ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3393.พาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ริบรถยนต์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2566 (เล่ม 9 หน้า 130 ) จำเลยทั้งหกใช้รถยนต์ของกลาง 4 คัน พาคนต่างด้าว 47 คน ที่ลักลอบเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยไปส่งยังจุดหมายปลายทางที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จึงเป็นการใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะให้คนต่างด้าวนั่งโดยสารมาในรถด้วยเท่านั้น มิได้เป็นการใช้รถยนต์ของกลางเพื่อพาคนต่างด้าวหลบหนีให้พ้นจากการจับกุม หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจตามฟ้องของโจทก์โดยตรง รถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยทั้งหกได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตาม ป. อ.มาตรา 33(1)

(หมายเหตุ 1 ป.อ. มาตรา 33(1) ทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบได้นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งผู้กระทำความผิด ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความฯ มอบเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่นายอรรถพร อัมพวา กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินการต่างๆ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2567 เวลา 13.15 น. ที่ห้องประชุมชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้ให้เกียรติมอบเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่นายอรรถพร อัมพวา กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินการต่างๆ ในที่ทำการแห่งใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้แล้วเสร็จสมบูรณ์และมีกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567 นี้

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จของโครงการก่อสร้างดังกล่าว และเชื่อมั่นว่าที่ทำการแห่งใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการประชาชนของสภาทนายความภาค 7 อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับการก่อสร้าง สมาชิกสภาทนายความในภาค 7 ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหางบประมาณในการก่อสร้าง จนสำเร็จตามความมุ่งหมายทุกประการ

# ไม่มีใครรักเรา เท่าเรารักกัน

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3892.ไม่สืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ริบของกลางไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2566 (เล่ม 8 หน้า 95) โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองร่วมกันมียาแก้ไอซึ่งมีส่วนผสมของไดเฟนไฮดรามีนและ คลอร์เฟนิรามีน มาริเอต อันเป็นยาแผนปัจจุบันชนิดยาอันตรายจำพวกฮิสตามีนและแอนติฮิสตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป เพื่อประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่ได้รับการยกเว้นใดๆ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และขอให้ยึดรถกระบะของกลางที่จำเลยทั้งสองใช้เป็นยานพาหนะไปรับและส่งยาแก้ไอแก่ลูกค้า เมื่อคดีมิได้มีการสืบพยานและข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถกระบะของกลางไปรับและส่งยาแก้ไอของกลางในลักษณะอย่างไร ทั้งรถกระบะโดยสภาพแล้วก็เป็นยานพาหนะที่บุคคลทั่วไปใช้เป็นยานพาหนะสัญจรตามธรรมดาในชีวิตประจำวัน รถกระบะของกลางจึงมิได้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรือยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง จึงไม่อาจริบรถกระบะของกลางตาม ป.อ.มาตรา 33(1) ได้ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นอ้างและวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

( หมายเหตุ 1 จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้รอการลงโทษ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ยาแก้ไอของกลางแม้จะเป็นยาแผนปัจจุบันชนิดยาอันตราย และมีจำนวนมากถึง 1,500 ขวด มีปริมาตรรวม 90 ลิตร แต่โดยสภาพมีคุณสมบัติหรือสรรพคุณ ใช้สำหรับบรรเทาอาการไอ ทั้งจำเลยทั้งสองได้ให้การรับสารภาพมาโดยตลอดตั้งแต่ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน และชั้นพิจารณา แสดงว่า จำเลยทั้งสองได้รู้สำนึกในการกระทำความผิดของตนประกอบกับการต้องโทษจำคุกในระยะสั้น นอกจากจะไม่เกิดผลในการฟื้นฟูแก้ไขความประพฤติของจำเลยทั้งสองได้เท่าที่ควรแล้ว ยังทำให้จำเลยทั้งสองมีประวัติเสื่อมเสียและการได้รับผลกระทบในการประกอบสัมมาอาชีพโดยสุจริตหลังจากพ้นโทษ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสอง เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยทั้งสองกลับตัวเป็นพลเมืองดี โดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

นายกสภาทนายความฯเปิดการอบรมวิชาการ เรื่อง “ผ่าสำนวนคดีเด็ด คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ”

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2567 เวลา 08.30 – 16.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมวิชาการ เรื่อง “ผ่าสำนวนคดีเด็ด คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ” โดยมี ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร อุปนายกฝ่ายวิชาการ กล่าวรายงาน นายสุนทร พยัคฆ์ เลขาธิการสภาทนายความ เป็นผู้ดำเนินรายการ

 

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากนายสัญญาภัชระ สามารถ อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ และนายสฤษดิ์ เจียมกมล เหรัญญิก มาร่วมงาน

 

 

ในการจัดอบรมคราวนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ รองเลขาธิการ และนายอรรถพร อัมพวา กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 ให้เกียรติเป็นวิทยากรร่วมบรรยายหัวข้อ

-หลักกฎหมายเกี่ยวกับคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

-บทบาททนายความในชั้นไต่สวนของ ป.ป.ช.

-การสอบข้อเท็จจริง

-การทำคำฟ้องและทำคำให้การ

-การทำบัญชีชี้ช่องพยาน

-การนำสืบพยานของโจทก์และจำเลย

-การทำแถลงปิดคดี

-การอุทธรณ์

-การฎีกา

ฝ โดยมีผู้เข้ารับการอบรมแบบ Online ลงทะเบียน จำนวน 1,200 คน และแบบ Onsite ลงทะเบียนอบรม จำนวน 500 คน

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3891.คำเบิกความในคดีก่อนที่ระบุว่าเป็นลูกจ้างมีผลผูกพันผู้เบิกความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2566 โจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการ ฟ. โดยโจทก์เป็นผู้พิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่จำเลยด้วยการให้จำเลยผ่อนชำระค่าศัลยกรรมซึ่งโจทก์ทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการสนับสนุนเงินทุนเพื่อทำศัลยกรรมกับ ซ. โดย ซ. เบิกความสนับสนุนว่ามีการทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์กันไว้จริงตามเอกสารหมาย จ.11 อันเป็นการนำสืบพยานหลักฐานในทำนองว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนร่วมกันประกอบกิจการในโครงการ ฟ. แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏตามคำเบิกความของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ. 4426/2563 ของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่าร่วมกับพวกกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยในคดีดังกล่าวโจทก์เบิกความว่า โจทก์ทำงานในโครงการ ฟ. ในฐานะเป็นลูกจ้าง ซึ่งตรงกับที่โจทก์เบิกความในคดีอื่น ๆ อีกหลายคดีที่ระบุว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของโครงการ ฟ. ได้รับเงินเดือนโดยเป็นผู้อำนวยการโครงการ มีหน้าที่จัดทำเว็บไซต์ของโครงการและทำหน้าที่ด้านการเงินเท่านั้น ซึ่งคำเบิกความของโจทก์และผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันโจทก์ว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างในโครงการ ฟ. โดยทำหน้าที่ในด้านการเงินและเป็นผู้เปิดบัญชีรับโอนเงินกับรับทำสัญญาผ่อนชำระหนี้ในโครงการดังกล่าวแทน ซ. เท่านั้น โจทก์เพิ่งยกหนังสือสัญญาแบ่งผลประโยชน์เป็นหลักฐานในคดีนี้ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวขัดกับคำให้การและคำเบิกความในคดีก่อนโดยโจทก์ไม่ได้นำสืบเอกสารดังกล่าวต่อศาล เชื่อว่าเอกสารหมาย จ.11 มีการจัดทำขึ้นในภายหลังเพื่อผลประโยชน์ในคดีที่เรียกร้องเงินตามสัญญาผ่อนชำระหนี้จากลูกหนี้ในโครงการเท่านั้น อีกทั้งโจทก์ยังเบิกความว่าโจทก์ได้รับมอบอำนาจจาก ซ. ให้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ. 12 อันเป็นข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับเอกสารหมาย จ.11 จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวได้

คดีหมายเลขแดง ที่ ผบ. 4426/2563 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าการกระทำของโจทก์กับพวกซึ่งเป็นจำเลยในคดีไม่เป็นการทำละเมิด โดยไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นลูกจ้างหรือเป็นหุ้นส่วนกับ ซ. อันเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้หรือไม่ ผลของคำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์และจำเลยในคดีนี้ และจำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่าโจทก์เบิกความเท็จต่อศาลในคดีดังกล่าวว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างไม่มีส่วนได้เสียในโครงการ ฟ. และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ อันเป็นการยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ในคดีนี้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างในโครงการ ฟ. การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาการผ่อนชำระเงินค่าทำศัลยกรรมและค่าตอบแทน จึงเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของ ซ. เท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่ได้ระบุว่ากระทำในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจาก ซ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาที่แท้จริง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกสภาทนายความฯยกทีมขึ้นเหนือ จัดอบรมสัมมนาคดีการสอบสวนมรรยาททนายความ (เชียงใหม่ ) เพื่อสร้างสถาบันสภาทนายความเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติต่อไป

เมื่อวันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2567 เวลา 08.30 – 17.00 น. ที่ อาคารเวิร์ล (27) ชั้น 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีเปิดและปาฐกถาพิเศษในโครงการอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะประสิทธิภาพในการสอบสวนคดีมรรยาททนายความ และขึ้นทะเบียน โดยมี นางพรสวรรค์ สังข์สังวาลย์ ประธานสภาทนายความจังหวัดเชียงใหม่ และนายพรศักดิ์ สังข์สังวาลย์ กรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค 5 กล่าวต้อนรับ นายไพฑูรย์ พฤฒาสัจธรรม กรรมการมรรยาททนายความ กล่าวรายงาน ยังได้รับเกียรติจาก นายวีระพงศ์ ศรีวงค์สงวน ประธานสภาทนายความจังหวัดฮอด นายเอกรัตน์ ชัยศรีสวัสดิ์ ประธานสภาทนายความจังหวัดเชียงราย นายบันดิษฐ์ ปุระตา ประธานสภาทนายความจังหวัดเทิง

นายตรีเรก ศรีวิชัย ประธานสภาทนายความจังหวัดพะเยา ว่าที่ร้อยตรี กิตติพล อินนา ประธานสภาทนายความจังหวัดเชียงคำ นายสนธยา มานะจิตต์ ประธานสภาทนายความจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายสราวุธ ทิศอุ่น ประธานสภาทนายความจังหวัดแม่สะเรียง นายอุเทน สุขทั่วญาติ ประธานสภาทนายความจังหวัดแพร่ นายกิตติพันธ์ จันทร์หอม ประธานสภาทนายความจังหวัดลำปาง นายจิระพันธ์ ยานะเรือง ประธานสภาทนายความจังหวัดลำพูน

นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “สภาพปัญหาในการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ” นายสุชาติ ชมกุล อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ บรรยายหัวข้อ “การแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ พ.ศ.2546” นายคณิต วัลยะเพ็ชร์ ประธานกรรมการมรรยาททนายความ บรรยายหัวข้อ “ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529”

ต่อมาเวลา 13.00 น. นายมะโน ทองปาน รองประธานกรรมการมรรยาททนายความ บรรยายหัวข้อ “ทนายความกับสื่อสาธารณะ” นายคณิต วัลยะเพ็ชร์ ประธานกรรมการมรรยาททนายความ นายเจษฎา คงรอด รองประธานกรรมการมรรยาททนายความ และนายไพฑูรย์ พฤฒาสัจธรรม กรรมการมรรยาททนายความ ร่วมบรรยายหัวข้อ “การพิจารณาคดีมรรยาททนายความ ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ พ.ศ.2546” “การพัฒนาทักษะและประสิทธิภาพในการสอบสวนคดีมรรยายทนายความ” และ “การทำความเห็นคดีมรรยาทนายความ”   ซึ่งมีทนายความในจังหวัดเชียงใหม่และทนายความภาค 5 เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

สภาทนายความฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ร่วมลงนาม MOU เพื่อบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ

เมื่อวันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. ที่ อาคารเวิร์ล (27) ชั้น 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ : สภาทนายความ โดย ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีนายพรศักดิ์ สังข์สังวาลย์ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 5 นางพรสวรรค์ สังข์สังวาลย์ ประธานสภาทนายความจังหวัดเชียงใหม่ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา สะสอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์จรินทิพย์ ตรัยตรึงตรีคูณ ประธานหลักสูตรนิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการทั้งสองหน่วยงาน

 

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายวีระพงศ์ ศรีวงค์สงวน ประธานสภาทนายความจังหวัดฮอด นายเอกรัตน์ ชัยศรีสวัสดิ์ ประธานสภาทนายความจังหวัดเชียงราย นายบันดิษฐ์ ปุระตา ประธานสภาทนายความจังหวัดเทิง นายตรีเรก ศรีวิชัย ประธานสภาทนายความจังหวัดพะเยา ว่าที่ร้อยตรีกิตติพล อินนา ประธานสภาทนายความจังหวัดเชียงคำ นายสนธยา มานะจิตต์ ประธานสภาทนายความจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายสราวุธ ทิศอุ่น ประธานสภาทนายความจังหวัดแม่สะเรียง นายอุเทน สุขทั่วญาติ ประธานสภาทนายความจังหวัดแพร่ นายกิตติพันธ์ จันทร์หอม ประธานสภาทนายความจังหวัดลำปาง นายจิระพันธ์ ยานะเรือง ประธานสภาทนายความจังหวัดลำพูน และทนายความในภาค 5 จำนวนมากเป็นสักขีพยาน

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3890.ฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ในคดีอาญา แก้ไขฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2567 แม้อุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แต่ก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวได้นั้น ศาลจำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ตราที่โจทก์ประทับในฟ้องเป็นตราประทับที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ตามข้อบังคับของโจทก์หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352, 353 มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทั้งไม่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์ได้รับอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ ตามมาตรา 22 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาในปัญหาดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฟ้อง เป็นฟ้องที่ไม่ชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง ดังนั้น เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์อันเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยเฉพาะศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดี และการสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ เช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้องได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4

(หมายเหตุ 1 คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ตราที่โจทก์ใช้ประทับในฟ้องไม่ใช่ตราประทับที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ฟ้องโจทก์จึงมีเพียงกรรมการสองคนลงลายมือชื่อโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญไม่เป็นไปตามข้อบังคับของโจทก์ ทำให้ไม่ผูกพันโจทก์ ถือว่าฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง

2 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์อันเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยเฉพาะศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดี และมีคำวินิจฉัยข้างต้น โดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นสั่งโจทก์แก้ไขฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้อง แล้วพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปตามรูปคดี)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3389.อำนาจศาลในการส่งคำโต้แย้งว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2566 แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณาจะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่าเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่นั้นยังคงเป็นอำนาจของศาลยุติธรรม มิใช่คู่ความมีคำโต้แย้งแล้วต้องส่งไปทุกกรณี จำเลยยื่นคำร้องว่า ป.อ. มาตรา 177 และ ป.วิ.อ. มาตรา 182, 188, 190 และมาตรา 192 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3, 4, 5, 25, 26, 27, 29 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ และมาตรา 188 โดยไม่ปรากฏเหตุผลแห่งการโต้แย้ง จึงเป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในเรื่องการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับบทกฎหมาย การวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและการตีความกฎหมาย หาใช่โต้แย้งบทมาตราแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อโต้แย้งของจำเลยว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์นายหนึ่งมิได้ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาให้ครบองค์คณะนั้น ก็มิใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอีกเช่นกัน คำโต้แย้งของจำเลยไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 5 ประกอบมาตรา 212 ที่ศาลฎีกาจะต้องส่งคำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

(หมายเหตุ 1 ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยในคดีนี้ว่า สาระสำคัญของกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์เป็นหลัก จำเลยเพียงมีสิทธิเข้ามาในคดีได้อย่างจำกัดตามที่กฎหมายอนุญาตเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นเสร็จการไต่สวนมูลฟ้องและนัดฟังคำสั่งจึงไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบ หรือหากจำเลยทราบนัดแล้วจะมาฟังคำสั่งศาลชั้นต้นหรือไม่ก็ได้เนื่องจากยังไม่มีฐานะเป็นคู่ความ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.อ. มาตรา 182 ซึ่งใช้บังคับแต่เฉพาะผู้ที่เป็นคู่ความแล้วเท่านั้น ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะอ่านคำสั่งว่าคดีมีมูลหรือไม่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำเลยได้ และในขณะเดียวกันหากจำเลยทราบนัดฟังคำสั่งแล้วไม่มาศาล ศาลชั้นต้นก็หาอาจใช้อำนาจตามวรรคสามของ ป.วิ.อ. มาตรา 182 ในการออกหมายจับจำเลยได้เช่นกัน การอ่านคำสั่งคดีมีมูลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้ของศาลชั้นต้นลับหลังจำเลยจึงชอบแล้ว มิได้เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นแต่ประการใด)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกสภาทนายความ เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการทนายพี่เลี้ยง รุ่นที่ 20

 

สถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ เปิดอบรมโครงการทนายพี่เลี้ยง รุ่นที่ 20

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการทนายพี่เลี้ยง รุ่นที่ 20 เรื่อง “การเพิ่มทักษะการว่าความให้ทนายความใหม่ การร่างคำฟ้องขับไล่ ยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง สอบข้อเท็จจริง หลักในการซักถาม ถามค้านถามติงในศาล และการจัดทำเอกสารต่างๆ” โดยมี ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร อุปนายกฝ่ายวิชาการ เป็นผู้กล่าวรายงาน นายสยุม ไกรทัศน์ กรรมการฝ่ายวิชาการ เป็นผู้ดำเนินรายการ

นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ยังให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การร่างคำฟ้องขับไล่ ยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง กระบวนพิจารณา ในคดีอาญา และการซักถาม ถามค้าน ถามติงในศาล จัดทำคำให้การ การยื่นคำร้อง และการจัดทำเอกสารต่างๆ และศิลปะการถามความ” มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการฝ่ายวิชาการทนายความ และผู้มีความเชี่ยวชาญด้านคดีความอีกจำนวนมากมาช่วยอำนวยการอบรมในครั้งนี้ โดยมี ทนายความลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมกว่า 150 คน