ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3435.นำกรวยมาวางในทางภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2566 ทางรถยนต์หรือถนนในที่ดินของโจทก์เป็นทางภาระจำยอมแก่เจ้าของสามยทรัพย์ทุกแปลงที่จะใช้ทางภาระจำยอมดังกล่าว และโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ก็มีสิทธิใช้สอยอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ การที่จำเลยนำกรวยมาวางบนทางรถยนต์หรือถนนซึ่งเป็นทางภาระจำยอมหน้าอาคารพาณิชย์ของจำเลยและหน้าอาคารพาณิชย์อื่นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถยนต์ส่วนตัวของจำเลยและบริวารนั้น เป็นการใช้สิทธิในภาระจำยอมเพิ่มขึ้นมากกว่าเจ้าของสามยทรัพย์อื่น ทำให้เจ้าของสามยทรัพย์อื่นและโจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์จากทางภาระจำยอมในบริเวณดังกล่าวได้อย่างสะดวก การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์จึงเป็นการก่อภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องขนย้ายกรวยหรือวัสดุอื่นใดที่อยู่บนทางภาระจำยอมออกไป

(หมายเหตุ 1 กรวยที่จำเลยนำมาวางบนทางภาระจำยอมมีข้อความระบุว่า “ห้ามยกกรวยออก” แสดงว่าจำเลยหวงที่บริเวณดังกล่าวไว้สำหรับจอดรถหรือเพื่อประโยชน์อื่นใดแก่จำเลยเพียงผู้เดียว อันเป็นการใช้สิทธิในภาระจำยอมเพิ่มขึ้นมากกว่าเจ้าของสามยทรัพย์อื่น ทำให้เจ้าของสามยทรัพย์อื่นและโจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์จากทางภาระจำยอมในบริเวณดังกล่าวได้)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

สภาทนายความฯ รับสมัครอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการทนายพี่เลี้ยง รุ่นที่ 22 ( ฟรี )

📢 ประกาศสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ 📢

⚖️ รับสมัครอบรมเชิงปฏิบัติการ 【 ฟรี 】🚩⚖️

  1. 🌟 โครงการทนายพี่เลี้ยง รุ่นที่ 22

🔻 เรื่อง 🔻

👉” การเพิ่มทักษะการว่าความให้ทนายความใหม่ การร่างคำฟ้องคดีฉ้อโกง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 การซักถาม ถามค้าน ถามติง สอบข้อเท็จจริง หลักในการซักถาม และการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ”

— เชิญพบกับ—

🔶 ดร.วิเชียร ชุบไธสง

นายกสภาทนายความ

🔶 ดร.วิรัลพัชร เวธทาวริทธิ์ธร

อุปนายกฝ่ายวิชาการ สภาทนายความ

🔶 วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ และคณะกรรมการโครงการทนายพี่เลี้ยง ปี 2565 – 2568

📆 วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567

⏱ เวลา 09.00 – 16.00 น.

📍 ณ ห้องประชุม 1 – 3 ชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ และห้องศาลจำลอง

⭐ คุณสมบัติผู้เข้าร่วมอบรม ⭐📌 อายุใบอนุญาตไม่เกิน 3 ปี

📌 เหมาะสำหรับทนายความใหม่ และผู้ที่ต้องการความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติม

⭐ รับจำนวน 100 คน ⭐

🌎 Link ลงทะเบียน https://forms.gle/HnuYECaGArsndbFo6

☎️ติดต่อสอบถาม คุณพิมพ์ฉวี และคุณจิดาภา 06 4291 4640

⚖_______________⚖

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3434.ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาฎีกาที่ 43/2567 (หน้า 19 เล่ม 1) โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ ห้ามเกี่ยวข้องและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 50,000 บาท กับค่าขาดประโยชน์เดือนละ 1,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ และให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์ เดือนละ 1,500 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท คดีของโจทก์จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยหรือถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาท ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดิน ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 17,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยชำระค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ จากการใช้ที่พิพาทในอัตราเดือนละ 1,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายหรือถอนบ้าน ออกจากที่ดินพิพาท ถือว่าเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และในส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย แม้เป็นคดีมีทุนทรัพย์แต่ค่าเสียหายตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ จนถึงวันฟ้อง เป็นเงินเพียง 17,000 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนนี้เป็นเงินไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เช่นกัน

( หมายเหตุ 1 จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ศาลฎีกา วินิจฉัยว่า ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

2 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างพร้อมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาท

3 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์

4 ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้น โดยพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และยกฎีกาของโจทก์)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

สภาทนายความฯ ร่วมกับสภาทนายความภาค 7 และสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี จัดอบรมวิชาการสัญจร【 ฟรี 】

📣 ประกาศสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ 📣

⚖️ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สภาทนายความภาค 7 และสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี ⚖️

🌟 จัดอบรมวิชาการสัญจร จังหวัดกาญจนบุรี

🌟【 ฟรี 】พร้อมใบประกาศนียบัตร

📚 เพื่อทนายความและเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชน

🔻 อบรมเรื่อง 🔻

👉 ความผิดเกี่ยวกับ

🔹 การขายตรงและตลาดแบบตรง

🔹 การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

🔹 การฉ้อโกงและการฉ้อโกงประชาชน

— เชิญพบกับ—

🔶 ดร.วิเชียร ชุบไธสง

นายกสภาทนายความ

🔶 นายวีรศักดิ์ โชติวานิช  อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ รองเลขาธิการสภาทนายความ กรรมการประชาสัมพันธ์

🔶 นายอรรถพร อัมพวา

กรรมการบริหารสภาทนายทนายความภาค 7

🔶 นายวรรษภณ แสงเป่า

ประธานสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี

🗓️ วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567⏰ เวลา 09.00 – 12.00 น.📍 ณ โรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง อาคารห้องสมุด 50 ปี ท.ม.ร.

🌐 Link ลงทะเบียน : https://forms.gle/eXJVS34siW9K51uG9

👉 ติดต่อสอบถาม คุณพิมพ์ฉวี คุณจิดาภา ☎️ 06 4291 4640

 

⚖___________ ⚖

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3433.แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นทางสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2567 (เล่ม 1 หน้า 51) ทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 เป็นการจำกัดหรือลิดรอนอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้อื่น จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด

แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณะ แม้การสัญจรจะไม่สะดวกและไม่สอดคล้องกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองเท่าการสัญจรทางบกก็ไม่ทำให้สิ้นสภาพเป็นทางสาธารณะไป ทางพิพาท ในที่ดินของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์

(หมายเหตุ 1 ในทางพิจารณา โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสี่ถามค้านว่า น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีตลอดปี และมีเรือบรรทุกทรายสัญจรไปมา และพยานโจทก์เบิกความว่า แต่เดิมที่ดินของโจทก์ใช้ทางเข้าออกทางน้ำเป็นหลัก

2 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และยกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่

3 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสี่เปิดทางพิพาทให้เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ กับให้จำเลยทั้งสี่รื้อถอนต้นไม้และสิ่งกีดขวางทางพิพาทด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งสี่ ให้โจทก์ชำระเงินค่าทดแทน จำนวน 200,000 บาท

4 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 ทางสาธารณะมิได้จำกัดแต่เฉพาะทางบกเท่านั้น ทางน้ำก็เป็นทางสาธารณะได้ และ พิพากษากลับให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่)

 

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกสภาทนายความฯ แนะแนว วิชาว่าความ ภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 62

นายกสภาทนายความฯ แนะแนว วิชาว่าความ ภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 62

เมื่อวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 น. ที่ ห้องประชุม ชั้น 5 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ แนะแนวให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าฝึกอบรมวิชาว่าความ ภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 62 โดยมี อาจารย์สวัสดิ์ เจริญผล กรรมการฝ่ายวิชาการ วิทยากร อาจารย์สยุม ไกรทัศน์ กรรมการฝ่ายวิชาการ เป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมคณะกรรมการจากสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3432.ครอบครองที่ดินริมตลิ่งเป็นการครอบครองที่ดินของรัฐ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5122 – 5123/2566 เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิที่ดินมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่าเป็นของรัฐ ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 2 และแม้หากที่ดินพิพาทจะพ้นจากการเป็นที่ชายตลิ่งไปโดยสภาพเนื่องจากในฤดูฝนน้ำท่วมไม่ถึง แต่ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นของรัฐประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิครอบครองและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการต้องห้ามตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่มีสิทธิอ้างการครอบครองที่ผิดกฎหมายใช้ยันรัฐได้ไม่ว่าในทางใด การฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อไม่ให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาท จึงมีผลเท่ากับอ้างสิทธิครอบครองมายันรัฐซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันในกรณีที่มีข้อพิพาทหรือคดีเกี่ยวกับที่ดิน นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะร่วมกันดำเนินการหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะดำเนินการก็ให้มีอำนาจกระทำได้ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทได้

(หมายเหตุ 1 โจทก์อ้างว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องกันมาก่อนที่จะมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้าง)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3430.คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาการจดทะเบียนให้ที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2566 กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลกำหนดให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษากระทำนิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 357 วรรคหนึ่ง นั้น เมื่อปรากฏว่าการบังคับคดีดังกล่าวจะสำเร็จบริบูรณ์ต่อเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการในโฉนดที่ดิน โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้ดำเนินการจดทะเบียนให้ได้ ศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินเพิกถอนรายการจดทะเบียนการให้ระหว่างโจทก์กับจำเลยและให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวคืนแก่โจทก์ โดยเจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนไปตามคำสั่งศาลตามมาตรา 357 วรรคสอง

(หมายเหตุ 1 คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอถอนการให้ที่ดินจำเลย ต่อมาโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน

2 จำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความรวม 2 ประการ คือ ไม่ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน และไม่ยินยอมให้โจทก์เข้าอยู่อาศัยในบ้าน

3 โจทก์ขอให้บังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์

4 ต่อมา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดิน และโจทก์ร้องขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้โอนที่ดินแก่โจทก์ทั้งแปลงตามคำพิพากษาตามยอม

5 เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่าไม่สามารถที่จะดำเนินการให้ได้ เว้นแต่จะมีคำสั่งศาลมาแสดงว่าศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการให้ที่ดิน และให้โอนที่ดินดังกล่าวคืนแก่โจทก์ทั้งแปลง

6 โจทก์ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลย และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินโอนที่ดินคืนแก่โจทก์ทั้งแปลง

7 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน

8 ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยข้างต้น โดยพิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการเพิกถอนรายการจดทะเบียนการให้ที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย และให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวกลับคืนเป็นของโจทก์)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3431.รื้อถอนอาคารในระหว่างการบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2567 ผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์และเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้รายที่ 5 โดยมีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารตึกแถว 3 ชั้น ของจำเลยที่ 2 เป็นหลักประกันซึ่งโจทก์ได้ยึดเพื่อดำเนินการบังคับคดีไว้แล้ว ต่อมาสำนักงานเขตคันนายาวแจ้งผู้คัดค้านให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเนื่องจากมีสภาพหรือมีการใช้งานที่อาจเป็นอันตราย เมื่อการที่อาคารต้องถูกรื้อถอนไปในระหว่างการบังคับคดีและไม่อาจนำมาขายทอดตลาดได้เกิดจากการใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยไม่ใช่ความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือความไม่สุจริตของโจทก์หรือผู้ร้องซึ่งรับโอนสิทธิและหน้าที่จากโจทก์ ทั้งมิใช่การถอนการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) (3) (4) (6) และ (7) ที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ตามมาตรา 169/2 วรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้ผู้ร้องต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย

(หมายเหตุ 1 ขณะนำยึดโจทก์ในคดีแพ่งได้แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า สิ่งปลูกสร้างสภาพทรุดโทรมมาก แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ในคดีแพ่งรู้อยู่แล้วว่า อาคารดังกล่าวมีสภาพเป็นอันตรายและสำนักงานเขตมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 รื้ออาคารดังกล่าวมาก่อนอันจะถือว่าเป็นความผิดหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ในคดีแพ่ง

2 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อการที่อาคารดังกล่าวต้องถูกรื้อถอนไปในระหว่างการบังคับคดีและไม่อาจนำมาขายทอดตลาดได้เกิดจากการใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยไม่ใช่ความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือความไม่สุจริตของโจทก์ในคดีแพ่งหรือผู้ร้องซึ่งรับโอนสิทธิและหน้าที่จากโจทก์ในคดีแพ่ง

3 ศาลฎีกาจึงเห็นว่า กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้ผู้ร้องต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3430.คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาการจดทะเบียนให้ที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2566 กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลกำหนดให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษากระทำนิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 357 วรรคหนึ่ง นั้น เมื่อปรากฏว่าการบังคับคดีดังกล่าวจะสำเร็จบริบูรณ์ต่อเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการในโฉนดที่ดิน โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้ดำเนินการจดทะเบียนให้ได้ ศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินเพิกถอนรายการจดทะเบียนการให้ระหว่างโจทก์กับจำเลยและให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวคืนแก่โจทก์ โดยเจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนไปตามคำสั่งศาลตามมาตรา 357 วรรคสอง

(หมายเหตุ 1 คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอถอนการให้ที่ดินจำเลย ต่อมาโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน

2 จำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความรวม 2 ประการ คือ ไม่ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน และไม่ยินยอมให้โจทก์เข้าอยู่อาศัยในบ้าน

3 โจทก์ขอให้บังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์

4 ต่อมา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดิน และโจทก์ร้องขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้โอนที่ดินแก่โจทก์ทั้งแปลงตามคำพิพากษาตามยอม

5 เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่าไม่สามารถที่จะดำเนินการให้ได้ เว้นแต่จะมีคำสั่งศาลมาแสดงว่าศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการให้ที่ดิน และให้โอนที่ดินดังกล่าวคืนแก่โจทก์ทั้งแปลง

6 โจทก์ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลย และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินโอนที่ดินคืนแก่โจทก์ทั้งแปลง

7 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน

8 ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยข้างต้น โดยพิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการเพิกถอนรายการจดทะเบียนการให้ที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย และให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวกลับคืนเป็นของโจทก์)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849