร่วมงานจำนวนมาก  จงสู่สุคติในสัมปรายภพตราบนิรันดร์