ฎีกาเด่นรายวันโดยที่ปรึกษา ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ …
3555.สมัครใจเลิกสัญญาเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เพียงใด
คำพิพากษาฎีกาที่ 2491/2567 (เล่ม 7 หน้า 1456) โจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญาจ้างต่อกัน โดยโจทก์ไม่ได้ เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อนมีการเลิกสัญญา จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย การที่จำเลยต้องลงทุนจัดหาสถานที่ทำงาน เสียค่าเช่า จ้างพนักงาน เสียค่าพาหนะ ค่าใช้จ่าย ค่าขนย้าย รื้อถอน เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่จำเลยทำงานให้โจทก์โดยตรง และโจทก์ไม่ได้รับการงานใดจากจำเลย จึงไม่ใช่ค่าแห่งการงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม จำเลยไม่มีสิทธิ์เรียกเอาจากโจทก์ตามฟ้องแย้ง
จำเลยฟ้องแย้งว่า หลังเลิกสัญญาโจทก์ว่าจ้างให้จำเลยออกแบบอาคารพาณิชย์ใหม่ ซึ่งจำเลยดำเนินการให้เสร็จ แล้ว แต่โจทก์ไม่ชำระเงินค่าออกแบบให้แก่จำเลย โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธว่า โจทก์ไม่เคยว่าจ้างให้จำเลยออกแบบ ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้อัตราดอกเบี้ยโดยไม่ได้แก้ไขในเรื่องดอกเบี้ยผิดนัดให้บวกเพิ่มอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบมาตรา 7 (ที่แก้ไขใหม่) เป็นการไม่ชอบ ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(หมายเหตุ 1 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสี่ บัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ซึ่งมีความหมายว่า การเลิกสัญญานั้นไม่ลบล้างความรับผิดที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นก่อนแล้ว กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้มีความรับผิดที่ไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียก ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213, 215, 216
นายผดุงศักดิ์ จันเดชชนะวงศ์ ที่ปรึกษานายกสภาทนายความ กรรมการสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการสภาทนายความภาค 3 ปีบริหาร 2565-2568 โทร.081-9663849