สภาทนายความ ขอเชิญเข้าร่วมฟังเสนาทางวิชาการ เรื่อง ” บทบาทนักกฎหมาย กับสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน

⚖ สภาทนายความ ขอเชิญเข้าร่วมฟังเสนาทางวิชาการ ⚖

🌟 เรื่อง ” บทบาทนักกฎหมาย กับสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน 🌟

🔷 เชิญพบกับ 🔷

🔷 ดร.วิเชียร ชุบไธสง

นายกสภาทนายความ

🔷 รศ.ดร.เจษฏ์ โทณะวณิก

ประธานหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

🔷 รศ.ดร.บัญชา วิทยอนันต์

รองอธิการบดี วิทยาลัยนครราชสีมา

🔷 รศ.ดร.วิณัฐฐา แสงสุข

รองศาสตราจารย์ประจำหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

🔷 ดร.ณัฐญากัญจน์ รัตนวรกานต์

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

🔷 ผศ.ดร.ญาณวัฒน์ พลอยเทศ

คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสบางกอก

🔷 นายปกรณ์ ธรรมโรจน์

อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 2 สำนักงานอัยการสูงสุด

 

🔶 ผู้ดำเนินรายการ 🔶

🔶 ผศ.โกญจนาท เจริญสุข

ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตร์ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

 

🔶 รศ.ดร.ตุลญา โรจน์ทังคำ

รองคณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

–––

📝 รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 8 ตุลาคม 2567

–––

📆 วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567

⏰ เวลา 10.30 – 12.00 น.

📍 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

👉ติดต่อสอบถาม คุณวารินทร์ ☎️ 08 3096 5214

🌏 Linkลงทะเบียน https://forms.gle/M2TXbdJgtsESMdD5A

สภาทนายความฯ ถกผลกระทบที่เกิดขึ้นข้อเท็จจริงวัคซีนโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ

ประชุมคณะทำงานพิจารณาศึกษาวิเคราะห์ข้อเท็จจริงวัคซีนโควิด-19 นัดแรกถกผลกระทบที่เกิดขึ้น

เมื่อวันอังคารที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาศึกษาวิเคราะห์ข้อเท็จจริงวัคซีนโควิด-19 และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ โดยที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลต่าง ๆที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและทุพพลภาพ จำนวนหลายราย โดยเป็นข้อมูลจากภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลจากสถาบันการศึกษาและสถาบันการแพทย์ต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์แนวทางในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3408.ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะผู้สั่งจ่ายเช็คล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2566 จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ก่อนถึงกำหนดวันที่ลงในเช็ค จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยย่อมไม่มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของตนเองนับแต่วันดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า “มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย” แสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการตามอำนาจในการจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยเพื่อเข้ากองทรัพย์สินและนำมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ด้วยการมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง

(หมายเหตุ 1 คดีนี้ จำเลยสั่งจ่ายเช็คล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แต่เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ตามเช็ค ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจึงไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลย)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3407.เบี้ยปรับตามสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2567 โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แล้วผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาพร้อมเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อพร้อมคำฟ้องและอ้างส่งต่อศาล ทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย แต่พอถือได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามสัญญาเช่าซื้อด้วย

สัญญาเช่าซื้อข้อ 6.7 กำหนดว่า กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย หากมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือ ทั้งนี้เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้จ่ายไปจริงโดยประหยัดตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ดังนั้น โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องผูกพันตามข้อสัญญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ จำเลยผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดเฉพาะเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือเท่านั้น ซึ่งในส่วนเบี้ยปรับแม้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งแต่มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าให้ชดใช้ให้แก่กันเมื่ออีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 4 กำหนดรายละเอียดของเบี้ยปรับว่า ได้แก่ เบี้ยปรับของค่าเช่าซื้อที่ผิดนัด เบี้ยปรับของค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ชำระที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บแทนผู้เช่าซื้อ เบี้ยปรับจึงมีความหมายเฉพาะที่ระบุในข้อสัญญาดังกล่าว มิใช่ค่าเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์อาจมีสิทธิเรียกได้กรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือตามที่ระบุไว้ในข้อสัญญาดังกล่าว ทั้งสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างอื่น จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้

(หมายเหตุ 1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2562 จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว จำเลยชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์เพียง 2 งวด และงวดที่ 3 บางส่วน เป็นการผิดนัดตั้งแต่งวดที่ 3 ประจำวันที่ 5 สิงหาคม 2562 เป็นต้นมา

2 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2562 รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป ภรรยาจำเลยแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลย

3 โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่จำเลยเพิกเฉย

4 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน และให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์

5 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลยผู้เช่าซื้อ จำเลยผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดเฉพาะเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือเท่านั้น ซึ่งในส่วนเบี้ยปรับนั้นมีความหมายเฉพาะที่ระบุในข้อสัญญาดังกล่าว มิใช่ค่าเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์อาจมีสิทธิเรียกได้กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย

6 และศาลฎีกามีคำวินิจฉัยข้างต้น โดยพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองที่พิพากษายกฟ้อง)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

 

สภาทนายความ ร่วมกับ สมาคมผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์เปิดรับสมัครอบรม 【 ฟรี 】

สภาทนายความ ร่วมกับ สมาคมผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์ 📣

⚖ เปิดรับสมัครอบรม 【 ฟรี 】🚩⚖ เรื่อง “ นิติวิทยาศาสตร์ กับบทบาททนายความในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ”🔹ขั้นตอนและวิธีการตรวจหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์

🔹การวิเคราะห์พยานหลักฐาน

🔹การนำเสนอพยานหลักฐานในศาล🔹การโต้แย้งพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์

🔹การประสานความร่วมมือของทนายความในการแสวงหาหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์

–เชิญพบกับ—

🔶 ดร.วิเชียร ชุบไธสง

นายกสภาทนายความ

🔶 นายสุนทร พยัคฆ์

เลขาธิการสภาทนายความ

🔶 นายวีรศักดิ์ โชติวานิชอุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ รองเลขาธิการสภาทนายความ กรรมการประชาสัมพันธ์

🔶 ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร อุปนายกฝ่ายวิชาการ สภาทนายความ 🔶 พ.ต.อ.ธาดา ตั้งศรีสุข นายกสมาคมผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์ 🔶 ร.ต.ท.มนตรี ดอนฟุ้งไพร เลขานุการสมาคมผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์

🔶 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันตำรวจเอก ดร. สฤษดิ์ สืบพงษ์ศิริ  อดีตอาจารย์คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

🗓️ วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2567

⏰ เวลา 09.30 – 12.00 น.

📍 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

การลงทะเบียนมี 2 ช่องทาง 🔖

🪑 Onsite

🌎Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/TpWVS3W8VQHZHdWb9

—————————

🪑 Online

🌏 Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/Z3C6pcREXgzBJQwh8

—————————

👉ติดต่อสอบถาม คุณพิมพ์ฉวี และคุณจิดาภา ☎️ 06 4291 4640

⚖_______________⚖

 

 

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3406.สัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2566 (เล่ม 9 หน้า 175) สัญญาเช่ารถยนต์ ข้อ 9.2 กำหนดว่า “ในกรณีที่ผู้เช่า ต้องการเลิกสัญญาก่อนกำหนดโดยมิใช่เป็นความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่าต้องแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ผู้เช่าต้องชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าตามเงื่อนไขดังนี้……. 9.2.2 กรณียกเลิกสัญญาในปีที่ 2 ผู้เช่าต้องชำระค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่ากับร้อยละ 40 ของยอดค่าเช่าพึงชำระ นับตั้งแต่วันบอกเลิกสัญญาจนถึงวันสิ้นสุดสัญญา…….” สัญญาเช่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นการให้เช่าแบบลิสซิ่งซึ่งมีกำหนดระยะเวลาเช่า 5 ปี หากครบกำหนด โจทก์จะได้รับค่าเช่า 876,000 บาท แต่การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยการคืนรถยนต์ที่เช่า และให้โจทก์รับรถวันที่ 19 มีนาคม 2561 หลังจากทำสัญญาเช่าเพียง 1 ปี 4 เดือน 19 วัน โจทก์ได้รับค่าเช่าเพียง 242,548.39 บาท จึงไม่ได้รับค่าเช่าส่วนที่เหลือ 633,451.61 บาท แต่อย่างไรก็ตามสัญญาข้อ 9.2.2 ดังกล่าว เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

(หมายเหตุ 1 คดีนี้เป็นการทำสัญญาเช่ารถยนต์ มิใช่เป็นการเช่าซื้อรถยนต์ เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าและคืนรถยนต์ให้แก่ผู้ให้เช่า จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าในส่วนที่ยังคงเหลืออยู่อีกต่อไป)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

สภาทนายความเป็นที่พึ่งของประชาชนในยามทุกข์ยาก นายกสภาทนายความและคณะเดินทางไปร่วมพิธีถวายอาหารเพล อุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิตทั้ง 23 คน พร้อมมอบเงินให้การช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตและรับบาดเจ็บผ่านคลังจังหวัดอุทัยธานี

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลา 11.00 น. ที่โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จังหวัดอุทัยธานี : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายสาโรจน์ จันทรศิริ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 6 นายพจ สิทธิชัย ประธานสภาทนายความจังหวัดอุทัยธานี พร้อมด้วยคณะกรรมการสภาทนายความภาค 6 คณะกรรมการสภาทนายความจังหวัดอุทัยธานี นางสาวสุวดี ศรีสกุลสุรินทร์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ และนายอุทัย ไสยสาลี หัวหน้าสำนักงานสภาทนายความ ได้เดินทางไปร่วมพิธีถวายอาหารเพล อุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิตทั้ง 23 คน และพบผู้ปกครองนักเรียนที่เสียชีวิตเพื่อให้กำลังใจและให้คำแนะนำเพื่อช่วยเหลือทางด้านกฎหมายต่อไป

นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กับคณะได้มอบเงินให้ นางสาวอรพิน ขัดผาบ คลังจังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้รับมอบไว้เป็นส่วนหนึ่งของการเยียวยาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ และได้มอบของเล่นเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่เด็กนักเรียนโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม โดย ดร.เสาวลักษณ์ บุญจันทร์ ผอ.สพป.อุทัยธานี เขต 2 เป็นผู้รับมอบ

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3405.ให้คำมั่นว่าจะให้เช่าที่มีกำหนด 30 ปี รวม 2 คราว และมีการชำระการเช่าแล้ว ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2566 การที่โจทก์จำเลยทำสัญญาลักษณะที่รวมการเช่าระยะแรก 30 ปี แต่กำหนดมีคำมั่นที่โจทก์จะให้เช่าอีกสองคราว คราวละ 30 ปี ในวันเดียวกัน ทั้งจำเลยยังชำระเงินการเช่าสองคราว คราวละ 30 ปี เช่นที่กล่าวข้างต้น ไม่มีรายละเอียดกำหนดค่าเช่าใหม่ เงื่อนไขการเช่าใหม่ ทั้ง ๆ ที่กำหนดระยะเวลายาวนานล่วงเลยไปแล้วถึง 30 ปี จะให้ต่อระยะเวลาเช่าไปอีก 2 คราว คราวละ 30 ปี รวมเป็น 90 ปี ซึ่งปกติสภาพความเจริญของที่ดิน สภาวะเศรษฐกิจ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่การทำคำมั่นของโจทก์จำเลยเท่ากับถือตามอัตราค่าเช่าเดิม เงื่อนไขการเช่าเดิมทุกประการ แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยต่างประสงค์หลีกเลี่ยง ป.พ.พ. มาตรา 540 ที่ห้ามเช่าเกิน 30 ปี ฉะนั้นสัญญาส่วนที่เป็นคำมั่นที่จะต่อสัญญาเช่าอีก 2 คราว ๆ ละ 30 ปี จึงตกเป็นโมฆะ เนื่องจากวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายชัดแจ้ง และกรณีไม่อาจจะให้ตีความเป็นสัญญาบุคคลสิทธิระหว่างโจทก์กับจำเลยเพื่อให้มีผลบังคับต่อไปตามที่จำเลยฎีกา เพราะมิฉะนั้นวัตถุประสงค์ของ ป.พ.พ. มาตรา 540 ดังกล่าวย่อมจะไร้ผลบังคับ

 

 

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

สภาทนายความ เปิดอบรมคณะกรรมการ สอบสวนคดีมรรยาททนายความ ภาค 4 จังหวัดอุดรธานี

เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 08.30 – 17.00 น. ที่ห้องคริสตัลท็อป ชั้น 6 โรงแรมประจักษ์ตรา โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีเปิดและปาฐกถาพิเศษในโครงการอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะประสิทธิภาพในการสอบสวนคดีมรรยาททนายความ และขึ้นทะเบียน โดยมี นายเกรียงวิธญ์ โพธิ์ขำใหญ่ ประธานสภาทนายความจังหวัดอุดรธานี และนายพิเชฐ คูหาทอง กรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค 4 กล่าวต้อนรับ นายไพฑูรย์ พฤฒาสัจธรรม กรรมการมรรยาททนายความ กล่าวรายงาน และนายชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง กรรมการสภาทนายความภาค 4 นางสาวพรพิชญา อึ้งพรหมบัณฑิต กรรมการสภาทนายความจังหวัดอุดรธานี เป็นผู้ดำเนินรายการ และยังได้รับเกียรติจาก นายธวัชชัย ละครชัย ประธานสภาทนายความจังหวัดขอนแก่น นายพงศกรณ์ ตั้งกิตติ์ตระกูล ประธานสภาทนายความจังหวัดร้อยเอ็ด นางสุคนธ์ทิพย์ พรหมสิทธิ์ ประธานสภาทนายความจังหวัดหนองบัวลำภู นายวสันต์ พุฒิสันติกุล ประธานสภาทนายความจังหวัดหนองคาย นายจิรศักดิ์ เอี่ยมดิลก ประธานสภาทนายความจังหวัดมหาสารคาม นายประภาส แสงสุกวาว ประธานสภาทนายความจังหวัดสกลนคร นายวุฒิพงศ์ เนติธีรัตน์ ประธานสภาทนายความจังหวัดเลย ว่าที่พันตรี ณรงค์ ดาหาร ประธานสภาทนายความจังหวัดมุกดาหาร นายบุญมา สายสุพรรณ์ ประธานสภาทนายความจังหวัดบึงกาฬ ว่าที่ร้อยตรี โกวิทย์ บุตรลำภู ประธานสภาทนายความจังหวัดชุมแพ นายชาติชาย จงสมชัย อดีตประธานสภาทนายความจังหวัดกาฬสินธุ์ นายคณิศร ขุริรัง และว่าที่ร้อยตรีจตุรงค์ กาญจนเดช อดีตประธานสภาทนายความจังหวัดอุดรธานี นายเกรียงศักดิ์ สุรพงษ์ อดีตประธานสภาทนายความจังหวัดร้อยเอ็ด นายสิทธิพร สาระพาณิชย์ อดีตประธานสภาทนายความจังหวัดขอนแก่น นายสิทธิพร สาระคำ ประธานที่ปรึกษานายกสภาทนายความด้านกฎหมาย และนายดุสิต พรหมสิทธิ์ อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความภาค 4

นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “สภาพปัญหาในการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ” นายสุชาติ ชมกุล อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ บรรยายหัวข้อ “การแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ พ.ศ.2546” (บอส)คณิต วัลยะเพ็ชร์ ประธานกรรมการมรรยาททนายความ บรรยายหัวข้อ “ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529”

 

 

ต่อมาเวลา 13.00 น. นายมะโน ทองปาน รองประธานกรรมการมรรยาททนายความ บรรยายหัวข้อ “ทนายความกับสื่อสาธารณะ” นายคณิต วัลยะเพ็ชร์ ประธานกรรมการมรรยาททนายความ นายเจษฎา คงรอด รองประธานกรรมการมรรยาททนายความ และนายไพฑูรย์ พฤฒาสัจธรรม กรรมการมรรยาททนายความ ร่วมบรรยายหัวข้อ “การพิจารณาคดีมรรยาททนายความ ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ พ.ศ.2546” “การพัฒนาทักษะและประสิทธิภาพในการสอบสวนคดีมรรยาททนายความ” และ “การทำความเห็นคดีมรรยาททนายความ”

ซึ่งมี คณะกรรมการบริหารสภาทนายความภาค 4 คณะกรรมการสอบสวนคดีตนมรรยาททนายความ และทนายความในจังหวัดอุดรธานี

เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นกรรมการสอบสวนมรรยาททนายความ จำนวนมากกว่า 300 คน

 

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3404.สิทธิของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในการขอรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2566 ป.วิ.พ. มาตรา 335 วรรคสี่ และวรรคห้า เป็นบทบัญญัติเพื่อให้หนี้ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินได้รับการกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวจนถึงวันขายทอดตลาดแก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก่อนเจ้าหนี้จำนองและให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินแก่ผู้ซื้อโดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินว่า ก่อนทำการขายทอดตลาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบอกกล่าวให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแจ้งรายการหนี้ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว เมื่อความปรากฏว่า ก่อนขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 212453 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ร้องแจ้งรายการหนี้ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแล้ว แต่ผู้ร้องแจ้งรายการหนี้ดังกล่าวล่วงพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับที่ค้างชำระให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการไปตามที่มาตรา 335 บัญญัติไว้ ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาอ้างว่าลูกจ้างที่ดูแลรับผิดชอบที่ทำการของผู้ร้องในขณะนั้นไม่ได้แจ้งให้คณะกรรมการของผู้ร้องทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงผู้ร้อง โดยลูกจ้างคนดังกล่าวมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตนั้น กรณีไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 15 ที่ศาลฎีกาจะขยายระยะเวลา 30 วัน ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่อาจใช้สิทธิขอให้กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 212453 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เพื่อนำมาชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระแก่ผู้ร้องก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองได้ ทั้งความปรากฏตามคำขอออกหมายบังคับคดีว่า จำเลยมีภาระหนี้คงค้างชำระอยู่แก่โจทก์เป็นเงิน 7,371,398.92 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 3,223,150.73 บาท ที่เหลือเป็นดอกเบี้ยกับค่าเบี้ยประกันภัย แต่ที่ดินโฉนดเลขที่ 212453 ขายทอดตลาดได้ในราคาเพียง 3,700,000 บาท น้อยกว่าภาระหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่แก่โจทก์ ซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว ไม่มีเงินเหลือที่จะจ่ายให้แก่ผู้ร้อง

(หมายเหตุ 1 นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรยื่นภาระค่าส่วนกลางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเกินกำหนดระยะเวลาทางกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่อาจกันเงินค่าส่วนกลางให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849