นายกวิเชียรฯไม่เคยทอดทิ้งเพื่อนทนายความ เดินทางด่วน ไปให้กำลังใจทนายความถูกไฟไหม้บ้านทรัพย์สินจนหมดสิ้น ( จังหวัดลพบุรี )

ไม่มีใครรักเราเท่าเรารักกัน

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2567 เวลา 12.00 น. ที่อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยนายไพบูลย์ แย้มเอม อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ดร.ยุทธนา มาสำราญ ประธานสภาทนายความจังหวัดลพบุรี ได้เดินทางไปให้กำลังใจนางสาวฐิติพร (ทนายปุ๊ ก้านลำใย ซึ่งบ้านถูกไฟไหม้รวมถึงทรัพย์สินจนหมดสิ้นและไม่มีที่อยู่ต้องไปอาศัยพักบ้านของผู้อื่น

นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ได้มอบหนังสือตำราทางด้านกฎหมายไว้สำหรับเพิ่มเติมความรู้ในการประกอบวิชาชีพทนายความ พร้อมเงินส่วนตัวเพื่อช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้น

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3440.โอนเงินเพิ่มเติมหลังจากทำสัญญากู้ ฟ้องเรียกเงินในส่วนที่เพิ่มเติมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2567 ตามทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยมีความผูกพันเป็นพิเศษอย่างไรนอกเหนือจากที่เคยให้กู้ยืมเงินกันมาก่อน การที่หลังจากให้จำเลยกู้ยืมเงิน 1,800,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 ต่อมาเดือนตุลาคม 2556 จำเลยขอให้โจทก์โอนเงินมาให้อีก 1,500,000 บาท และโจทก์เห็นว่าได้ยึดถือโฉนดที่ดินของจำเลยไว้แล้ว จึงโอนเงินไปให้โดยไม่ได้ทำหลักฐานอื่นใดเพิ่มเติมนั้น บ่งชี้ว่าเป็นการให้จำเลยกู้ยืมเงินอีกดังที่ศาลล่างวินิจฉัย ส่วนที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าการโอนเงินให้แก่กันไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการโอนเงินที่สามารถเรียกคืนได้ตามกฎหมายนั้น การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฎว่าจำเลยจะต้องคืนเฉพาะเงินเหรียญหรือธนบัตรในลักษณะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเท่านั้น เมื่อโจทก์โอนเงินกู้ให้แก่จำเลยไป กรรมสิทธิ์ในเงินกู้ย่อมตกแก่จำเลย ฟ้องโจทก์จึงไม่ใช่การใช้ทรัพยสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน แต่เป็นการใช้บุคคลสิทธิเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” เมื่อโจทก์ยังมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพราะจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญมานำสืบตามกฎหมาย จึงฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระเงินกู้ไม่ได้ ซึ่งรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นมูลฟ้องร้องและยึดถือโฉนดไว้เป็นหนี้เงินกู้ที่ฟ้องร้องบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย ส่วนหนี้เงินกู้ 1,800,000 บาท โจทก์ก็รับว่าจำเลยชำระหนี้ให้แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ของจำเลยไว้ต่อไป

(หมายเหตุ 1.เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 1,800,000 บาท โดยมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ให้ยึดถือไว้เป็นประกัน จำเลยชำระเงินกู้จำนวนนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ยังไม่คืนโฉนดที่ดินให้จำเลย

2 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2556 จำเลยขอให้โจทก์โอนเงินมาให้อีก 1,500,000 บาท โจทก์เห็นว่าได้ยึดถือโฉนดที่ดินของจำเลยไว้แล้วจึงโอนเงินไปให้โดยไม่ได้ทำหลักฐานอื่นใดเพิ่มเติมไปยังบัญชีธนาคาร ก

3 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องโจทก์

4 โจทก์ฎีกาว่า การโอนเงินให้แก่กันไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการโอนเงินที่สามารถเรียกคืนได้ตามกฎหมายนั้น

5 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยจะต้องคืนเฉพาะเงินเหรียญหรือธนบัตรในลักษณะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเท่านั้น เมื่อโจทก์โอนเงินกู้ให้แก่จำเลยไป กรรมสิทธิ์ในเงินกู้ย่อมตกแก่จำเลย ฟ้องโจทก์จึงไม่ใช่การใช้ทรัพยสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน แต่เป็นการใช้บุคคลสิทธิเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

นายกสภาทนายความพาคณะ ไปชมการแข่งขันแบดมินตัน กระชับมิตรระหว่างทีมชมรมกีฬาแบดมินตันสภาทนายความ

เมื่อวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16:00 น.ที่สนามแบดมินตันเทศบาลเมืองกาญจนบุรี และต่อมาเวลา 16.30 น. ที่สนามฟุตบอลเทศบาลเมืองกาญจนบุรี ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ และรองเลขาธิการสภาทนายสภาทนายความ นายไพบูลย์ แย้มเอม อุปนายฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ นายอรรถพร อัมพวา กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 นายศิริศักดิ์ อมาตยกุล ประธานสภาทนายความจังหวัดนนทบุรี นายภัทราวุฒิ พันธ์รัศมี ประธานสภาทนายความจังหวัดสุพรรณบุรี ได้เดินทางไปชมการแข่งขันแบดมินตัน กระชับมิตรระหว่างทีมชมรมกีฬาแบดมินตันสภาทนายความ นำโดยนายสุวิทย์ ดาราสิชฌน์ ประธานชมรมแบดมินตัน แข่งขันกับทีมสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี นำโดยนายวรรษภณ แสงเป่า ประธานสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี และการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตร ระหว่างทีมสภาทนายความภาค 7 แข่งขันกับทีมสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี

#รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย

 

 

เยี่ยมชมกีฬา กระชับมิตรระหว่างทีมชมรมกีฬาแบดมินตันสภาทนายความ

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16:00 น.ที่สนามแบดมินตันเทศบาลเมืองกาญจนบุรี และต่อมาเวลา 16.30 น. ที่สนามฟุตบอลเทศบาลเมืองกาญจนบุรี ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ และรองเลขาธิการสภาทนายสภาทนายความ นายไพบูลย์ แย้มเอม อุปนายฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ นายอรรถพร อัมพวา กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 นายศิริศักดิ์ อมาตยกุล ประธานสภาทนายความจังหวัดนนทบุรี นายภัทราวุฒิ พันธ์รัศมี ประธานสภาทนายความจังหวัดสุพรรณบุรี ได้เดินทางไปชมการแข่งขันแบดมินตัน กระชับมิตรระหว่างทีมชมรมกีฬาแบดมินตันสภาทนายความ นำโดยนายสุวิทย์ ดาราสิชฌน์ ประธานชมรมแบดมินตัน แข่งขันกับทีมสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี นำโดยนายวรรษภณ แสงเป่า ประธานสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี และการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตร ระหว่างทีมสภาทนายความภาค 7 แข่งขันกับทีมสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี

#รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย

สภาทนายความจัดอบรมวิชาการสัญจร “หัวข้อเรื่อง “ความผิดเกี่ยวกับ การขายตรงและตลาดแบบตรง : การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน : การฉ้อโกงและการฉ้อโกงประชาชน เพื่อให้ความรู้แก่ทนายความ จังหวัดกาญจนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง

เมื่อวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ที่โรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง อาคารห้องสมุด 50 ปี ท.ม.ร. จังหวัดกาญจนบุรี : ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นประธานเปิดการอบรมวิชาการสัญจร จังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง “ความผิดเกี่ยวกับ การขายตรงและตลาดแบบตรง : การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน : การฉ้อโกงและการฉ้อโกงประชาชน”

โดยมี นายวรรษภณ แสงเป่า ประธานสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวต้อนรับ นายอรรถพร อัมพวา กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 กล่าวรายงาน นายดนัย สืบสุข รองประธานสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี และนางสาวจันทร ปานธรรม กรรมการสภาทนายความจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ดำเนินรายการ ยังได้รับเกียรติจาก นายชัยยศ ชูประเสริฐ ประธานสภาทนายความจังหวัดทองผาภูมิ นายคชาชาญ พิณประภัศร์ ประธานสภาทนายความจังหวัดราชบุรี นายนิทรารัตน์ แพทย์วงศ์ ประธานสภาทนายความจังหวัดสมุทรสงคราม นายภัทราวุฒิ พันธ์รัศมี ประธานสภาทนายความจังหวัดสุพรรณบุรี นายยอดมิ่ง แสนพิริยะ ประธานสภาทนายความจังหวัดนครปฐม และนายศิริศักดิ์ อมาตยกุล ประธานสภาทนายความจังหวัดนนทบุรี

นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ รองเลขาธิการสภาทนายความ และนายอรรถพร อัมพวา กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความผิดเกี่ยวกับ การขายตรงและตลาดแบบตรง : การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน : การฉ้อโกงและการฉ้อโกงประชาชน” อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากนายไพบูลย์ แย้มเอม อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ได้ชี้แจงสิทธิประโยชน์ของทนายความ ซึ่งมีทนายความจังหวัดกาญจนบุรี และทนายความภาค 7 ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3439.ผู้กู้ต่อสู้ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม สัญญากู้ต้องปิดอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2567 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 200,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงิน จำเลยให้การว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์เพียง 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน หักดอกเบี้ยล่วงหน้า ได้รับเงินกู้เพียง 45,000 บาท สัญญากู้เงินโจทก์เขียนจำนวนเงินกู้ 200,000 บาท เป็นเอกสารปลอม ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์จริง แต่ได้รับเงินไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เขียนระบุไว้ในสัญญา และกล่าวอ้างว่าสัญญากู้เงินเป็นเอกสารปลอม การที่จะฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินดังกล่าวจากโจทก์หรือไม่ จึงต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน แม้จำเลยเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่าจำเลยเป็นผู้กรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม ก็เป็นเรื่องในชั้นพิจารณาว่าข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ฟังได้เพียงใด ไม่ใช่กรณีที่ไม่ต้องใช้หนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน โจทก์จึงต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็นพยานหลักฐาน หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นต้นฉบับระบุชื่อโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาและลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายจึงมีลักษณะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร แต่หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3438.ใบหุ้นกู้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2565 (เล่ม 12 หน้า 30) โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำเนาใบหุ้นกู้เป็นพยานหลักฐาน และขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกต้นฉบับใบหุ้นกู้จากจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองเอกสาร ทั้งในชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความยืนยันว่า โจทก์ได้รับเพียงสำเนาใบหุ้นกู้จากจำเลยที่ 1 พฤติการณ์น่าเชื่อว่า ต้นฉบับใบหุ้นกู้ อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 อันเป็นข้อยกเว้นที่โจทก์ไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลยที่ 1 ก่อนวันสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคสาม(2) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับฟังสำเนาใบหุ้นกู้เป็นพยานหลักฐานชอบแล้ว

การออกหุ้นกู้ต้องอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 1229 และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 65 กล่าวคือ ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวเป็นความผิดและต้องได้รับโทษ ตามมาตรา 268 การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเป็นเหตุให้การออกหุ้นกู้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจใช้บังคับในฐานะหุ้นกู้ตามกฎหมายได้ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์และมีกำหนดเวลาการชำระคืน ถือได้ว่า สำเนาใบหุ้นกู้มีข้อความครบถ้วนเพียงพอให้รับฟังได้ว่า เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่เป็นหนังสือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาใบหุ้นกู้เป็นพยานหลักฐานได้ ไม่เป็นการสืบพยาน บุคคลเปลี่ยนแปลงพยานเอกสาร

ใบหุ้นกู้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงให้ผลตอบแทนร้อยละ 2 ต่อเดือน เป็นการให้ดอกเบี้ย เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 654 ตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้เป็นต้นไป ส่วนผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยที่ได้ชำระแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดขึ้นเองจึงเป็นการชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จำเลยที่ 1 ไม่อาจขอให้นำ เงินที่ชำระไปดังกล่าวมาหักกลบกับต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์

( หมายเหตุ 1 คดีนี้ โจทก์มีเพียงสำเนาชุดฝากเงินสดพร้อมใบเสร็จรับเงิน และสำเนาบันทึกรายการโอนเงิน ซึ่งปรากฏข้อความว่า มีการโอนเงินดังกล่าว เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 และมีสำเนาใบหุ้นกู้เอกสารมีชื่อพร้อมลายมือชื่อโจทก์ที่ระบุว่าเป็นผู้ถือหุ้น และลายมือชื่อที่ระบุว่าเป็นลายมือชื่อจำเลยที่ 2 พร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1

2 ในชั้นพิจารณา โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำเนาใบหุ้นกู้เป็นพยานหลักฐาน และขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกต้นฉบับใบหุ้นกู้จากจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองเอกสาร

3 ศาลฎีกาวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ยว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดขึ้นเอง จึงเป็นการชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จำเลยที่ 1 ไม่อาจขอให้นำเงินที่ชำระไปดังกล่าวมาหักกลบกับต้นเงิน ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์

4 คดีนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ให้กู้ไม่ได้เป็นผู้เสนออัตราดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทน แต่เป็นกรณีที่ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจชักจูงให้โจทก์เป็นผู้ซื้อหุ้นกู้เอง ศาลฎีกาจึงไม่นำดอกเบี้ยมาหักจากเงินต้น)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3437.อายุความเริ่มนับเมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทราบความจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917-1041/2565 (เล่ม 12 หน้า 40) โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าสิบฟ้องอ้างว่า จำเลยก่อสร้าง สาธารณูปโภคไม่เป็นไปตามแผนผังโครงการและแบบก่อสร้างที่ได้ขออนุญาตและเรียกค่าเสียหาย เป็นการอ้างว่าจำเลยกระทำการผิดสัญญาจะซื้อจะขายและหลักเกณฑ์ในการจัดสรรที่ดิน ทำให้โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าสิบได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมปรับปรุงพื้นที่สาธารณูปโภค เป็นกรณีที่จำเลยส่งมอบทรัพย์สินไม่ถูกต้องอันเป็นการผิดสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่กรณีฟ้องว่าทรัพย์สินที่จำเลยส่งมอบชำรุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสม แก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติหรือประโยชน์ที่มุ่งโดยสัญญา จึงไม่นำอายุความในข้อความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องมาปรับใช้แก่คดีนี้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 กรณีตามคำฟ้องเป็นเรื่องผู้ขายส่งมอบทรัพย์ไม่ตรงตามสัญญา ซึ่งทรัพย์ที่ส่งมอบเป็นบ้านจัดสรร ที่ผู้ขายก่อสร้างเองฝ่ายเดียว ผู้ซื้อซึ่งเป็นวิญญูชนไม่มีทางทราบได้เลยในขณะทำสัญญาหรือแม้แต่ขณะรับมอบบ้านว่า จำเลยได้ถมดินในบริเวณโครงการสูงกว่าถนนสาธารณะ 30 เซนติเมตร ตามแผนผังโครงการที่ขออนุญาตจัดสรรไว้หรือไม่ และในความจริงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบด้วยจึงจะทราบข้อเท็จจริง กรณีเช่นว่านี้ จึงต้องถือว่าเวลาที่ผู้ซื้อ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้คือเวลาที่ผู้ซื้อทราบความจริงจากผู้เชี่ยวชาญว่าที่ดินโครงการมีระดับต่ำกว่าที่ระบุ ในแผนผังโครงการที่จำเลยยื่นต่อทางราชการ เมื่อโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าสิบทราบถึงการส่งมอบทรัพย์สินไม่ถูกต้อง เนื่องจากเกิดปัญหาน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าสิบอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับถึงวันฟ้อง วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 คดียังไม่ล่วงพ้นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าสิบอาจบังคับสิทธิเรียกร้อง คดีโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าสิบจึงไม่ขาดอายุความ โจทก์ที่ 79 เพิ่งทราบข้อเท็จจริงที่แน่นอนชัดเจนว่า จำเลยไม่ได้ดำเนินการตามแผนผังการจัดสรร เนื่องจากกรณีนี้ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์ประกอบกับไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่า โจทก์ที่ 79 ซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทจากจำเลยในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดหรือไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหาย ทั้งจำเลยให้การว่าได้ดำเนินการจัดสรรที่ดินตามแผนผังจัดสรรไม่ได้ผิดสัญญาซื้อขายแต่อย่างใด อันเป็นการแสดงว่าจำเลยยังปฏิเสธข้อเท็จจริงนี้อยู่ และ ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต การที่โจทก์ที่ 79 ใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นการใช้สิทธิของบุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิตามปกติ หาใช่เป็นการใช้สิทธิ โดยไม่สุจริต ตังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบ พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7

(หมายเหตุ 1 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าสิบไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่คดีโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าสิบขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายืน

2 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า บทกฎหมายเรื่องอายุความมุ่งหมายที่จะลงโทษเจ้าหนี้ที่ปล่อยปละละเลยไม่บังคับตามสิทธิของตนเองจนเกินเวลาที่เหมาะสม ซึ่งทำให้ยากแก่การหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงต่อศาล กรณีจึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงด้วยว่า การที่เจ้าหนี้ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องในทันทีนั้นมีเงื่อนเวลาหรืออุปสรรคอันใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่สามารถดำเนินการเช่นนั้นได้ กรณีดังกล่าวย่อมต้องเริ่มนับอายุความเมื่ออุปสรรคเช่นว่านั้นได้หมดไป

3 คดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่า เวลาที่ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ คือเวลาที่ผู้ซื้อทราบความจริงจากผู้เชี่ยวชาญว่าที่ดินโครงการมีระดับต่ำกว่าที่ระบุในแผนผังโครงการที่จำเลยยื่นต่อทางราชการ เมื่อโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าสิบทราบถึงการส่งมอบทรัพย์สินไม่ถูกต้อง

4 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ กับคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าสิบและพยานจำเลย และพิพากษาใหม่ตามรูปคดี)

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849

 

สภาทนายความร่วมหารือสำนักงานสภาผู้บริโภค เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน 

สภาทนายความร่วมหารือสำนักงานสภาผู้บริโภค เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน

เมื่อวันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายสัญญาภัชระ สามารถ อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ พร้อมคณะกรรมการสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค สภานายความ ให้การต้อนรับนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค พร้อมคณะ เพื่อหารือการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคและคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

 

ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …

3436.จำเลยเป็นคนต่างด้าว ฟ้องแย้งเรียกที่ดินคืนจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2567 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทอนุญาตให้จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทน ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยรู้จักและคบหาโจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยร่วมลงทุนทำธุรกิจและอยู่กินฉันสามีภริยาและลงทุนทำธุรกิจร่วมกันตลอดมาโดยอยู่อาศัยร่วมกันที่บ้านเช่าของจำเลย แล้วร่วมกันซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโดยใช้เงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แต่จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าวจึงตกลงให้โจทก์เป็นผู้มีชื่อในที่ดินและบ้านพิพาท หลังจากนั้นโจทก์กระทำการอันเป็นความผิดร้ายแรงต่อจำเลยและบุตรสาวเป็นเหตุให้โจทก์และจำเลยไม่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปได้ จำเลยให้โจทก์ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท ก่อนที่โจทก์จะย้ายออก โจทก์บอกว่าโจทก์ยกที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยเพื่อเป็นการชดเชยกับสิ่งที่โจทก์ทำกับจำเลยและบุตรสาว แต่จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าวไม่สามารถจดทะเบียนมีชื่อในโฉนดที่ดินโดยยังไม่ได้รับอนุญาต โฉนดที่ดินจึงยังเป็นชื่อของโจทก์ โดยจำเลยครอบครองอยู่อาศัยอย่างเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตลอดมา คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลยมิใช่ขอให้ส่งมอบแก่เด็กหญิง ก. จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ส่วนในภายหน้าจำเลยจะยกที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลใดย่อมเป็นสิทธิส่วนตัวของจำเลย ชอบที่จะต้องรับฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้ไว้พิจารณาพิพากษา

นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849